อนุสรณ์สถานภูมิทัศน์แห่งความทรงจำเหล่าวีรชนผู้กล้า
ประวิติศาสตร์
อนุสาวรีย์ชียสมรภูมิ แรงบันดาลใจจากพระปรางค์วัดอรุณฯที่ระลึกถึงวีรชนผู้กล้าหาญ
ผู้เขียน บัณฑิต จุลาสัย, รัชดา โชติพานิช/หน่วยปฎิบัติการวิจัยแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
เผยแพร่ วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ 2565
หากหาทางกลับบ้านไม่ถูก ให้ดูรูปปั้นทหารที่อุ้มลูกระเบิดในมือ จะไปทางดินแดง ถ้ารูปปั้นทหารมือซ้ายถือสมุดทางนั้นจะหันไปทางปทุมวันและสยามสแควร์วัน หากรูปปั้นทหารจับลูกระเบิดวางชี้ลงบนพื้นนั้นคือไปทางถนนราชวิถี สวนดุสิต ส่วนรูปปั้นทหารถือปืนยาวชี้ขึ้นฟ้า จะเป็นทางไปดอนเมือง
รูปปั้นดังกล่าวเป็นตัวแทนวีรชนของสงคราม
สงคารอินโดจีนฝรั่งเศษ พ.ศ 2483-2484 หล่อด้วยทองแดงความสูงเท่าคนจริง
รูปปั้นทหารบก แสดงท่าถือปืนพร้อมรบชี้ดาบปลายปืนขึ้นฟ้า เป็นผลงานของ นายแช่ม แดงชมพู โดยอาศัยนาย พิมาน มูลประมุก เป็นแบบ
รูปปั้นทหารเรือ มือซ้ายประครองลูกปืนใหญ่ มือขาวเตียมบรรจุลูกปืนลงในรังเพลิงท้ายลูกปืน เป็นผลงานของ นายสิทธิเดช แสงหิรัญ โดยมี เรือเอก สิงห์ นาคมี ผู้ปฎิบัติหน้าที่ในเหตุการณ์ยุทธนาวี เกาะช้าง ตำแหน่งพลบรรจุลูกปืนป้อมปืนหัว ประจำ ร.ล รัตนโกสินทร์ เป็นแบบ
รูปปั้นทหารอากาศ มือจับลูกระเบิด สีหน้าสงบ เป็นผลงานของ นายพิมาน มูลหิรัญ โดยนายแสวง สงฆ์มั่งมี เป็นแบบ
รูปปั้นตำรวจ ที่ยืนถือปืนในลักษณะพร้อมใช้ สายตามองไปข้างหน้าเป็นผลงานของ นายพิาน มูลประมุข
รูปปั้นพลเรือน ที่มือซ้ายถือหนังสือ สายตาสงบนิ่ง เป็นผลงานของนายอนุจิตร แสงเดือน
วัสดุที่ใช้ในการปั้นหล่อ ได้แก่ทองแดงและทองเหลือง โดยกรมอู่ทหารเรือ สนับสนุนทองเหลืองจำนวน 9,981 Kg กรมโรงงานทหารอากาศสนับสนุนทองแดง3,850 Kg กรมยกกระบัตรทหารบกสนับสนุนทองแดง 416 Kg ทองเหลือง 115 Kg รวมแล้วประมาณ 14,363 Kg ถลุงแล้วได้เนื้อทองผสม จำนวน 10,666 Kg โดยรูปปั้นทหารบกใช้ 2,200 Kg ทหารเรือ 1,950 Kg ทหารอากาศ 1,900 Kg ตำรวจ 2,00 kg พลเรือน 1,500 Kg วัสดุที่เหลือนั้นมอบให้กรมศิลปากร
การก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ก่อสร้างโดยสำนักงาน พล.ต.ม.ร.ว.ชิต กำภูและบริษัทวิศวกรรมไทยจำกัด ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร กองการโยธา เทศบาลกรุงเทพมหานคร มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเป็นเงิน 550,000 บาท ด้วยวัสดุที่มีอยู่ในประเทศทั้งสิ้น
โมเดิลต้นแบบ
ผู้ออกแบบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ คือ ม.ลปุ่ม มาลากุลสถาปนิกรมโยธาเทศบาล
ม.ลปุ่ม มาลากุลสถาปนิก
ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
ซึ่งเป็นวันทหารผ่านศึกจะมีวิธีการวางพวงมาลา ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อคาราวะดวงวิญาณ และเชิดชูเกียรติวีรชน รวมทั้งเปิดให้ทายนทผู้เสียชีวิตเข้าไปสักการะ
เหล่าวีรชนผู้กล้าหาญ ยอมสระชีพเพื่อพิทักษ์รักษาอธิปไตยของชาติไทย
สละเลือดทุกหยาด เป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทย ทวีมีชัย ชโย