ข้าราชการไทยกลุ่มไหนมีจำนวนมากที่สุด?
'ข้าราชการ' ถือเป็นอาชีพที่มีมาอย่างยาวนาน
เป็นอาชีพสำคัญที่อยู่เคียงคู่และอำนวยประโยชน์ให้กับประเทศไทยมากมาย
ข้าราชการไทยเริ่มมีขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 7
ก่อนจะพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแบ่งเป็นประเภทต่างๆมากมายในปัจจุบัน
แตกต่างกันไปตามภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบในหน่วยงานต่างๆ
หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า 'ข้าราชการไทย' มีมากแค่ไหน
หรือข้าราชการประเภทใดมีจำนวนมากที่สุด วันนี้ไปดูกันได้เลยครับ
รวบรวมจากข้อมูลสถิติจำนวนประชากรของไทยในประเทศ ปี 2564
โดยพิจารณาสัดส่วนกำลังคนที่เป็นแรงงานในภาพรวม
เทียบกับจำนวนประชากรที่มีอยู่ในประเทศ จำนวน 66.17 ล้านคน
พบว่า ประเทศไทยมีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมจะทำงาน จำนวน 38.63 ล้านคน
โดยเป็นการจ้างงานในส่วนของกำลังคนภาครัฐ จำนวน 2.41 ล้านคน แบ่งเป็น
- ข้าราชการ จำนวน 1.68 ล้านคน
- ไม่ใช่ข้าราชการ
(พนักงานจ้าง พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว
พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานกระทรวงสาธารณสุข
พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานองค์การมหาชน)
จำนวน 1.23 ล้านคน
ในจำนวนข้าราชการ 1.68 ล้านคน ในปี 2564
ข้าราชการประเภทที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่
อันดับที่ 1 ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 427,525 คน
อันดับที่ 2 พลเรือนสามัญ จำนวน 421,228 คน
อันดับที่ 3 ทหาร จำนวน 325,053 คน
อันดับที่ 4 ส่วนท้องถิ่น จำนวน 250,670 คน
อันดับที่ 5 ตำรวจ จำนวน 213,208 คน
อันดับที่ 6 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ จำนวน 22,838 คน
อันดับที่ 7 พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 13,422 คน
อันดับที่ 8 ตุลาการ จำนวน 5,429 คน
อันดับที่ 9 อัยการ จำนวน 4,236 คน
อันดับที่ 10 รัฐสภา จำนวน 3,106 คน