จังหวัดที่เคยได้ครองตำแหน่งเป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย
ถ้าจะพูดถึงภูมิภาคที่ขาดแคลนและยากจนที่สุดของประเทศ
หลายคนน่าจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นภาคอีสาน
ภูมิภาคขนาดใหญ่ที่สุดของไทยที่มีปัญหาเรื่องภัยแล้ง
หรือความทุรกันดานมาอย่างยาวนาน และในบรรดาจังหวัดมากมายในแดนอีสานนี้
ก็ยังมีจังหวัดหนึ่ง ซึ่งเคยรั้งตำแหน่ง 'จังหวัดที่จนที่สุดในไทย' มาแล้ว
นั่นคือ 'จังหวัดศรีสะเกษ' ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นจนเสียตำแหน่งให้จังหวัดอื่นไป
'ศรีสะเกษ' เป็นจังหวัดที่อยู่ทางใต้ของพื้นที่ภาคอีสาน
มีพื้นที่ติดกับชายแดนประเทศกัมพูชา ศรีสะเกษมีพื้นที่กว้างใหญ่
ประชากรส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยเฉพาะทำนา
การพึ่งพาเกษตรทางเดียวแบบในสมัยก่อน ทำให้จังหวัดนี้
กลายเป็นดินแดนที่ต้องเจอความเสี่ยงสูงจากความผันผวนของตลาดทางการเกษตร
บางปีน้ำท่วม บางปีฝนก็ไม่ตก ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ศรีสะเกษ
กลายเป็นจังหวัดที่ 'มีรายได้ต่อหัวประชากรน้อยที่สุด' ของประเทศยาวนานหลายปี
จนกระทั่งเริ่มมีการสนับสนุนและทดลองปลูกพืชอื่นทดแทน
จากการทดลองนานหลายปี ก็พบว่าในหลายพื้นที่ของจังหวัด
สามารถปลุกพืชเศรษฐกิจอื่นเพื่อทดแทนได้ อย่างเช่น ยางพารา และทุเรียนภูเขาไฟ
จนกลายมาเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญ ทดแทนการปลูกข้าวแต่เพียงอย่างเดียว
เหมือนเมื่อก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น
จนได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ในปี 2563 ศรีสะเกษมีรายได้เฉลี่ยต่อคนปี
อยู่ที่ประมาณ 80,700 บาท
อยู่ในอันดับที่ 56 จาก 77 จังหวัดทั่วประเทศ
และแม้จะยังไม่ถือเป็นจังหวัดรายได้สูง แต่นี่ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดี
ที่ชี้ให้เห็นว่ามีการพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยภาพรวม