6 เรื่องจริง มาม่า (MAMA) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยอดนิยม
หากพูดถึง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่ได้รับความนิยมทุกคนจะต้องนึกถึงยี่ห้อ มาม่า มาเป็นอันดับแรกอย่างแน่นอน มาม่าเป็นแบรนด์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบรนด์แรกของประเทศไทย ทำให้คนไทยติดปากเรียก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแทบทุกยี่ห้อว่า มาม่า มาจนถึงทุกวันนี้ มาม่า ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ทางแบรนด์ ได้มีการพัฒนาสูตรอยู่เสมอเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค รสชาติของ มาม่า นั้นจะเห็นได้ว่ามีความหลากหลายมากๆ และแต่ละรสชาติก็ยังมีรสชาติที่อร่อยโดดเด่นมาก ไม่ว่าจะเป็น มาม่ารสต้มยำกุ้ง แบบดั้งเดิม รสต้มยำกุ้งน้ำข้น มาม่ารสหมูสับ รสเย็นตาโฟหม้อไฟ เป็นต้นนอกจากรสชาติที่หลากหลายแล้วยังมีปริมาณให้เลือกหลายแบบทั้งแบบซองปกติ ซองบิ๊กแพค แบบถ้วยเล็ก แบบถ้วยใหญ่ ก็มีให้เลือกซื้อ ซึ่งในบทความนี้ เราได้รวบรวม 10 เรื่องจริง มาม่า (MAMA) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยอดนิยม
อับดับที่ 6 ต้นกำเนินของมาม่า
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือ มาม่า มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น โดย คุณอันโด โมโมฟุกุ เป็นผู้ริเริ่มและค้นคว้าการผลิต ก่อนจะประสบความสำเร็จและวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 1958 ภายใต้ยี่ห้อ นิสชิน และรสชาติแรกที่วางจำหน่ายคือ ชิกเก้นราเมน หลังจากวางจำหน่ายได้ไม่นาน ชิกเก้นราเมนของคุณอันโดก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนมีสินค้าเลียนแบบมากมาย ในปี 1970 คุณอันโดได้ผลักดันสินค้าของเขาให้วางขายทั่วโลก เริ่มจากวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเป็นแห่งแรก และด้วยการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของคุณอันโด บะหมี่ถ้วย หรือ คัพนูดเดิล ก็ได้ถูกผลิตและวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 18 กันยายน 1971 ภายใต้ยี่ห้อนิสชินเช่นเดียวกัน ในปี 1973 ประเทศไทยก็ถือกำเนิดตำนานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเช่นเดียวกัน โดย บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด ได้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อ มาม่า และวางจำหน่ายรสซุปไก่เป็นรสชาติแรก ก่อนจะพัฒนารสชาติอื่น ๆ ออกมาจนได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ทำให้คนส่วนใหญ่เรียกมาม่าแทนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้งหมด เนื่องจากเป็นยี่ห้อที่ได้รับความนิยมและเป็นคำสั้น ๆ จดจำได้ง่าย มาม่าไม่เพียงโด่งดังในไทย แต่ยังดังไกลถึงตลาดต่างประเทศ รวมถึงประเทศต้นกำเนิดอย่างประเทศญี่ปุ่นด้วย โดยรสชาติที่เป็นที่นิยมก็คงไม่พ้นต้มยำกุ้งนั่นเอง ทั้งนี้ ในปี 1994 นิสชินก็ได้ทำการผลิตและเปิดสาขาในประเทศไทยภายใต้ชื่อ บริษัท นิสชิน ฟูดส์ (ไทยแลนด์) จำกัด แต่ก็ไม่สามารถเจาะตลาดมาม่าในประเทศไทยได้
อับดับที่ 5 ชื่อของมาม่า
มาม่า เป็นแบรนด์ที่ก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือกันระหว่าง บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) และ บริษัทยูนิ-เพรสซิเดนท์จากประเทศไต้หวันที่เข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งที่มาของชื่อ “มาม่า” ก็มาจากการที่ทางแบรนด์ต้องการใช้แทนคำว่า “แม่” เพราะว่าเมื่อไหร่ที่รู้สึกหิว คนแรกที่จะวิ่งไปหาก็คือแม่ของเรา บวกกับการที่มาม่ามีรสชาติให้เลือกหลากหลายจึงเปรียบเสมือนเมนูต่าง ๆ ที่แม่ทำให้เราทานนั่นเองค่ะ
อับดับที่ 4 การรับรู้ของผู้บริโภค
การที่ปัจุบันมาม่ามีคู่แข่งหลายยี่ห้อ เจ้าของบริษัทจึงมักจะหาลักษณะที่แตกต่างออกกันไปมาแข่งขันกัน ไม่ว่ารสชาติ โลโก้ ลักษณะเส้น หรือการออกแบบซองมาม่านั่งเอง
อับดับที่ 3 รสชาติ
ปัจจุบันเห็นมาม่าก็ยังตีตลาดแตกไม่เคยตก แม้จะมีหลายคนบอกว่ากินพวกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพวกนี้ไม่ได้ประโยชน์ แต่ก็ยังกินกัน เหอๆๆ
เพราะมันหาง่าย ขายคล่อง ทำกินสะดวก และมีหลายรสชาติให้เลือกไง แล้วรู้หรือเปล่าว่าปัจจุบัน มาม่า ทีเรากินน่ะ มีกี่รสชาติ ?...
