ดาวฤกษ์ดวงแรกที่ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการเป็นภาษาไทย
47 Ursae Majoris (47 หมีใหญ่) หรือมีชื่อว่า ชาละวัน (Chalawan) เป็นดาวฤกษ์หลักที่ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าภายใต้ท้องฟ้าที่มืดมิด ดาวดวงนี้อยู่ห่างจากโลกประมาณ 46 ปีแสง
47 Ursae Majoris ตั้งอยู่ค่อนข้างใกล้กับระบบสุริยะ จากข้อมูลของการวัดวิชาการวัดตำแหน่งดาวโดยดาวเทียม วัดตำแหน่งดาวฮิปพาร์คอส ดาวนี้มีพารัลแลกซ์ 71.11 มิลลิพิลิปดา สอดคล้องกับระยะทาง 45.913 ปีแสง ดาวนี้มีความส่องสว่างปรากฏ +5.03 ซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและมีความส่องสว่างสัมบูรณ์ +4.29 หมายความว่า ความสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 60% ดาวนี้เป็นแฝดดวงอาทิตย์ (solar analog) ด้วยชนิดสเปกตรัม G1V มีมวลพอ ๆ กับดวงอาทิตย์แต่ร้อนกว่าประมาณ 5,882 K และเป็นโลหะมากกว่าเล็กน้อย คือ ประมาณ 110% ของความอุดม (abundance) เหล็กของดวงอาทิตย์
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ได้ประกาศกระบวนการกำหนดชื่อที่เหมาะสมแก่ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ และดาวฤกษ์แม่ กระบวนการดำเนินโดยการเสนอชื่อสาธารณะ และการเลือกโดยการลงคะแนน ซึ่งในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้ประกาศชื่อสามัญ ให้กับดาว 47 Ursae majoris ใหม่ว่า "ดาวชาละวัน" (Chalawan) อันเป็นชื่อสามัญของดาวฤกษ์เป็นภาษาไทยครั้งแรก
ส่วนดาวเคราะห์ในระบบของดาว 47 หมีใหญ่ อีก 2 ดวง คือดาว 47 Ursae majoris b (ดาว 47 หมีใหญ่ บี) และดาว 47 Ursae majoris c (ดาว 47 หมีใหญ่ ซี) ได้ชื่อสามัญว่า "ดาวตะเภาทอง" (Taphao Thong) และ "ดาวตะเภาแก้ว" (Taphao Kaew) ตามลำดับ โดยชื่อทั้ง 3 เสนอโดยสมาคมดาราศาสตร์ไทย (ชาละวัน นอกจากเป็นชื่อในนิทานพื้นบ้านแล้ว 'Chalawan' ยังเป็นชื่อที่กำหนดให้กับสกุล ในอันดับจระเข้ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งมีสายพันธุ์เดียวคือ Chalawan thailandicus)