"หม่า เปาลี่" จากอดีตตำรวจหนุ่มที่เป็นเกย์ สู่เจ้าของแอพ "Blued" อันโด่งดัง
จากอดีตตำรวจหนุ่มที่ต้องปกปิดรสนิยมของตนเอง สู่การเป็นเจ้าของแอพหาคู่เกย์ที่โด่งดังจากจีน มาติดตามประวัติของเขากัน
1.เขาเป็นใคร ?
เขามีนามว่า "หม่า เปาลี่" อดีต ผช.ผอ.ประจำฝ่ายกองกำลังตำรวจเมือง ท่าติดทะเลชินฮวงเต้า มณฑลเหอเป่ยภาคอีสานของจีน มีอายุ 37 ปี เขาต้องตัดสินใจลาออกจากงานข้าราชการ ซึ่งจริงๆมันเป็นความฝันของเขาตั้งแต่วัยเด็ก แต่พอเติบโตมาเขาก็ต้องยอมรับความจริงในตัวเองว่าเขามีรสนิยมการเป็น "เกย์"
2.อยู่กับความรู้สึกเหงา
เขาพยายามเสิร์ชหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต หลายเพจก็บอกว่า "เขาหลงผิด ป่วย และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา" นั่นเพราะว่าเขาเป็นเกย์
เขากล่าวว่า "ผมรู้สึกเหงาสุดๆเลยครับ" หลังรู้ว่าตัวเองมีรสนิยมทางเพศแบบไหน ครั้นที่เขายังเป็นตำรวจที่เมืองเล็กๆทางชายฝั่ง
3.เขาเลือกในสิ่งที่รัก
พอทำงานมาหลายปีเขาก็เปิดเว็บไซต์ให้กลุ่มคนรักร่วมเพศ เพื่อได้ให้เข้ามาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ แต่ด้วยแรงกดดันถึงความไม่เหมาะสมที่จะทำธุรกิจหาเงินแบบนี้ ทั้งๆที่ยังติดยศตำแหน่งทางราชการอยู่ เขาจึงตัดสินใจเลือกในสิ่งที่รัก ซึ่งถือว่าฟ้าเป็นใจเปิดทางให้เขาได้พบกับทางสว่าง
4.ทำเว็บไซต์บล็อกของตนเอง
มันเป็นจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อต้นทศวรรษ 2000 ตอนที่เขาเริ่มเขียนบล็อก Danlan.org โดยบอกเล่าชีวิตเกย์ของตนเอง ให้บริการแอพพลิเคชั่นออกเดทภาคภาษาจีนกับหนุ่มๆ เขาเล่าว่า ตอนนั้นสถานที่พบปะสังสรรค์เกย์ในจีน มีเพียงไม่กี่แห่ง “ผู้คนจะเขียนบนกำแพงห้องน้ำสาธารณะว่าพบกันที่นี่เวลานี้ ทุกคนกลัวว่าคนอื่นมาเจอเข้า”
5.บล็อกค่อยๆเติบโต
บล็อกของเขาค่อยๆเติบโตเป็นเวทีออนไลน์ ที่ทรงอิทธิพลสำหรับกลุ่ม LGBTQ ในจีน เพื่อแบ่งปันเรื่องไลฟ์สไตล์ต่างๆ และแนะนำด้านสุขภาพ และรวมถึงเรื่องสั้นต่างๆ ซึ่งเขาคิดว่าควรทำเว็บบอกเล่าให้คนที่เป็นเกย์แบบเขารู้ว่า.."คุณไม่จำเป็นต้องรู้สึกต่ำต้อย ไม่จำเป็นต้องฆ่าตัวตาย" ซึ่งทำให้ เว็บไซต์ Danlan.org มีชายไม่แท้ทั้งแท่ง แห่เป็นสมาชิก 15 ล้านราย รวม 3 ล้านรายจากนอกประเทศ
6.เปิดตัวบลูด์ (Blued)
