จังหวัดที่มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ น้อยที่สุดในประเทศไทย
จังหวัดที่มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ
น้อยที่สุดในประเทศไทย ในปี 2564
* ที่มา : โครงการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
จังหวัดสมุทรสาคร
สัดส่วนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 10.1
(จำนวนผู้สูงอายุ รวม 102,220 คน
จากประชากรทั้งหมด 1,015,249 คน)
เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุน้อยที่สุด
ของภาคกลางและของไทย
จังหวัดภูเก็ต
สัดส่วนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 11.2
(จำนวนผู้สูงอายุ รวม 60,741 คน
จากประชากรทั้งหมด 543,492 คน)
เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุน้อยที่สุดของภาคใต้
จังหวัดระนอง
สัดส่วนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 11.7
(จำนวนผู้สูงอายุ รวม 30,336 คน
จากประชากรทั้งหมด 260,190 คน)
จังหวัดระยอง
สัดส่วนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 12.5
(จำนวนผู้สูงอายุ รวม 117,611 คน
จากประชากรทั้งหมด 939,740 คน)
เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุน้อยที่สุดของภาคตะวันออก
จังหวัดชลบุรี
สัดส่วนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 12.5
(จำนวนผู้สูงอายุ รวม 218,071 คน
จากประชากรทั้งหมด 1,746,546 คน)
จังหวัดกระบี่
สัดส่วนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 13.7
(จำนวนผู้สูงอายุ รวม 51,920 คน
จากประชากรทั้งหมด 379,611 คน)
จังหวัดยะลา
สัดส่วนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 13.7
(จำนวนผู้สูงอายุ รวม 62,244 คน
จากประชากรทั้งหมด 453,337 คน)
ในปี 2564 ประเทศไทยมีอยู่ 12 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร)
ที่มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุน้อยกว่าร้อยละ 15 ของประชากรในจังหวัด
ในจำนวนนี้ เป็นจังหวัดจากภาคใต้ 6 จังหวัด ในขณะที่ภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่มีจังหวัดที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุต่ำกว่าร้อยละ 15