กําแพงเบอร์ลิน ม่านเหล็กสัญลักษณ์ของสงครามเย็น
ในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 กองกำลังทหารที่เยอรมนีตะวันออกได้ปิดประตูพรมแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างเบอร์ลินทะวันออกและตะวันตก เส้นทางนี้มีความสำคัญในการหลบหนีของผู้อพยพนับพันคนที่ต้องการข้ามไปยังฝั่งตะวันตกของเมือง การปิดประตูพรมแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีผลกระทบในช่วงที่เยอรมนีแยกระหว่างฝั่งตะวันตกและตะวันออก
รั้วลวดหนามสูงราว 1.83 เมตร ถูกสร้างขึ้นเพียงข้ามคืน ขณะที่ชาวเบอร์ลินกำลังหลับ ก่อนจะตื่นมาพบว่าเมืองของพวกเขาได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นสองฝั่ง
รอบรถไฟที่วิ่งระหว่าง 2 ฟากของเมืองถูกระงับบริการ เช่นเดียวกับการจราจรบนท้องถนนที่ข้ามผ่านเส้นเขตแดนนี้ ผู้ประท้วงหลายพันคนรวมตัวกันทางทิศตะวันตกของเขตกั้นใหม่นี้ และพยายามพังรั้วลวดหนาม ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่ซึ่งมีดาบปลายปืนเป็นอาวุธต้อนให้ถอยกลับไป ขณะที่หลายประเทศได้ออกมาคัดค้านการสร้างกำแพงนี้
ตลอดช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านั้น มีผู้อพยพออกจากเยอรมนีตะวันออกกว่า 1 หมื่นคน ทำให้รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกมาตรการหยุดยั้งการไหลออกของประชากร
หลังเหตุการณ์ดังกล่าว คอนราด อาเดนาวร์ นายกรัฐมนตรีคนแรกของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) ออกมาเรียกร้องความสงบ"ณ ตอนนี้ เช่นเดียวกับที่เป็นมาเสมอ เรายังคงมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับชาวเยอรมันที่อยู่ในพื้นที่ของรัสเซียและเบอร์ลินตะวันออก" อาเดนาวร์กล่าว "พวกเขาเป็นและจะยังคงเป็นพี่น้องชาวเยอรมันของเรา รัฐบาลส่วนกลางยังคงยึดมั่นในเป้าหมายที่จะให้เยอรมนีเป็นหนึ่งเดียวกัน"
กำแพงเบอร์ลิน เป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่แสดงถึงระหว่างการต่อสู้ในสงครามเย็น เกิดขึ้นเพื่อแยกแยะระหว่างเยอรมนีตะวันออกภายใต้ความควบคุมของสหภาพโซเวียตและเยอรมนีตะวันตกที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศตะวันตกที่มีสหรัฐฯ เป็นผู้นำอยู่ในขณะนั้น สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการหลบหนีของชาวเยอรมันที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก ไม่ให้พวกเขาเข้ามีส่วนร่วมกับฝั่งตะวันตก
นับตั้งแต่กำแพงเบอร์ลินปิดล้อมเยอรมันตะวันตกเป็นระยะเวลา 28 ปี มีผู้ที่พยายามลักลอบเข้าสู่ท้องถิ่นนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่าการปิดกั้นนี้ได้ยุติลงในปี 1989 แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นกลับยังคงปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์เป็นที่ยังอยู่ โดยประมาณ 200 คนเสียชีวิตขณะพยายามข้ามกำแพงนี้ และอีกประมาณ 200 คนได้รับบาดเจ็บ
ท้ายที่สุด ส่วนที่เป็นคอนกรีตของกำแพงเบอร์ลิน มีความสูงเกือบ 3.6 เมตร และยาว 106 กม. รวมถึงหอคอยตรวจตากว่า 300 จุด ขณะที่ยังมีกำแพงส่วนที่เป็นรั้วลวดหนามอีกยาว 66.5 กม.
หลังจาก "ม่านเหล็ก"(Iron Curtain) เส้นแบ่งพรมแดนในทวีปยุโรปที่แบ่งเป็นสองส่วนและเป็นสัญลักษณ์ของความขัดแย้งทางอุดมการณ์เริ่มล่มสลาย ในปี 1989 ประชาชนในเยอรมนีตะวันออกหลายแสนคน ได้หลบหนีออกจากประเทศผ่านทางฮังการี และออสเตรีย
วันที่ 7 พ.ย. 1989 รัฐบาลคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนีตะวันออกประกาศยุติบทบาทของตนเอง และอีก 2 วันต่อมา ชาวเบอร์ลินจำนวนมากได้ออกมาร่วมกันพังกำแพงเบอร์ลินลง ในปีต่อมา เยอรมนีตะวันออกและตะวันตกจึงกลับมารวมเป็นชาติเดียวกันอีกครั้ง ก่อนที่คดีทางกฎหมายของเอริค โฮเน็กเกอร์ และเอกอน เครนซ์ ผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลิน จะถูกดำเนินคดีในภายหลัง
โฮเน็กเกอร์ หลบหนีการถูกลงโทษเนื่องจากสุขภาพที่ย่ำแย่ของเขา ก่อนจะเสียชีวิตขณะถูกเนรเทศเมื่อปี 1994 ขณะที่ เครนซ์ถูกตัดสินลงโทษในข้อหาฆ่าโดยไม่เจตนาให้จำคุกเป็นเวลา 6 ปีครึ่ง เขาถูกปล่อยตัวก่อนกำหนดเมื่อเดือน ธ.ค. 2003 หลังจากการอุทธรณ์ ปัจจุบันเขามีอายุ 81 ปี