ภาพถ่ายของหลุมดำภาพแรกในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
คนที่สนใจเรื่องวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์
หรือแม้แต่คนที่ชื่นชอบการดูภาพยนต์ของฝั่งฮอลลีวูด
น่าจะคุ้นเคยกันดีกับคำว่า 'หลุมดำ' ซึ่งเป็นวัตถุหนึ่งในจักรวาล
ที่มนุษย์เราได้แต่คำนวณตามหลักฟิสิกส์อันซับซ้อน
ถึงการมีตัวตนอยู่จริงของมัน แต่ยังไม่มีใครเคยได้เห็นภาพจริงมาก่อน
จนกระทั่งเมื่อปี 2019 มนุษย์โลกถึงได้มีโอกาสได้เห็นภาพนี้
ภาพสีส้มดำที่ดูขมุกขมัวนี้ คือภาพของ
'หลุมดำมวลยวดยิ่ง' เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2019
เป็นหลุมดำที่อยู่บริเวณใจกลางของกาแลกซี 'เมซิเย87'
ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากโลกราวๆ 53 ล้านปีแสง
หลุมดำดังกล่าว มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเราประมาณ 6500 ล้านเท่า
ภาพที่เราเห็นนี้ เป็นภาพที่ได้มาจาก
'กล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าเหตุการณ์' ซึ่งเป็นโครงการกล้องโทรทัศน์อวกาศ
ที่มีตำแหน่งกล้องกระจายอยู่ในหลายภูมิภาคของโลก ทำการบันทึกข้อมูลของตำแหน่ง
หลุมดำที่อยู่ห่างไกลมากนี้พร้อมๆกันหลายจุดเป็นเวลานาน
และขนส่งข้อมูลมหาศาลจากกล้องแต่ละตัวมารวมกัน
ก่อนจะต้องประมวลผลด้วย 'ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ '
จนได้ออกมาเป็นภาพหลุมดำภาพเดียว
'เป็นภาพหลุมดำภาพแรกในประวัติศาสตร์โลก'
(***เพราะหลุมดำนี้อยู่ห่างออกไปมาก เลนส์กล้องปกติบนโลกไม่สามารถจับภาพนี้ได้
โครงการกล้องดังกล่าวจึงออกแบบให้แต่ละตำแหน่งกล้องอยู่กระจายกันไปทั่วโลก
เพื่อทำหน้าที่เหมือนว่าเรากำลังถ่ายภาพวัตถุนี้ด้วยกล้องที่มีขนาดเลนส์กว้างเท่ากับโลกทั้งใบ)
ภาพนี้ภาพเดียว ใช้นักวิทยาศาสตร์ทำงานเบื้องหลังถึง 250 คน
ผ่านการเก็บภาพนานถึง 6 ปี และคาดว่ามีค่าใช้จ่ายมากถึงราวๆ
1,700 ถึง 2,000 ล้านบาท