ประเทศไทยช่วยเพื่อนอย่างไงให้พัง ในสงครามเวียดนาม!!
การทุบตีกันครั้งนี้เกิดจากทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ปี ค.ศ.1965 เมื่อพี่สหรัฐฯ ทิ้งระเบิดใส่พี่เวียดนามเหนืออย่างต่อเนื่องและทุกวัน
สหรัฐฯ อยากซัดหน้าพี่เวียดนาม เนื่องจากนโยบายสกัดกั้นการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในเอเชีย ก็ไอรักประชาธิปไตยอะยูไม่เข้าใจ!! ความมุ่งมั่นของเฮียอเมริกาที่จะตบกับคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม เพราะเห็นว่าถ้าเฮียแกไม่รบในเวียดนาม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดจะตกอยู่ใต้อิทธิพลจีนซึ่งหมายถึงว่าเอเชียทั้งหมดจะพ่ายแก่คอมมิวนิสต์ด้วย ซึ่งมันไม่ใช่ไง ประเทศต้องเป็นของประชาชน ไอยอมไม่ได้!!
เฮียแกเลยบวกเวียดนาม แต่ทว่าพี่เวียดนามก็ได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและโดยเฉพาะจากจีน ก็ใช่สิ ฉันเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของเวียดนามนิ แต่เอ้ออ..พี่แกก็มีสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือผลประโยชน์ด้านความมั่นคง เพราะพี่แกต้องการให้พรมแดนจีน - เวียดนาม มีความปลอดภัย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่จีนต้องการขจัดอิทธิพลสหรัฐจากเอเชีย
ซึ่งเรื่องนี้เมื่อเฮียสยามรู้ก็ไม่อยู่เฉย พี่ไทยประกาศสนับสนุนสหรัฐ ฯ สู้ ๆ นะเราสนับสนุนเธออีกแล้วนะ ไม่ว่าเธอจะมีแปดล้านสงคราม แถมพี่ผู้นำรัฐบาลทหารไทยยังเชื่อด้วยว่าเวียดนามเหนือต้องการขยายอิทธิพลคอมมิวนิสต์เข้ามาไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากจีน ในกลางทศวรรษ 1950 ภัยคุกคามจากเวียดนามเหนือที่ผู้นำทหารมักอ้างถึง คือการรุกเข้าไปในดินแดนลาวของกองกำลังคอมมิวนิสต์เวียดนามและการเผยแพร่อิทธิพลคอมมิวนิสต์ในหมู่ชาวเวียดนามในภาคอีสาน เหตุผลอื่นที่สำคัญเท่าเทียมกัน คือ ผู้นำทหารไทยคาดหวังความช่วยเหลือด้านการทหารและอื่น ๆ จากสหรัฐ
กาตบตีระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามกับเวียดนามใต้ที่มีสหรัฐเป็นผู้สนับสนุนได้ถึงจุดเปลี่ยนสำคัญหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ที่สหรัฐกล่าวหาว่าเรือตอร์ปิโดของเวียดนามเหนือยิงเรือรบอเมริกัน นี่เอ็งกล้ายิงเรือข้ารึเวียดนามเหนือ เดี๋ยวเอ๋งเจอระเบิดข้า และเฮียแกก็ทิ้งระเบิดต่อเนื่อง พร้อมกันนั้น พี่สหรัฐก็ส่งทหารมาภาคใต้เพื่อทำลายกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์ ทหารเหล่านี้มีจำนวนมากกว่าครึ่งล้านคน การส่งทหารอเมริกันมารบในเวียดนาม ทำให้สหรัฐเห็นคุณค่าทางยุทธศาสตร์ของไทย
พี่ไทยได้รับบทบาทการเป็นผู้ให้บริการสหรัฐใน 3 ด้าน คือ การให้ที่ตั้งฐานทัพ, ที่ตั้งอุปกรณ์สืบราชการลับ และศูนย์พักผ่อนและพักฟื้นของทหารอเมริกัน จำนวนทหารอเมริกันภาคพื้นดินสูงสุดในปี 1968 คือ 11,494 คน และทหารอากาศสูงสุดในปี 1969 คือ 33,500 จำนวนเครื่องบินอเมริกันในปี 1969 มีประมาณ 600 เครื่อง สหรัฐได้สิทธิใช้ฐานทัพในไทย 7 แห่ง คือ ดอนเมือง โคราช นครพนม ตาคลี อุบลราชธานี และอุดรธานี มีการประมาณการว่าโดยรวมแล้วประมาณ 80% ของการทิ้งระเบิดของสหรัฐในเวียดนามไปจากฐานทัพในไทย รัฐบาลไทยยังส่งทหารร่วมรบกับสหรัฐในเวียดนามด้วยซึ่งเริ่มจากจำนวน 2,207 คน ใน ค.ศ. 1967 และสูงสุดในต้นปี 1969 คือมากกว่า 11,000 คน
เมื่อสงครามเวียดนามยุติตามข้อตกลงปารีสในปี 1973 และสหรัฐถอนทหารจากไทยในเวลาต่อมานั้น ประเทศไทยได้รับผลสะเทือนมากที่สุด ทั้งเพราะได้ร่วมในสงครามและได้ผูกพันความมั่นคงของประเทศไว้กับสหรัฐมายาวนาน และเหนืออื่นใดคือความโกรธแค้นเกลียดชังไทยของชาวอินโดจีน 3 ประเทศ ชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในดุลอำนาจด้านภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย รัฐบาลพลเรือนในยุคหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 1973 จึงต้องเผชิญกับภาวะยากลำบากยิ่งในการปรับตัวให้อยู่กับประเทศเพื่อนบ้าน