วัตถุอายุมากที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบบนพื้นโลก
การค้นคว้าวิจัยทางดาราศาสตร์ หรือความรู้จากดวงดาว
ถือเป็นแขนงวิชาหนึ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ
และแม้จะผ่านกาลเวลาไปนานแค่ไหน มนต์สเน่ห์ของอวกาศ
ก็ยังคงน่าสงสัยและเป็นที่สนใจของเหล่ามนุษย์อยู่เสมอ
แม้ว่าการทดลองที่เกี่ยวกับอวกาศจะมีข้อจำกัดมาก
เนื่องจากวัตถุหรือหลักฐานที่จะใช้ศึกษานั้นหาได้ยาก
แต่หลายครั้งที่พวกเราก็ได้พบกับของล้ำค่าที่หาได้ยากยิ่งนี้เหมือนกัน
เป็นชิ้นส่วนเล็กๆที่มีความหมายมากมายในวงการวิทยาศาสตร์
หนึ่งในนั้นคืออุกกาบาตที่มีชื่อว่า Murchison
อุกกาบาตเมอร์ชิสัน (Murchison meteorite)
เป็นหนึ่งในอุกกาบาตที่ได้รับการศึกษามากที่สุด
เนื่องจากเป็นอุกกาบาตที่มีมวลรวมกันมากถึงกว่า 100 กิโลกรัม
อุกกาบาตลูกนี้ตกใกล้กับหมู่บ้านเมอร์ชิสัน รัฐวิกทอเรีย ประเทศออสเตรเลีย
เมื่อปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) อุกกาบาตลูกนี้
เป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มของอุกกาบาตที่อุดมไปด้วยสารประกอบอินทรีย์
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 นักดาราศาสตร์รายงานว่า
วัสดุที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเท่าที่พบเจอในปัจจุบัน
คือ อนุภาคซิลิกอนคาร์ไบด์ที่ได้จาก 'อุกกาบาตเมอร์ชิสัน'
ซึ่งค้นพบว่ามีอายุ 7 พันล้านปี มากกว่าอายุของโลก ที่มีอายุ 4.54 พันล้านปี
และมากกว่าอายุของระบบสุริยะ ที่มีอายุประมาณ 2.5 พันล้านปี
(เฉพาะตัวอุกกาบาต มีอายุประมาณ 4600 ล้านปี)
อุกกาบาตนี้ตกมายังโลก
ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2512 เวลาประมาณ 10:58 น.
ใกล้กับเมอร์ชิสัน รัฐวิกทอเรีย ประเทศออสเตรเลีย มีการสังเกตเห็นลูกไฟสว่าง
แยกออกเป็นสะเก็ดสามชิ้นก่อนที่จะหายไป เหลือแต่กลุ่มควัน หลังจากนั้นประมาณ 30 วินาที
มีเสียงสั่นสะเทือนดังขึ้น สะเก็ดจำนวนมากพบได้อย่างกระจัดกระจายในพื้นที่กว้างกว่า 13 ตารางกิโลเมตร
ถือเป็นอุกกาบาตที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่สนใจมากที่สุดลูกหนึ่งที่มีการศึกษาในปัจจุบัน