หลุมดำที่อยู่ไกล้โลกของเรามากที่สุดเท่าที่เคยถูกสำรวจพบ
Gaia BH1 หรือที่รู้จักในชื่อ TIC 125470397 เป็นวัตถุทางดาราศาสตร์ที่ได้รับความสนใจอย่างมากเนื่องจากลักษณะเฉพาะของมัน เชื่อว่าเป็นหลุมดำที่อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก การค้นพบ Gaia BH1 ทำโดยยานอวกาศ Gaia ของ European Space Agency ซึ่งออกแบบมาเพื่อทำแผนที่และจัดหมวดหมู่วัตถุท้องฟ้าด้วยความแม่นยำสูง
Gaia BH1 เป็นระบบดาวคู่ ที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์ลำดับหลักประเภท G และหลุมดำมวลดาวฤกษ์ที่น่าจะเป็นไปได้ ซึ่งอยู่ห่างจากระบบสุริยะ ประมาณ 1,560 ปีแสง (478 หน่วยดาราศาสตร์) ในกลุ่มดาว Ophiuchus ซึ่งถือเป็นระบบดาวที่อยู่ไกล้กับเรามากที่สุด ที่เหล่านักดาราศาสตร์ มั่นใจพอสมควรว่ามีหลุมดำอยู่ ตามมาด้วย Gaia BH2 และ A0620-00
ดาวฤกษ์และหลุมดำโคจรรอบกันและกันด้วยระยะเวลา 185.59 วัน มีความเยื้องศูนย์กลาง 0.45 ดาวฤกษ์ดวงนี้คล้ายกับดวงอาทิตย์ มีขนาดประมาณ 0.93 M☉ และ 0.99 R☉ มีอุณหภูมิประมาณ 5,850 K (5,580 °C; 10,070 °F) ในขณะที่หลุมดำมีมวลประมาณ 9.62 M☉ เมื่อพิจารณามวลนี้ รัศมีชวาร์ซชิลด์ของหลุมดำควรอยู่ที่ประมาณ 28 กม. (17 ไมล์)
ปัจจุบัน Gaia BH1 ถือเป็นวัตถุที่เชื่อว่ามีหลุมดำที่อยู่ไกล้กับโลกของเรามากที่สุด (1,560 ปีแสง) ในขณะที่ A0620-00 (V616 Mon) อยู่ห่างออกไปประมาณ 3,900 ถึง 5,500 ปีแสง