เรื่องของมดที่เรายังไม่รู้
มีใครสงสัยกันไหมค่ะว่ามดเพศผู้หรือเมียดูยังไง
แล้วทำไมมดถึงชอบอยู่กันเป็นกลุ่มๆแบกอาหารช่วยกันมันทำให้เราสงสัย
จนถึงขั้นไปสังเกตุการใช้ชีวิตของมดกันเลยที่เดียว
ความรู้เกี่ยวกับมด
มดซึ่งเรามักจะพบพวกมันในเขตร้อน และมดจะมีการสร้างรังเป้นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีประชากรมดเป็นล้านตัวเลยก็ว่าได้ จากการไปเฝ้ามองและโดนมันกัด และพวกมันยังมีการแบ่งวรรณะหน้าที่กันอีกด้วยเคยไปหาศึกษาข้อมูลในยูทูปมา
วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียที่เป็นหมัน พวกมันจะทำหน้าที่หาอาหาร และ ซ่อมแซ่มรัง
ปกป้องรังจากศัตรูและยังดูแลตัวอ่อนและงานอื่นๆทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด
วรรณะสืบพันธุ์ จะเป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวง Formicidae
จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้
วรรณะของมดประกอบด้วย
1. มดงาน เป็นมดเพศเมียที่เป็นหมันพวกมันถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มตามขนาด ตัวใหญ่จะทำหน้าที่เป็นมดทหารต่อสู้ปกป้องรังขนาดเล็ก ส่วนของมดงานนั้น จะทำหน้าที่หาอาหารเลียงพลรัง ก่อสร้างรังและมดงานมีอายุยืนยาว 4-7 ปี
2. มดตัวผู้ จะเป็นมดที่มีปีก มีขนาดที่ใหญ่มีกล้ามเนื้อปีกที่บริเวณอกใหญ่ มันมีหน้าที่แค่ สืบพันธุ์เท่านั้น และหลังจากที่มันสืบพันธุ์แล้วจะตายลงไปภายใน 1-2 วันส่วนใหญ่จะถูกฆ่าทิ้งหรือปล่อยให้อดอาหารเนื่องจากหมดประโยชน์ในรังแล้วรังสืบพันธุ์ จะว่าไปแล้วน่าสงสารเหมือนกันนะเนี้ย
3.มดตัวเมีย มีขนาดใหญ่ที่สุดในรัง มีปีก มีหน้าที่แค่ออกไข่และเพิ่มประชากรมดเพียงอย่างเดียว ตัวอ่อนของมดจะคล้ายหนอยไม่มีขาตัวเล็กซึ่งจะพัฒนาเป็นมดงาน นางพญามดจะมีอายุอยู่ได้นาน 1-2 ปี จนถึง 12-15 ปีในรังมดรังหนึ่งจะมีพญามดได้มากกว่า1ตัว การดำรงชีวิตของพวกมัน มดจะกินอาหารทุกชนิด หวาน ไขมัน พืชผัก และเนื้อสัตว์ทุกชนิด มดบางชนิดมีวิวัฒนาการสูงสามารถดูดน้ำหวานจากต่อมน้ำหวานของพืชแล้วสะสมน้ำหวานไว้เป็นของมัน
มีใครสงสัยกันไหมค่ะว่ามดมันสือสารกันยังไง
มดจะมีการติดต่อสือสารกันโดยการปล่อยสารฟีโรโมนที่มดตัวอื่นจะสามารถติดต่อสือสารได้
โดยอาศัยหนวดและขาคู่หน้า ฟีโรโมนมีหลายชนิด
1.ฟีโรโมนนำทาง โดยที่มดจะปล่อยไว้ตามทางที่พวกมันเดินเพื่อให้สมาชิกมดเดินไปตามแหล่งอาหารได้ถูกต้อง และเมื่อพบอาหารเยอะๆ มดจะช่วยกันปล่อยฟีโรโมนจะทำให้มดจำนวนมากกรูมาที่อาหารอย่างรวดเร็วเพื่อนำกลับไปเลี้ยงสมาชิกตัวอื่นๆในรัง
2.ฟีโรโมนเตือนภัย ฟีโรโมนตัวนี้จะปล่อยออกมาในปริมาณที่น้อยๆ จะใช้ในการสื่อสารในการเตือนภัย แต่ถ้าปล่อยออกมาในปริมาณมากๆจะสามารถควบคุมพฤติกรรมบางอย่างขอมด เช่น ให้เข้าโจมตีศัตรู ไม่น่าละแค่ฉันเดินผ่านพวกแกก็กัดฉันแล้ว หรือขุดรูเพื่อหลบภัยและฟีโรโมนชนิดนี้ไม่จำเพาะเจาะจงกับชนิดของมดเหมือนโฟโรโมนนำทาง
3.ฟีโรโมนอื่นๆ มดจะปล่อยออกมาในเหตุการณ์ต่างๆ เช่น มดตัวอ่อนสามารถปล่อยฟีโรโมนกระตุ้นให้มดงานป้อนอาหารเมื่อมันรู้สึกหิว
พฤติกรรมการใช้เสียง
มีบางรายงานมดบางชนิดสามารถติดต่อสือสารกันได้โดยใ้เสียงเพื่อเป็นการเตือนภัยเรียกสมาชิกตัวอื่นๆ
ให้มาอยู่รวมกันเมื่อพบศัตรู หรือเรียกว่าช่วยกันเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น ไม่น่าละดตัวแรกกัดตัวสองตัวสามมารุมกัดต่อมันเป็นแบบนี้เองสินะ
ภายในครอบครัวของมด
ประกอบด้วยแม่รัง และลูกมด ประกอบด้วยมดงาน ซึ่งเป็นเพศเมียและเป็นหมัน
ในบางช่างอาจจะพบตัวผู้มีปีก และเพศเมียมีปีด มดเหล่านี้ ทำหน้าที่สืบพันธุ์ สร้างครอบครัวใหม่ และภายในครอบครัวของมดจะมีจำนวนประชากรที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยตัวไปจนถึงล้านๆตัว ขึ้นอยู่กับมดแต่ละชนิดและอายุของแม่รัง
มด
มดเป็นแมลงที่มีถิ่นอาศัยด้วยกันอยู่สองแบบ
แบบแรก อาศัยอยู่ใต้ดิน ตามพื้นดิน ใต้ใบไม้ ใต้ก้อนหิน ใต้ขอนไม้ หรือตามที่สูงๆ และตามอาหรบ้านเรือน
แบบที่สองนั้นมดจะอาศัยอยู่บนต้นไม่โดยทำรังเอาใบไม้ที่อยู่บนต้นมาสานเป็นรังและอาศยอยู่ในนั้น
วันนี้ก็จบแล้วค่ะเรื่องของมด ขอบคุณที่ให้ความสนใจและเข้ามาอ่านกัน ขอบคุณมากค่ะ