เมืองเดียวในไทยที่มีตำแหน่งนายกเป็นของตัวเอง
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศใหญ่ที่มีประชากรมาก
มีพื้นที่กว้างขวาง จึงจำเป็นต้องแบ่งหน่วยการปกครองย่อย
เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ โดยหน่วยการปกครองย่อย
ที่คุ้นหูกันมากที่สุด คือระดับ 'จังหวัด' ที่แม้แต่ละแห่ง
จะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันมาก
แต่ส่วนหนึ่งที่มีเหมือนกันคือตำแหน่ง 'ผู้ว่าราชการจังหวัด'
ซึ่งถือเป็นตำแหน่งสูงสุดของการปกครองในระดับจังหวัด
ปัจจุบันทุกจังหวัดของประเทศไทย
มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด เหมือนกันทั้งหมด
โดยมาจากการแต่งตั้งโดยส่วนกลาง สำหรับบริหารท้องถิ่น
ทั้งนี้ มีอยู่เพียง 2 เมืองเท่านั้นที่ใช้ระบบการปกครองท้องถิ่น
ที่แตกต่างไปจากพื้นที่อื่นๆ นั่นคือกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
โดยกรุงเทพมหานคร เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
มีตำแหน่ง 'ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร' เป็นผู้บริหารสูงสุดของเมือง
มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
และอีกหนึ่งเมืองที่ไม่เหมือนใครเลย นั่นคือเมืองพัทยา
ซึ่งเป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
มีตำแหน่ง 'นายกเมืองพัทยา' ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ในเขตเมืองพัทยา ซึ่งมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี พัทยาถือเป็นเมืองเดียว
หรือพื้นที่เดียวของไทยที่มีตำแหน่งผู้นำสูงสุดเป็นตำแหน่งนี้
ปัจจุบันมีผู้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกเมืองพัทยา
รวมทั้งหมด 12 คน คนแรก คือ 'พลเรือเอก สถาปน์ เกยานนท์'
ที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2521 ถึงปี 2523
และคนปัจจุบัน คนที่ 12 คือ 'ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์'
ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2565 จนถึงปัจจุบัน
(ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ : นายกเมืองพัทยาคนปัจจุบัน)