การประหารเจ็ดชั่วโคตรคืออะไรและรุนแรงมากแค่ไหน?
การรับโทษทางกฎหมายของผู้ที่กระทำความผิด
มีความแตกต่างหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับบทกฎหมาย
ระดับความรุนแรงของความผิด บางครั้งอาจเป็นเพียงการตักเตือน
เพื่อไม่ให้กระทำผิดซ้ำ ในกรณีที่เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย
แต่หลายครั้งในบางกฎหมาย ก็มีโทษรุนแรงถึงขั้น 'ประหารชีวิต'
และอาจจะไปถึงขั้นไม่ใช่แค่การประหารชีวิตของผู้กระทำผิดเพียงคนเดียว
ครั้งหนึ่งในสมัยโบราณของไทย เคยมือหนังสือกฎหมายเก่า
ที่ใช้สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงช่วงกลางกรุงรัตนโกสินทร์
ว่าด้วย 'โทษที่ฆ่าทั้งโคตร' ซึ่งเกี่ยวพันอยู่กับเรื่องของกฏมณเฑียรบาล
และมาตรากฎหมายว่าด้วยลักษณะของการกบฏศึก
ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญของสังคมไทยในสมัยโบราณ
กฎหมายดังกล่าวแจกแจงรายละเอียด
การตัดสินประหารชีวิตของผู้กระทำผิดโทษอาญาร้ายแรง
ให้ต้องถูกประหารชีวิตทั้งตัวผู้กระทำผิดเอง รวมถึงคนไกล้ชิดในระดับเครือญาติ
รวมทั้งสิ้น 7 รุ่น (Generations) หรือเจ็ดชั่วโคตรในลักษณะคำดั้งเดิม
'เจ็ดชั่วโคตร' ประกอบไปด้วย
1. นักโทษ และเมีย (คู่ครอง) ของนักโทษ
2. ลูกของนักโทษ
3. หลานของนักโทษ
4. เหลนของนักโทษ
5. พ่อและแม่ของนักโทษ
6. ปู่ ย่า ตา และยาย ของนักโทษ
7. ทวดของนักโทษ
การประหารตามลักษณะดังกล่าว
ถือว่ามากจนแทบจะทำให้วงศ์ตระกูลของนักโทษสูญสิ้นหรือหมดไปได้
หรืออาจจะเหลือเพียงญาติห่างๆเท่านั้น