โรงพิมพ์ที่ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกสุดในประเทศไทย
โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ
เป็นอดีตโรงพิมพ์ในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2438
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถือกันว่าเป็นเป็นโรงพิมพ์แห่งแรกของประเทศไทย
โรงพิมพ์ก่อตั้งขึ้นโดย หลวงดำรงธรรมสาร (มี ธรรมาชีวะ)
ปลัดกรมอัยการ ก่อนที่จะออกจากราชการ มาทำธุรกิจโรงพิมพ์เต็มตัว
อาคารโรงพิมพ์ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2438 ตั้งอยู่บนถนนบำรุงเมือง
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อาคารโรงพิมพ์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน
มีความสูงสองชั้น หลังคาทรงปั้นหยา ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรม
แบบผสมผสานสถาปัตยกรรมคลาสสิกและสถาปัตยกรรมวิกตอเรีย
ตกแต่งด้วยไม้และปูนเป็นลวดลายเหนือหน้าต่างและประตู
ปัจจุบันอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่ปิดที่ล้อมรอบด้วยอาคารพาณิชย์อื่น
โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจในปัจจุบัน ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน
ของกรมศิลปากร ในชื่อ "อาคารบำรุงนุกูลกิจ" นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542
ปัจจุบันอาคารอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทรัจนากรพร็อบเพอร์ตี้
และใช้งานเป็นโกดังของร้านสังฆภัณฑ์และพระพุทธรูปในพื้นที่
โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจเป็นธุรกิจรับพิมพ์หนังสือแบบเรียน
หนังสือธรรมะ หนังสือที่ระลึกงานศพ และหนังสือราชการ
รวมถึงราชกิจจานุเบกษาซึ่งเคยตีพิมพ์อยู่จนถึงปี พ.ศ 2504
หลังรัฐบาลได้จัดตั้งสำนักพิมพ์ของราชการขึ้นเอง โรงพิมพ์ดำเนินการ
โดยลูกหลานของผู้ก่อตั้งจนถึงรุ่นที่สี่ ก่อนจะปิดตัวลงไปเมื่อราว พ.ศ. 2530