เขื่อนดินที่มีขนาดใหญ่และมีความจุน้ำมากที่สุดในประเทศไทย
แม้ว่าประเทศไทยจะตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
ที่ทำให้มีฝนตกค่อนข้างมาก แต่ในขณะเดียวกัน ในหลายพื้นที่กลับมีปัญหา
เรื่องการจัดการน้ำ ทำให้ต้องพบกับปัญหามากมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับน้ำ
ทั้งเรื่องน้ำท่วมในฤดูฝน รวมถึงการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
ในเรื่องนี้เองที่ทางการไทยได้ลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่
ที่ทำให้คนไทยโดยทั่วไปได้รับประโยชน์มากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม
หนึ่งในเขื่อนที่มีขนาดใหญ่และสำคัญที่สุดของไทย
ก็คือเขื่อน 'สิริกิติ์'
เขื่อนสิริกิติ์ The Queen Sirikit Dam หรือ Sirikit Dam
เป็นเขื่อนดินถมแกนดินเหนียวขนาดใหญ่
ตั้งอยู่ในตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างกั้นแม่น้ำน่าน
เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514
และเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2520
เขื่อนทำหน้าที่หลายอย่าง ได้แก่ การควบคุมน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
การชลประทาน และการจัดหาน้ำสำหรับใช้ในบ้านและอุตสาหกรรม
มีความจุเก็บกักรวมประมาณ 9,500 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนมีความสูง 113 เมตร
และมีความยาวสันเขื่อน 800 เมตร มีกำลังผลิตไฟฟ้า 500,000 กิโลวัตต์
เขื่อนสิริกิติ์ถือเป็นเขื่อดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในปัจจุบัน
เขื่อนสิริกิติ์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม มีทัศนียภาพที่สวยงามของภูเขาโดยรอบ
และกิจกรรมทางน้ำ เช่น พายเรือและตกปลา ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก
ที่ต่างพากันแวะเวียนมาเที่ยวชมที่เขื่อนแห่งนี้