สถานที่แห่งแรกในประเทศไทยที่ได้เข้าถึงและใช้บริการอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet)
เป็นเครือข่ายทั่วโลกของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระหว่างกัน
ซึ่งช่วยให้สามารถแบ่งปันข้อมูล การสื่อสาร และการเข้าถึง
แหล่งข้อมูลออนไลน์ต่างๆ มันทำงานผ่านระบบที่ซับซ้อนของโปรโตคอล
การส่งข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกดูเว็บไซต์
ส่งอีเมล เข้าร่วมในโซเชียลมีเดีย สตรีมวิดีโอ และมีส่วนร่วม
ในกิจกรรมออนไลน์มากมาย อินเทอร์เน็ตได้ปฏิวัติวิธีที่ผู้คนสื่อสาร
เข้าถึงข้อมูล ดำเนินธุรกิจ และมีปฏิสัมพันธ์กับโลก
กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการศึกษา
ความบันเทิง การพาณิชย์ และการเชื่อมต่อในระดับโลก
ย้อนกลับไปเมื่อ 35 ปีที่แล้ว ประเทศไทยได้เข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต
เป็นครั้งแรก ในครั้งนั้นเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ
'มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์' เข้ากับ 'มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น'
ของประเทศออสเตรเลีย เพื่อทดสอบการ 'รับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
หรือ อีเมล' ระหว่างกัน โดยใช้การเชื่อมต่อกันผ่านระบบสายโทรศัพท์
'ถือเป็นครั้งแรกที่มีการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตขึ้นในประเทศไทย'
และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ถือเป็นสถานที่แรกของไทยที่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต
จนถึงปี 2535 ที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
หรือ NECTEC ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง
ได้แก่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สถาบันเทคโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกัน เรียกว่า 'เครือข่ายไทยสาร'
การเชื่อมต่อในครั้งนั้นสามารถทำความเร็วได้ 96 กิโลบิตต่อวินาที
เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
จนถึงปี พ.ศ. 2537 ที่ความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตมีเพิ่มมากขึ้น
จนทำให้ 'การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)' ได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน
เพื่อเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลผู้สนใจทั่วไป
ได้สมัครเป็นสมาชิกเป็นครั้งแรก จากนั้นได้มีการพัฒนาระบบ
เพิ่มความเร็ว ความมีสเถียรภาพ และขยายพื้นที่การให้บริการ
จนครอบคลุมไปทั่วประเทศในเวลาถัดมา