เมื่อสื่อท้องถิ่นรายงานถึงเว็บนี้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนร่วมงานของเขาก็รู้ความจริง ทำให้เขาต้องลาออกจากอาชีพตำรวจในปี 2555 แล้วเปิด "แอพบลูด์" (Blued) ในปีเดียวกัน โดย "บลูซิตี้" บริษัทแม่ของบลูด์ในกรุงปักกิ่ง ซึ่งการทำงานในบริษัทก็จะเต็มไปด้วยโปรแกรมเมอร์หนุ่ม-สาวแต่งตัวสบายๆ สำนักงานตกแต่งด้วยมาสคอตยูนิคอร์นสีรุ้ง ห้องน้ำเพศกลาง และภาพของเขากับบุคคลสำคัญๆ ต่างๆ เช่น นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง
7.การเติบโตของแอพ
ถึงวันนี้แอพฯ บลูด์ (Blued) มีผู้ใช้กว่า 58 ล้านคนในจีนและนานาประเทศ เช่น อินเดีย, เกาหลีใต้, และประเทศไทยด้วย แม้ว่าบริษัทจะยังไม่ทำกำไรเท่าที่ควรแต่ก็ขาดทุนน้อยลง นับตั้งแต่เริ่มเก็บค่าสมาชิกไลฟ์สตรีม และโฆษณาในปี 2559 ซึ่งก็เหมือนแอพฯ นัดเดตอื่นๆ ที่ผู้ใช้หลายคนต้องการเข้ามาหาคู่แล้วไปเดตกัน แต่ก็มีหลายคู่ที่มีชีวิตคู่ที่ยืนยาว จากการที่มีจดหมายกองเต็มบนโต๊ะที่เขียนมาขอบคุณเขา
8.การใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ HIV
ทุกวันนี้การพูดคุยเรื่อง LGBTQ ยังเป็นที่ถกเถียงกันในจีนเกี่ยวกับข้อจำกัดต่อสาธารณะ แม้แต่บล็อกของเขาก็เคยถูกปิดไปหลายครั้ง แต่ส่วนบลูด์นั้น จะไม่ค่อยขัดแย้งกับทางการ แต่จะค่อยๆใช้วิธีการระมัดระวัง และเพิ่มความตระหนักให้สังคมยอมรับชาว LGBTQ
กับการช่วยโหมกระพือเกี่ยวกับ HIV ให้ไม่มีการเหยียดเกย์ ทั้งยังทำให้คนที่ไม่กล้าไปหาหมอได้แก้ปัญหาเหล่านี้ และมีการขายชุดตรวจ HIV และเป็นตัวแทนปรึกษาแพทย์ พร้อมกับร่วมงานกับทางการท้องถิ่นให้ผู้ใช้ไปตรวจ HIV ฟรีที่ศูนย์ตรวจด้วย เพื่อร่วมมือทำโครงการรณรงค์ป้องกัน HIV
9.การสร้างภาพลักษณ์ให้เกย์ดูดีงามขึ้น
แต่ก็ใช่ว่าแอพบลูด์จะดำเนินการราบรื่นไร้อุปสรรค ตอนแรกๆก็มีปัญหาเหมือนกัน จากที่มีผู้ลงทะเบียนใหม่เมื่อปี 2562 เป็นเด็กชายอายุต่ำกว่าเกณฑ์เข้ามาใช้แอพฯ ทางบริษัทจึงให้คำมั่นว่าจะควบคุม และเนื้อหาให้เข้มงวดขึ้นเพื่อ "สร้างภาพลักษณ์ชาวเกย์ให้ดีงามยิ่งขึ้น"
เขาเชื่อว่างานของเขาจะช่วยเพิ่มการรับรู้ของสังคมต่อชาว LGBTQ ในจีน และรวมถึงเพื่อนและครอบครัวที่เคยปฎิเสธเขามาก่อน จะได้ทำให้สังคมเข้าใจได้ในเร็วๆนี้ และเขาก็คิดว่าต้องมีสักวันที่เกย์ในจีนจะสามารถแต่งงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วย