อดีตเรือดำน้ำที่เคยเข้ามาประจำการในกองทัพเรือของไทย
เรือดำน้ำ ถือเป็นยุทโธปกรณ์สำคัญอีกชนิดหนึ่ง
ที่กองทัพต่างๆทั่วโลกยอมลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ เพื่อให้ได้มาไว้ในประจำการ
โดยในปัจจุบันเรือดำน้ำถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง
เราสร้างเรือดำน้ำขนาดที่เล็กสามารถดำน้ำในระดับที่ลึกมาก
เพื่อทำงานเฉพาะกิจบางอย่าง เช่น การสำรวจซากเรือโบราณ,
การวางสายเคเบิลใต้น้ำ, การหาร่องรอยของแผ่นดินไหว
และการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ซึ่งทำให้มนุษย์
สามารถเข้าถึงโลกใต้ทะเลที่เราไม่เคยสัมผัสมาก่อน
ในประเทศไทยเองก็เคยมีเรือดำน้ำประจำการในกองทัพเรือมาแล้ว
ก่อนจะทยอยปลดประจำการจนหมด วันนี้เราจะพาไปดูกันว่า
เรือดำน้ำในอดีตที่เราเคยมีจะหน้าตาเป็นยังไง หรือชื่ออะไรบ้าง
เรือหลวงสินสมุทร (HTMS Sinsamut)
เป็นเรือดำน้ำประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่งขนาดเล็ก (ระวางขับน้ำต่ำกว่า 500 ตัน)
ประกอบขึ้นที่อู่ต่อเรือบริษัทมิตซูบิชิ โกเบ ประเทศญี่ปุ่น
มีความยาว 51 เมตร กว้าง 4.1 เมตร มีระวางขับน้ำขณะดำ 430 ตัน
เข้าประจำการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2481
และปลดประจำการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2494
เรือหลวงมัจฉาณุ (HTMS Matchanu)
เป็นเรือดำน้ำประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่งขนาดเล็ก
มีความยาว 51 เมตร กว้าง 4.1 เมตร จุลูกเรือได้ทั้งหมด 33 นาย
เรือลำนี้เข้าประจำการและปลดระวางพร้อมกันกับเรือหลวงสินสมุทร
เรือหลวงพลายชุมพล (HTMS Phlai-chumphon)
เป็นประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่งขนาดเล็ก (ระวางขับน้ำต่ำกว่า 500 ตัน)
ประกอบขึ้นที่อู่ต่อเรือบริษัทมิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น
พร้อมกันจำนวน 4 ลำ พร้อมกับ เรือหลวงมัจฉานุ เรือหลวงวิรุณ
และเรือหลวงสินสมุทร โดยเรือหลวงพลายชุมพล
ประกอบขึ้นพร้อมกับเรือหลวงสินสมุทร แต่มีรูปแบบแตกต่างกัน
เรือหลวงวิรุณ (HTMS Wirun)
เรือหลวงวิรุณ ประกอบขึ้นพร้อมกับเรือหลวงมัจฉาณุ
แล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2480
ทางบริษัทมิตซูบิชิได้จัดพิธีส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิของกองทัพเรือไทย
และนำลูกเรือเข้าประจำเรือ กองทัพเรือไทยจึงถือว่าวันที่ 4 กันยายน
เป็น วันที่ระลึกเรือดำน้ำ
เรือดำน้ำของไทยทั้งสี่ลำ เดินทางออกจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2481 ถึงกรุงเทพเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481
เข้าประจำการเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481
ได้ออกปฏิบัติการในสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่สอง