ประเทศที่เด็กทารกเกิดใหม่มีโอกาสรอดชีวิตน้อยที่สุด
หลายประเทศในทวีปแอฟริกา ยังคงเป็นประเทศที่ 'พัฒนาน้อยที่สุด'
ตามการจัดอันดับจากหลายสำนักทั่วโลก
โดยเหตุผลส่วนใหญ่ มีผลสืบเนื่องมาจากการที่ประเทศในแถบนี้
มักจะตกอยู่ในภาวะสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนาน
จนการพัฒนาระบบสาธารณสุข การแพทย์ การศึกษา
และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นไปอย่างยากลำบากและเชื่องช้ามาก
โดยเฉพาะประเทศในแถบแอฟริกาตะวันตก
ที่มักจะอยู่รั้งท้ายเสมอ
ประเทศ 'เซียร์ราลีโอน' เป็นอีกหนึ่งชื่อประเทศ
ที่มีการพัฒนาน้อยที่สุดแม้แต่ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกด้วยกัน
จากการจัดอันดับของ 'องค์การยูนิเซฟ' ในปี 2020
เซียร์ราลีโอน ถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มี
'อัตราการตายของเด็กแรกคลอดสูงที่สุดในโลก'
โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 80.1 ต่อ 1000 คน
หมายความว่า เด็กเกิดใหม่ 1000 คน ของที่นี่จะเสียชีวิตไปมากถึง 80 คน
โดยสาเหตุหลักเป็นเพราะการขาดแคลนเครื่องมือทางการแพทย์
ความสะอาด โรคระบาด และการขาดสารอาหาร
ในขณะที่อันดับ 2 ถึง 10 ในการจัดอันดับนี้
ล้วนเป็นประเทศที่มาจากทวีปแอฟริกาทั้งหมด
โดยอันดับ 2 คือประเทศแอฟริกากลาง อัตราส่วน 77.5 ต่อ 1000 คน
อันดับ 3 ประเทศโซมาเลีย อัตราส่วน 72.7
อันดับ 4 ประเทศไนจีเรีย อัตราส่วน 72.2
อันดับ 5 ประเทศเลโซโท อัตราส่วน 69.8
อันดับ 6 ประเทศชาด อัตราส่วน 67.4
อันดับ 7 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อัตราส่วน 63.8
อันดับ 8 ประเทศซูดานใต้ อัตราส่วน 63.3
อันดับ 9 ประเทศกินี อัตราส่วน 61.9
และอันดับ 10 ประเทศมาลี อัตราส่วน 58.7