ไม่น่าเชื่อ!! 6 ปลาน้ำจืด ที่สวยและแปลก มีอยู่ในธรรมชาติของไทย
เมื่อกล่าวถึงปลา มีหลากหลายสายพันธุ์ที่ถือกำเนิดเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเกิดจากวิธีเพาะพันธุ์จากพันธุกรรมฝีมือของมนุษย์ มีทั้งปลาที่เป็นนักล่าและผู้ถูกล่าหรือเหยื่อ มีทั้งแบบใช้เนื้อรับประทานได้ และไม่รับประทานไม่ได้ หรือแม้กระทั่งเลี้ยงเพื่อความสวยงาม เป็นต้น
จะมีใครทราบกันบ้างหรือไม่??? นอกจากปลาที่มีลักษณะสวยงามและมีรผุปร่างหน้าตาแปลก ที่เราเห็นกันตามสารคดีของต่างประเทศ และส่วนใหญ่แลากน้าตาแปลกๆเหล่านั้นก็ถูกค้นพบในมหาสมุทรที่มีความลึกมากๆนั่นเอง
แต่ในประเทศไทยของเราก็ถูกค้นพบปลาที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงามและมีความแปลกมากที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องไปถ่ายทำในทะเลมหาสมุทรที่มีความลึกน่าพิศวงแต่อย่างใด และสามารถพบเจอได้ในแหล่งน้ำจืดของประเทศไทยของเราเอง จะมีปลาอะไรกันบ้าง เราไปชมพร้อมกันเลยดีกว่าจ้า
1. ปลาหว้าหน้านอ (Bangana behri)
ปลาหว้าหน้านอ เป็นปลาน้ำจืดที่มีหน้าตาแปลกมากชนิดหนึ่ง เพราะปลาชนิดนี้หน้าตาจะมีลักษณะไม่เหมือนเดิมเมื่อโตเต็มวัย โดยเฉพาะปลาเพศผู้ที่มีโหนกและตุ่มคล้ายเม็ดสิวที่มีความโดดเด่นมาก
ในขณะที่ยังเป็นปลาตัวน้อยจะไม่มีโหนก หรือมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ลำตัวจะเรียวยาวคล้ายปลานวลจันทร์ แต่เมื่อเริ่มโตขึ้นจนถึงตัวเต็มวัย จะค่อยๆมีลำตัวสั้นป้อมคล้ายปลายี่สกเทศน์ พบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำโขง จัดได้ว่าเป็นปลาเนื้อดี แต่ก็กลุ่มคนนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นกัน
2. ปลาช่อนเข็ม (Luciocephalus pilcher)
ปลาช่อนเข็ม ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับปลาช่อนเลยสักนิด เพียงแต่มีหน้าตาคล้ายปลาช่อนจึงได้ชื่อนี้มา ปลาช่อนเข็มมีหัวและจงอยปากที่แหลมและยื่น ตาโต เกล็ดใหญ่ จงอยปากล่างยาวกว่าด้านบน ลำตัวสีน้ำตาลไหม้ มีความยาวได้ถึง 15 cm. ชอบหากินบริเวณผิวน้ำ อาหารของปลาช่อนเข็มจะเป็นพวกแมลงน้ำขนาดเล็กและสัตว์น้ำตัวเล็กๆ พบอาศัยตามธรรมชาติในป่าพรุโต๊ะแดง ทางภาคใต้ของประเทศไทย เรื่อยไปจนถึงแหลมมลายู ถือได้ว่าเป็นปลาเลี้ยงยาก เนื่อจากไม่กินเหยื่อที่ตายแล้ว และมีนิสัยดุร้าย
3. ปลากะแมะ (Chaca bankanensis)
ปลากะแมะ จะมีลักษณะคล้ายปลาตกเบ็ดที่พบอาศัยอยู่ในทะเล แต่ปลากะแมะนั้นสามารถพบได้ในป่าพรุโต๊ะแดง ทางภาคใต้ของไทยเท่านั้น ชอบอาศัยอยู่ตามท้องน้ำ หรือบนใบไม้ที่ร่วงลงสู่ท้องน้ำ มีลักษณะตัวแบน กรามและปากขนาดใหญ่ กว้าง เป็นศูนย์รวมแรงดึงดูดมหาศาล มี 2 หนวด ยาวประมาณ 20 cm. เป็นปลาที่เลี้ยงยากมากถ้าคิดจะนำมาเลี้ยง
4. ปลาจิ้มฟันจระเข้แคระ (Doryichthys martensii)
ปลาจิ้มฟันจระเข้แคระ หรือ ปลาจิ้มฟันจระเข้ลำธาร มีลักษณะหน้าตาคล้ายม้าน้ำ จึงถือได้ว่าเคราะห์ร้ายเนื่องจากถูกจับนำไปทำยาจีน ตามความเชื่อการปรุงยาของสูตรคนจีน เฉกเช่นเดียวกับม้าน้ำอีกด้วย
