ฤดูกาลที่มีช่วงเวลากลางคืนยาวนานมากของพื้นที่แถบขั้วโลก
Polar night (คืนขั้วโลก)
เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในบริเวณขั้วโลก
เป็นช่วงฤดูหนาวที่ดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้าและมีความมืดต่อเนื่อง
ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในพื้นที่ภายใน
ของอาร์กติกเซอร์เคิล (รอบขั้วโลกเหนือ) และแอนตาร์กติกเซอร์เคิล (รอบขั้วโลกใต้)
คืนขั้วโลกเกิดขึ้นเนื่องจากการเอียงของแกนโลก ในช่วงเวลานี้
แกนด้านหนึ่งจะเอียงออกจากดวงอาทิตย์ ทำให้ไม่มีแสงแดดเป็นเวลานาน
ในขณะเดียวกัน ก็มีปรากฏการณ์ตรงกันข้าม ที่เรียกว่า "พระอาทิตย์เที่ยงคืน"
หรือ Midnight sun เกิดขึ้นในฤดูร้อนเมื่อขั้วโลกเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์
ทำให้เกิดแสงกลางวันอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ระยะเวลาของปรากฎการณ์นี้จะแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับละติจูดของสถานที่นั้น ที่บริเวณใกล้ขั้วโลก
Polar night อาจกินเวลานานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน
ในสถานที่ใกล้กับอาร์กติกและแอนตาร์กติกเซอร์เคิล
ช่วงเวลาแห่งความมืดอย่างต่อเนื่องอาจกินเวลาไม่กี่วันถึงสองสามเดือน
คืนขั้วโลกมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสภาพอากาศ ระบบนิเวศ
และชีวิตประจำวันของภูมิภาคที่ประสบ การหาอาหารของสัตว์ป่าอาจทำได้ยากขึ้น
และส่งผลต่อพฤติกรรมของทั้งพืชและสัตว์ กิจกรรมของมนุษย์ก็ได้รับอิทธิพลเช่นกัน
ในอดีต ชุมชนในภูมิภาคเหล่านี้ได้ปรับกิจวัตรประจำวันของพวกเขา
เพื่อรับมือกับช่วงเวลาแห่งความมืดที่ยาวนานนี้