ถอดบทเรียนจากสาเหตุหลักๆ สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 สงครามโลกครั้งที่ 3ไม่เกิดขึ้นแน่นอน [Exclusive Content]
การทำนายที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 มีมาอย่างต่อเนื่อง (ส่วนใหญ่เป็น นวนิยาย) ตั้งแต่อดีตนับได้หลายร้อยปี บางคำทำนายมากกว่าพันปี นั่นหมายความว่า ผู้รู้เรื่องอนาคตเห็นสงครามครั้งนี้มีความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติบนโลกของเรา ถ้าย้อนไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ถอดบทเรียนจากสาเหตุหลักๆ ในช่วงนั่นก็คือ
1. ลัทธิชาตินิยมสุดโต่ง
เป็นความใฝ่ฝันทะเยอทะยานด้วยความรู้สึกทางชาตินิยม เยอรมันสามารถรวมตัวกันและสถาปนาจักรวรรดิเยอรมัน
เป็นมหาอำนาจที่สำคัญในยุโรป ฝรั่งเศสซึ่งเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ต้องยอมเสียบางแคว้นให้เยอรมัน และเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ ทำให้เกิดลัทธิชาตินิยม ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ
2. การทะเลาะในเรื่องแก่งแย้งอาณานิคม ปลาย ค.ศ. ที่ 19 ยุโรปต่างแข่งขันช่วงชิงอาณานิคมเพื่อจักรวรรดิของตน ต้องการแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมาป้อนโรงงานอุตสาหกรรม การแข่งขันเป็นแบบการค้าเสรี
เมื่อมีการแข่งขันสูงขึ้น จึงเริ่มใช้กำลังทางทหารเข้ายึดครองดินแดนที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติก่อให้เกิดความแตกร้าวระหว่างชาติขึ้น เช่น อังกฤษกับเยอรมัน เรื่องแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ ,อังกฤษกับรัสเซีย เรื่องเปอร์เซียและอาฟกานิสถาน ,เยอรมันกับฝรั่งเศส เรื่องมอร็กโกและแอฟริกาตะวันตก
3. ระบบภาคีพันธมิตร ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ สัญญาไตรภาคี ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย - ฮังการี และอิตาลี และ สัญญาไตรพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย
มหาอำนาจทั้ง 2 กลุ่มนี้ พยายามที่จะโน้มน้าวให้ประเทศอื่นๆ เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรของตน ต่างฝ่ายต่างก็ไม่ยอมกันแข่งกันสะสมกำลังอาวุธ เมื่อเกิดข้อขัดแย้งที่รุนแรง จึงหาทางออกด้วยการทำสงครามขึ้น
เครือข่ายความสัมพันธ์ของชาติยุโรปก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ออตโตมันร่วมกับเยอรมนีหลังสงครามเริ่มไม่นาน ขณะที่อิตาลีวางตัวเป็นกลางในปี ค.ศ. 1914 ก่อนจะเข้ากับฝ่ายไตรภาคีในปี ค.ศ. 1915
ส่วนสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ ...ก็ไม่ต่างจากสงครามโลกครั้งที่ 1
1. เกิดความตึงเครียดเกี่ยวกับชาตินิยม มันปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข และความไม่พอใจอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่1 และสมัยระหว่างสงครามในทวีปยุโรป รวมทั้งผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930
เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ลงเอยด้วยการปะทุของสงคราม ซึ่งมักเป็นที่เข้าใจว่าเป็นการบุกครองโปแลนด์ โดยนาซีเยอรมนี ความก้าวร้าวทางทหารนี้เป็นผลมาจากการตัดสินใจของผู้นำของเยอรมนีและญี่ปุ่น สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้นจากการปฏิบัติอันก้าวร้าวและบรรจบกับการประกาศสงคราม หรือการต่อต้านด้วยกำลัง
2. การล่าอาณานิคมใหม่ โดยคราวนี้เป็นการขยายตัวของจักรวรรดิญี่ปุ่น ที่ต้องการผนวกดินแดนหรืออำนาจทางเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะต้องใช้กำลังทหารเข้าช่วย ในอิตาลี เบนิโต มุสโสลินีนั้นมีความต้องการที่จะสร้างจักรวรรดิโรมันใหม่ขึ้นรอบ ๆ
การขยายตัวของจักรวรรดิญี่ปุ่น
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กองทัพอิตาลีได้โจมตีแอลเบเนีย เมื่อต้นปี 1939 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของสงคราม และต่อมาก็กรีซ ก่อนหน้านั้น เขาได้ออกคำสั่งให้โจมตีเอธิโอเปีย เมื่อปี 1935 มาก่อนแล้ว แต่ว่าการกระทำดังกล่าวนี้ ได้รับการตอบสนองน้อยมากจากสันนิบาตชาติและฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
2. เกิดลัทธิชาตินิยมสุดโต่งอีก นั่นคือ การกระทำดังกล่าวนำมาซึ่งความกลัวต่อการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ในหลายชาติยุโรปตะวันตก ยุโรปกลาง และทวีปอเมริกา
ในเยอรมนีและอิตาลี ความเฟื่องฟูของฟาสซิสต์ ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ของ ทั้งฟาสซิสต์ในอิตาลีและเยอรมนีต่างก็เป็นส่วนหนึ่งในปฏิกิริยาตอบโต้การจลาจลของคอมมิวนิสต์และพวกสังคมนิยม
พรรคชาตินิยมฟาสซิสต์
Partito Nazionale Fascista
สงครามโลกครั้งที่ 3 ไม่เกิดขึ้นแน่นอน ถ้าไม่มีปัจจัย ต่างๆ ข้างต้น ซึ่งเกิดความสุดโต่งของผู้นำ ที่มีปมบางอย่าง และไม่มีการประณีประนอม แต่จะมีแค่เพียง ความขัดแย้งขนาดย่อยๆ เช่น สงครามเย็นหรือสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
ส่วนกรณี ความขัดแย้งระหว่างชาติต่าง ๆ ในศตวรรษที่ 21 รวมถึงการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียเมื่อ ค.ศ. 2022 ซึ่งเป็นความขัดแย้งครั้งล่าสุด ทำให้เกิดความวิตกกังวลมาหลายครั้งว่าอาจเกิดการบานปลายจนกลายเป็นขนวนเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 3 นั้น
เมื่อดูตามสภาพจริงแล้ว มหาอำนาจรัสเซียแทบจะไม่มีพลังอำนาจทางการทหารเลยแม้แต่น้อย คิดจะล่าอาณานิคมกลับคืนมาตามความต้องการที่เป็น 15 ประเทศ สหภาพโซเวียต คงเป็นไปได้ยากมา
ทางด้านมหาอำนาจจีน ฝั่งเอเซียเรา แม้มีการเตรียมการทางทหาร และยุทธศาสตร์ที่พร้อมจะรับกับภัยพิบัติที่มาในรูปของสงครามก็ตาม และแม้มีการยั่วยุให้ประเทศยักษ์ใหญ่ทางตะวันตกโดยอย่างสหรัฐ จีนก็ยังคงนิ่งเฉยเรื่อยมา
ดังนั้นในปัจจุบัน จะเกิดลัทธิชาตินิยมสุดโต่ง การแก่งแย้งล่าอาณานิคม หรือความตึงเครียดเกี่ยวกับชาตินิยม ที่เป็นชนวนเหตุของ สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 คงไม่เกิดขึ้นแน่นอน
ดูอย่างคำทำนายของ นอสตราดามุส ก็ไร้เหตุผลสิ้นดี เหมือนเป็นหนังฮอลิวูดเรื่องหนึ่งประมาณนั้น