ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก
ในปัจจุบันที่ทั่วโลกมีปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก
ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนทั่วไป
มีหนึ่งคำที่หลายคนเริ่มได้ยินบ่อยขึ้น ก็คือคำว่า 'เงินเฟ้อ'
ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลโดยตรงกับพวกเราทุกคน
'ภาวะเงินเฟ้อ' (inflation) หมายถึง
การที่ระดับราคาสินค้าหรือบริการในระยะเวลาหนึ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง
เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น เงินตราหนึ่งหน่วยจึงสามารถซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง
ดังนั้นจึงอาจมองได้ว่าภาวะเงินเฟ้อเป็นการสะท้อนถึงอำนาจการซื้อที่ลดลงต่อหนึ่งหน่วยเงินตรา
หรือปริมาณการสูญเสียมูลค่าที่แท้จริงของตัวกลางที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าในเศรษฐกิจ
วิธีวัดค่าความเฟ้อของราคาสินค้าทำโดยการหาอัตราเงินเฟ้อ
ซึ่งจะคำนวณจากการเปลี่ยนแปลงประจำปีของดรรชนีราคาโดยมีหน่วยเป็นอัตราร้อยละ
ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ประสบปัญหามีอัรชตราเงินเฟ้อสูงเกินไป
โดย 5 อันดับประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในปี 2023 ได้แก่
ประเทศเวเนซุเอลา — 1,198.0%
เศรษฐกิจของเวเนซุเอลาเคยเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในอเมริกาใต้
ด้วยความมั่งคั่งที่มาจากแหล่งน้ำมันสำรองที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศต้องพึ่งพาการส่งออกน้ำมันเป็นส่วนใหญ่
เมื่อราคาน้ำมันผันผวน รายได้ของประเทศเลยได้รับผลกระทบไปด้วย
ประเทศซูดาน — 340.0%
อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในซูดาน ถือว่าเลวร้ายมาก จนนำไปสู่การประท้วง
และท้ายที่สุดก็กลายเป็นการการโค่นล้มประธานาธิบดีโอมาร์ อัลบาชีร์ ในปี 2562
แม้รัฐบาลพยายามแก้ปัญหา แต่ก็ถือเป็นเรื่องยากในการแก้ไข
เพราะประสบปัญหาจากการจัดการที่ผิดพลาดมานานหลายปี
โดยอัตราเงินเฟ้อในซูดานเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ประเทศเลบานอน — 201.0%
เศรษฐกิจของเลบานอนเสียหายอย่างหนักหลังจากผิดนัดชำระหนี้
พันธบัตรยูโรมูลค่าประมาณ 31,000 ล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม 2020
ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล ค่าน้ำ ค่าพลังงาน ค่าเชื้อเพลิง และบริการอื่นๆ
ที่เพิ่มขึ้นทำให้เลบานอนตกอยู่ในวิกฤตเศรษฐกิจมาจนถึงปัจจุบัน
ประเทศซีเรีย — 139.0%
เศรษฐกิจของซีเรียอยู่ในจุดต่ำสุด นับตั้งแต่สงครามกลางเมือง
ที่เริ่มขึ้นเมื่อเกือบ 12 ปีก่อน มีการขาดแคลนเชื้อเพลิงอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่
รัฐบาลได้ขึ้นราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลอย่างรุนแรง
จนบางคนหยุดมาทำงานเพราะไม่สามารถจ่ายค่าขนส่งได้
ประเทศซูรินาเม — 63.3%
ซูรินามมีช่วงเวลาที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่ชะลอตัวลงในปี 2019 และ 2020
ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโรคไวรัสโควิด-19 และยังคงมีปัญหามาจนปัจจุบัน