นักการเมืองในประเทศไทยได้รับเงินเดือนมากน้อยแค่ไหน
แม้ในช่วงหลายปีมานี้ อุณหภูมิทางการเมืองของประเทศไทย
จะดุเดือดรุนแรงกันมาก มีการตอบโต้และโจมตีกันอย่างหนักหน่วง
และติดเป็นกระแสข่าวได้ทุกวันจนชาวบ้านเริ่มเหนื่อยหน่าย
แต่รู้หรือไม่? ว่านักการเมืองก็ถือเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญมาก
ต่อทิศทางการพัฒนาประเทศชาติ เกี่ยวข้องโดยตรงกับกฎหมายและนโยบายสำคัญๆ
ที่จะส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประชาชนคนทั่วไปอย่างเรา
เคยสงสัยกันหรือไม่? ตำแหน่งทางการเมืองระดับต่างๆ
ในระบบการเมืองไทยนั้น มีค่าตอบแทนหรือเงินเดือนมากน้อยแค่ไหน
วันนี้เรามีข้อมูลนี้มาฝากกันครับ
- อัตราเงินประจําตําแหน่งและเงินเพิ่ม
ของประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
ผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา มีดังนี้
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร :
เงินเดือนประจำตำแหน่ง 75,590 บาท
เงินเพิ่ม 50,000 บาท รวม 125,590 บาท
- รองประธานสภาผู้แทนราษฎร :
เงินเดือนประจำตำแหน่ง 63,860 บาท
เงินเพิ่ม 42,500 บาท รวม 106,360 บาท
- ประธานวุฒิสภา :
เงินเดือนประจำตำแหน่ง 74,420 บาท
เงินเพิ่ม 45,500 บาท รวม 119,920 บาท
- รองประธานวุฒิสภา :
เงินเดือนประจำตำแหน่ง 73,240 บาท
เงินเพิ่ม 42,500 บาท รวม 115,740 บาท
- ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร :
เงินเดือนประจำตำแหน่ง 73,240 บาท
เงินเพิ่ม 42,500 บาท รวม 115,740 บาท
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) :
เงินเดือนประจำตำแหน่ง 71,230 บาท
เงินเพิ่ม 42,330 บาท รวม 113,560 บาท
- สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) :
เงินเดือนประจำตำแหน่ง 71,230 บาท
เงินเพิ่ม 42,330 บาท รวม 113,560 บาท
นอกจากนี้ ยังมีบัญชี
"อัตราสิทธิประโยชน์สวัสดิการรักษาพยาบาล
ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา" ดังนี้
การรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ และเอกชน
กรณีการรักษาพยาบาลผู้ป่วยใน แบ่งเป็น
- ค่าห้องและค่าอาหาร/วัน ไม่เกิน 31 วันต่อครั้ง ไม่เกิน 4,000 บาท
- ค่าห้องไอซียู/ซีซียู/วัน สูงสุด 7 วัน/ครั้ง ไม่เกิน 10,000 บาท
- ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป/ครั้ง ค่ารถพยาบาล ไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่ารถพยาบาล ไม่เกิน 1,000 บาท
- ค่าผ่าตัด/ครั้ง ไม่เกิน 120,000 บาท
- ค่าแพทย์เยี่ยมไข้/วัน (ไม่เกิน 31 วัน/ครั้ง) ไม่เกิน 1,000 บาท
- ค่าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค/ครั้ง ไม่เกิน 4,000 บาท
- การคลอดบุตรคลอดธรรมชาติ 20,000 บาท และผ่าตัด ไม่เกิน 40,000 บาท
- การรักษาทันตกรรม/ปี ไม่เกิน 5,000 บาท
- ผู้ป่วยนอก/ปี ไม่เกิน 90,000 บาท
- การตรวจสุขภาพประจําปี ไม่เกิน 7,000 บาท