- มาม่าเส้นเหลือง : ผลิตออกมาทั้งหมด 25 รสชาติ และในปัจจุบันขายอยู่ 13 รสชาติ
- มาม่าคัพ : ผลิตออกมาทั้งหมด 21 รสชาติ และในปัจจุบันขายอยู่ 13 รสชาติ
- มาม่าเส้นขาว : ผลิตออกมาทั้งหมด 22 รสชาติ และในปัจจุบันขายอยู่ 13 รสชาติ
อับดับที่ 2 กลยุทธ์ในยุคบุกเบิก
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเริ่มเป็นที่รู้จักของคนไทย ในฐานะอาหารรูปแบบใหม่เก็บได้หาซื้อง่ายราคาไม่แพง ครั้งแรกราวปี 2514 โดยยี่ห้อแรกคือ "ซันวา" ซึ่งมีต้นแบบมาจากบะหมี่ญี่ปุนที่โด่งดังในขณะนั้นที่มีจุดขายคือ "ฉีกซองแล้วต้มก็รับประทานได้" ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมทางอาหารของบะหมี่ของไต้หวันในลักษณะ "ฉีกซองแล้วชงด้วยน้ำร้อน 3 นาทีก่อนรับประทาน" ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมทางอาหารของบะหมี่ของไต้หวันในลักษณะ "ฉีกซองแล้วชงด้วยน้ำร้อน 3 นาทีก่อนรับประทาน" ก็ทำให้บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร จำกัด เริ่มผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดนี้ขึ้นเป็นรายแรกของไทยเมื่อปี 2514 เช่นกันภายใต้ยี่ห้อ "ยำยำ" ก่อนที่จะเข้าร่วมทุนกับกลุ่มบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ ของญี่ปุ่นในปีถัดมา
วามคึกคักของตลาดนี้ดึงดูดผู้เล่นรายใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ "ไวไว" ของบริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด วางขายเมื่อปี 2515 ตามมาด้วย "มาม่า" ที่ผลิตโดยบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) และจัดจำหน่ายโดยบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ในปี 2516
แม้มาทีหลัง แต่มาม่ากลับสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วจนทำให้แบรนด์นี้ กลายเป็นคำติดปาก เป็นชื่อทั่วไป (generic name) แทนการเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปแล้วจนถึงปัจจุบันนี้
"การที่มาม่าได้นำเสนอความอร่อยในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประสบการณ์ความอร่อยที่ติดตรึงอยู่ในใจของลูกค้าและยึดโยงเข้ากับองค์ประกอบของแบรนด์มาม่า คือสิ่งที่ทำให้มาม่าแตกต่างจากคนอื่น"
อับดับที่ 1 รายได้ของมาม่า
บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFMAMA แจ้งผลการดำเนินงานปี 2565 ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯว่า บริษัทมีรายได้รวม 27,429.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,018.88 ล้านบาท หรือ 7.95% มีรายได้จากการขายรวม 26,481.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,024.69 ล้านบาท เติบโต 8.28%