จรวดขนาดเล็กที่สุดที่สามารถขึ้นไปถึงวงโคจรโลกได้สำเร็จ
SS-520-5
เป็นหนึ่งในจรวดวงโคจรที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยมีการพัฒนามา
เป็นจรวดของญี่ปุ่น ซึ่งถูกนำมาใช้ใหม่สำหรับการปล่อยวัตถุขนาดเล็ก
ขึ้นสู่วงโคจรโลกระดับต่ำ SS-520-5 เป็นเวอร์ชันดัดแปลงของ SS-520
จรวด SS-520-5 มีชื่อเสียงในด้านขนาดที่กะทัดรัด และความพยายาม
ที่จะกลายเป็นจรวดที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร
ในเดือนมกราคม 2018 จรวด SS-520-5 ถูกส่งออกจากศูนย์อวกาศอูชิโนอุระ
ในญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งดาวเทียม CubeSat ขนาดเล็ก
ที่เรียกว่า TRICOM-1 ขึ้นสู่วงโคจร อย่างไรก็ตาม ภารกิจประสบปัญหา
ในระหว่างการปล่อยจรวดและไม่ประสบผลสำเร็จในการบรรลุวงโคจร
ก่อนจะมีการส่งจรวดขึ้นวงโคจรสำเร็จ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2018
และได้กลายเป็นจรวดลำเล็กที่สุดของโลก ที่ได้ขึ้นสู่วงโคจร
จรวด SS-520-5 มีความสูงประมาณ 9.5 เมตร (31 ฟุต)
มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 52 เซนติเมตร (20.5 นิ้ว)
จรวดลำนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงแข็งขั้นที่ 1 และเชื้อเพลิงเหลวขั้นที่ 2
จรวดมีน้ำหนักรวม 2,600 กิโลกรัม (ไม่รวมเชื้อเพลิง) มีระยะการเผาไหม้ 29 วินาที
สามารถเดินทางได้ไกลที่สุดที่ประมาณ 430 กิโลเมตร
ปัจจุบัน SS-520-5 ได้รับการบันทึกในสถิติโลกของ guinness
เป็นจรวดขนาดเล็กที่สุดที่สามารถเดินทางขึ้นสู่วงโคจรของโลกได้สำเร็จ