สะพานแบบเปิดปิดได้เพียงแห่งเดียวที่ยังใช้งานอยู่ในประเทศไทย
สะพาน เป็นสิ่งก่อสร้างที่พบเห็นได้ทั่วไป ถือเป็นสิ่งก่อสร้าง
ที่มีความจำเป็นต่อการเดินทางและการใช้ชีวิตประจำวันมาก
สะพานหลายแห่งมีขนาดใหญ่ และต้องรองรับยานพาหนะมากมายในแต่ละวัน
โดยในประเทสไทยเองก็มีสะพานสำคัญๆอยู่หลายแห่ง ที่มีจุดเด่น
มีเอกลักษณ์และเรื่องราวที่น่าสนใจมาก และ 'สะพานกรุงเทพ' ก็เป็นหนึ่งในนั้น
สะพานกรุงเทพ (Krung Thep Bridge)
เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แห่งที่ 3 ต่อจากสะพานพระราม 6
และสะพานพระพุทธยอดฟ้า เชื่อมระหว่างบริเวณสี่แยกถนนตก
เขตบางคอแหลมทางฝั่งพระนคร กับบริเวณสี่แยกบุคคโล
ในพื้นที่เขตธนบุรี ทางฝั่งธนบุรี ใช้ในการคมนาคมทางบกข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
และปิด-เปิด ให้เรือเข้าออก ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบคอนกรีตอัดแรงโดยวิธีการอิสระ
ซึ่งยาวที่สุดในประเทศไทย มีช่องทางจราจร 4 ช่อง ความยาวสะพาน 350.80 เมตร
ช่วงกลางน้ำยาว 226 เมตร เริ่มเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2502
ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท
สะพานกรุงเทพ ถือเป็นสะพานโยก หรือ Bascule Bridges
เพียงแห่งเดียวในไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังเปิด-ปิดได้อยู่
โดยในปัจจุบัน สะพานยังเปิด-ปิดเพื่อให้เรือสินค้าที่แล่นเข้าออกเป็นประจำผ่าน
แต่เมื่อมีการเปิด-ปิดสะพาน ก็ต้องมีการปิดการจราจร ทำให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดเป็นอันมาก
อีกทั้งเป็นสะพานที่อายุกว่า 50 ปี ทำให้มีปัญหาด้านกลไกเปิด-ปิดสะพานอยู่บ่อยครั้ง
รัฐบาลจึงทุ่มงบสร้างสะพานที่สูงพอให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร
(สะพานนั้นคือสะพานพระราม 3)
** ประเทศไทยยังมีอีกหนึ่งสะพาน ที่เป็นสะพานโยก
ก็คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือสะพานพุทธ ที่สามารถเปิด-ปิด ให้เรือลอดไปได้
แต่ในปัจจุบันได้ปิดการให้บริการไปแล้ว
และยังอยู่ในแผนที่จะให้กลับมาเปิด-ปิด สะพานได้อีกในอนาคต