จังหวัดในประเทศไทยที่มีชื่อสั้นที่สุด
ชื่อจังหวัดต่างๆของไทย
ล้วนมีประวัติรวมถึงที่มาที่แตกต่างกัน
หลายจังหวัดนั้นสามารถสืบค้นหาประวัติที่มาของชื่อได้อย่างง่าย
ในขณะที่ชื่อของอีกหลายจังหวัดกลับมีที่มาจากเรื่องเล่า
หรือตำนานที่ส่งกันรุ่นสู่รุ่น ทำให้เป็นการยากที่จะสรุปที่มาที่ไป
หรือแม้แต่บอกความหมายที่แท้จริงได้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม
ทุกจังหวัดล้วนมีชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง
รวมถึงมีความน่าสนใจเฉพาะที่ไม่เหมือนกับจังหวัดอื่นๆอย่างแน่นอน
วันนี้เราจะพาไปดูเกร็ดเล็กๆน้อยๆ ของจังหวัดที่ได้ครองตำแหน่ง
'จังหวัดที่มีชื่อจังหวัดสั้นที่สุด' โดยใช้การนับจำนวนตัวอักษรในภาษาไทย
โดยชื่อจังหวัดที่ใช้ตัวสะกดน้อยที่สุดในภาษาไทย มี 2 จังหวัด
ได้แก่ 'เลย' และ 'ตาก'
ซึ่งเป็นสองจังหวัดที่น่าจะเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี
จังหวัด 'เลย'
เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย
ตั้งอยู่ในแอ่งสกลนครและอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 540 กิโลเมตร มีสภาพภูมิประเทศที่งดงาม
อากาศหนาวเย็น เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ
และยังเป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วย
จังหวัดเลยเป็นหนึ่งในสองจังหวัดของไทย
ที่มีชื่อจังหวัดสั้นที่สุดโดยใช้เพียง 3 ตัวอักษร
คือ สระเอ, ล.ลิง และ ย.ยักษ์
จังหวัด 'ตาก'
เป็นจังหวัดในภาคตะวันตก หรือบางแห่งจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่างของไทย
มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ แต่มีประชากรเบาบางที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ
นับเป็นจังหวัดชายแดนที่สำคัญอีกจังหวัดหนึ่งของไทย มีประวัติศาสตร์เก่าแก่
นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่งดงามหลายแห่ง
จังหวัดตากยังเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดอื่นๆ มากถึง 9 จังหวัด
ตากคือหนึ่งสองจังหวัดของไทยร่วมกับจังหวัดเลย
ที่มีชื่อจังหวัดสะกดด้วย 3 ตัวอักษร คือ ต.เต่า, สระอา และ ก.ไก่
ส่วนจังหวัดอื่นๆที่มีชื่อสั้นที่สุดรองลงมา
คือจังหวัดในกลุ่มที่ใช้ตัวอักษร สระ หรือวรรณยุกต์
จำนวน 4 ตัว ได้แก่จังหวัดตรัง ตราด น่าน แพร่ ยะลา และสตูล