โดยมีลักษณะลำตัวเป็นปล้อง มีหางยาวกว่าลำตัวมาก มีสีน้ำตาลอมแดง มีจุดสีดำระหว่างปล้อง ครีบใส พบได้ในภาคตะวันออกและทางภาคใต้ของไทย
5. ปลาเข็มงวง (Hemirhamphodon pogonognathus)
ปลาเข็มงวง หรือปลาเข็มช้าง จัดอยู่ในวงศ์ปลาเข็ม ซึ่งปลาในวงศ์นี้จะไม่สามารถขยับปากบนได้ จะมีเพียงแค่ปากล่างที่ถ่างออกได้ บริเวณปากล่างจะมีติ่งหนังยาวห้อยลงมาคล้ายงวงช้าง จงอยปากล่างมีริ้วหนังเป็นสี ยาว 10 cm. พบอาศัยอยู่ในป่าพรุโต๊ะแดงทางภาคใต้ของไทยเท่านั้น
ชอบว่ายลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ และอาศัยเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ประมาณ 10-30 ตัว/กลุ่ม หากนำมาเลี้ยงสวยงาม สามารถเลี้ยงรวมกับปลาขนาดเล็กชนิดอื่นได้ เนื่องจากมีนิสัยไม่ดุร้าย
และลำดับสุดท้าย คือลำดับที่
6. ปลาหนวดพราหมณ์
ปลาหนวดพราหมณ์ เป็นปลาน้ำจืดและน้ำกร่อย จัดอยู่ในวงศ์ปลากุเลา ปลาหนวดพราหมณ์ มีประเภทแบบหนวด 7 เส้น และ 14 เส้น ซึ่งประเภทหนวด 7 เส้น จะอาศัยอยู่ในน้ำกร่อย ซึ่งที่มนุษย์เราเรียกว่าหนวดนั้น จริงๆแล้วนั่นคือ "ครีบ"
ปลาหนวดพราหมณ์จะอาศัยใช้ครีบในการช่วยคลำทางหาอาหาร เรื่องจากปลาชนิดนี้สายตาไม่ดี มีหัวและตาขนาดเล็ก ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กๆ พบอาศัยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำโขงตอนล่าง
ปลาหนวดพราหมณ์ ประเภทหนวด 7 เส้น อาศัยในน้ำกร่อย มีลำตัวแบน
ส่วน...
ปลาหนวดพราหมณ์ ประเภทหนวด 14 เส้น จะมีลักษณะคล้ายประเภทหนวด 7 เส้น แต่ตัวจะใหญ่กว่า มีหัวที่สั้นกว่า และสีพื้นลำตัวที่คล้ำกว่า และอาศัยอยู่ในน้ำจืด และประเภทมีหนวด 14 เส้น จัดได้ว่าเป็นปลาที่หายากมาก จึงมีราคาที่แสนแพง จนกระทั่งในปี 2005 กรมประมงของจังหวัดพิษณุโลก ได้ทำการเพาะพันธุ์ได้สำเร็จ ปัจจุบันจึงพบปลาหนวดพราหมณ์สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำกร่อยและน้ำจืดนั่นเอง
เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคน ปลาน้ำจืดของไทยเราก็มีความสวยและหน้าตาแปลกๆ ตั้งหลายชนิด ไม่แพ้ปลาหน้าตาแปลกๆจากท้องทะเลลึกกันเลยใช่มั้ยคะ หน้าตาแปลกและสวยยังไม่พอ สามารถอ่านพร้อมดูรูปประกอบตามกันเพลินได้ไม่รู้เบื่อ เหมือนเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ติดตาม
ปลาเหล่านี้สวยและแปลก ทำให้มีกลุ่มจับเพื่อนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ในทางที่ดีที่สุด ปลาเหล่านี้เกิดมาตามธรรมชาติ ผู้เขียนก็อยากให้มันอยู่ตามธรรมชาติคู่สายน้ำจืดของเมืองไทย เป็นมรดกของไทย ย่อมดีกว่าจับมาเลี้ยงกักขังมันไว้ เผลอๆอาจทำให้มันตายและเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ได้เนื่องจากการขาดการแพร่ขยายพันธุ์วิถีวงจรชีวิตของมัน มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์พวกมัน โดยไม่สนับสนุนจับพวกมันมาเลี้ยงในตู้กันนะคะ