ยานอวกาศที่ทำภารกิจเดินทางไกลเพื่อพามนุษย์เข้าไกล้ดาวพลูโต
ภารกิจสำรวจอวกาศของมนุษย์บนโลก
ถือเป็นโครงการใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก
และต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากมายที่อาจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างภารกิจ
หลายครั้งที่มนุษย์ส่งยานอวกาศออกไปสำรวจห้วงอวกาศ
เพื่อตามหาคำตอบบางอย่างที่อยู่ไกลออกไปมาก
และนี่คือเรื่องราวของยานอวกาศลำหนึ่งที่เป็นตัวแทนของพวกเรา
เพื่อสำรวจดวงดาวที่อยู่ห่างไกลดวงหนึ่งในระบบสุริยะของเรา
นี่คือยาน 'นิวฮอไรซันส์' (New Horizons) หรือ 'ขอบฟ้าใหม่'
เป็นยานอวกาศสำรวจดาวเคาระห์ดวงหนึ่งของ NASA
เป็นหนึ่งในโครงการที่ชื่อว่า 'นิวฟรอนเทียร์'
ตัวยานถูกส่งเข้าสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2006 ก่อนมุ่งหน้าสู่ดาวพลูโต
เพื่อทำการสำรวจ นิวฮอไรซันส์เป็นยานขนาดเล็ก
มีขนาดประมาณเปียโนขนาดมาตรฐานหนึ่งหลัง
มีน้ำหนักทั้งหมด 478 กิโลกรัม ใช้กำลังไฟฟ้า 245 วัตต์
ตลอดเส้นทางของการไปดาวพลูโต
ยานลำนี้ได้บินผ่านดาวเคราะห์ดวงต่างๆในระบบสุริยะ
และได้ทำการส่งสัญญาณกลับมายังโลกอยู่เรื่อยๆ
ในความเป็นจริงแล้ว ด้วยระยะทางที่ไกลมากจากโลกไปพลูโต
ทำให้ยานลำนี้จำเป็นต้องถูกบังคับ
ให้อยู่ในโหมด 'จำศีล' ตลอดการเดินทาง เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน
โดยระหว่างจำศีลนี้ ยานจะใช้พลังงานน้อยมาก
เทียบเท่ากับหลอดตะเกียบที่ใช้กันตามบ้านเรือนหนึ่งดวง
ยานเดินทางถึงวงโคจรของดาวพลูโตเมื่อวันที่
14 กรกฎาคม 2015 หรือใช้เวลาเดินทางต่อเนื่องนานถึง 9 ปีครึ่ง
แม้จะเดินทางด้วยความเร็วแบบไม่หยุดพักถึง 58,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็ตาม
ยานได้ทำภารกิจสำรวจดาวพลูโตจนจบ และออกเดินทางต่อไป
ปัจจุบันยานได้เดินทางออกไปไกลมากแล้ว
แต่ยังคงอยู่ในภารกิจการสำรวจพื้นที่อื่นๆอันห่างไกล
ที่ยังไม่เคยมีใครหรือยานลำใดเคยได้สำรวจมาก่อน
และจะสิ้นสุดภารกิจจริงๆในช่วงปี 2026
เดินทางอย่างปลอดภัยนะครับเจ้ายานลำน้อย