ทางด่วนสายสำคัญที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย
สำหรับคนที่ต้องขับรถเป็นประจำในเขตเมืองอย่างกรุงเทพ
จะต้องคุ้นเคยกันดีกับคำว่า 'ทางด่วน' หรือทางพิเศษที่มีการเก็บเงิน
ที่ช่วยให้เราเดินทางได้เร็วขึ้นในบางเส้นทาง
'ทางด่วน'
เป็นถนนที่เก็บค่าผ่านทาง มีการควบคุมจุดเข้าออกของรถยนต์
แบ่งออกเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่กำกับดูแลโดยกรมทางหลวง
และทางพิเศษที่กำกับดูแลโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ดำเนินงานโดยบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ
ปัจจุบันทางด่วนที่เปิดใช้งานมีทั้งหมด 10 เส้นทาง เป็นทางพิเศษ 7 เส้นทาง
ทางหลวงพิเศษ 2 เส้นทาง นอกจากนี้ยังมี ทางยกระดับอุตราภิมุข
เป็นทางหลวงที่มีลักษณะเป็นทางด่วน โดยบางช่วง
เป็นทางหลวงแผ่นดิน บางช่วงเป็นทางหลวงสัมปทาน
รายชื่อทางด่วนที่ยาวที่สุดในประเทศไทยในปัจจุบัน
ถนนกาญจนาภิเษก (Thanon Kanchanaphisek)
หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
มีระยะทางส่วนใหญ่เป็นทางหลวงพิเศษหมายเลข 9
เป็นถนนสายสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวน
ล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี
สมุทรปราการ และบางส่วนของพระนครศรีอยุธยา
มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 181 กิโลเมตร
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร − บ้านฉาง
เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายแรกของประเทศไทย
มีระยะทางยาว 149.3 กิโลเมตร
ทางสายนี้เป็นโครงข่ายทางหลวงที่มีความสำคัญ
ในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งกับพื้นที่บริเวณชายฝั่ง
ของทะเลภาคตะวันออก แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดคับคั่ง
ในถนนสุขุมวิท และถนนเทพรัตน
ทางพิเศษเส้นนี้ก่อสร้างในปี 2537
และเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2541
ทางพิเศษบูรพาวิถี
หรือ ทางด่วน 4 เป็นทางพิเศษ
ที่ดำเนินการโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2541
และเปิดให้บริการตลอดสายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
มีจุดเริ่มต้นที่เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
สิ้นสุดที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ระยะทางทั้งสิ้น 55 กิโลเมตร