เขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
เขื่อนเจ้าพระยา
(Chao Phraya Dam)
เป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแม่น้ำเจ้าพระยา
บริเวณคุ้งบางกระเบียน อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
เขื่อนเจ้าพระยาเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความยาว 237.50 เมตร
สูง 16.5 เมตร ติดตั้งบานประตูเหล็กรูปโค้งสูง 7.50 เมตร
มีช่องระบายให้น้ำไหลผ่านขนาดกว้าง 12.50 เมตร จำนวน 16 ช่อง
ประตูน้ำสำหรับเรือสัญจรติดกับเขื่อนด้านขวากว้าง 14 เมตร ยาว 170.50 เมตร
เรือขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าออกได้ บนสันเขื่อนมีสะพานกว้าง 7 เมตร
รับรถน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 20 ตัน และมีทางระบายน้ำล้นฉุกเฉิน
สร้างบนคันกั้นน้ำซ้ายมือเหนือเขื่อนเจ้าพระยา กว้าง 10 เมตร ยาว 1,000 เมตร
เพื่อช่วยระบายน้ำเมื่อเกิดอุทกภัย อัตราการระบายน้ำผ่านเขื่อน
สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 3,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
แผนโครงการก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
แต่เนื่องจากประเทศไทยในสมัยนั้นยังประสบกับปัญหาในนหลายด้าน
โครงการสร้างเชื่อเจ้าพระยาจึงถูกเลื่อนออกไปหลายครั้ง
ก่อนจะได้เริ่มการก่อสร้างจริงในปี พ.ศ. 2495 แล้วเสร็จและเปิดจริง
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เขื่อนเจ้าพระยาใช้งบประมาณในการก่อสร้าง
เป็นเงินประมาณ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งได้มาจากการกู้ยืมจากธนาคารโลก
โดยเขื่อนเจ้าพระยา ถือเป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่
ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และถูกใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
ทั้งในเชิงของการควบคุมน้ำเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร การประมง
และการท่องเที่ยว ถือเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยนาท