จังหวัดในประเทศไทย ที่เคยเกือบถูกยกฐานะให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่
เพชรบูรณ์ (Phetchabun)
เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย
เป็นที่รู้จักจากภูมิประเทศทางธรรมชาติที่หลากหลาย
มรดกทางวัฒนธรรม และทรัพยากรทางการเกษตร
เพชรบูรณ์ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพไปทางเหนือ
ประมาณ 350 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยทิวเขา
รวมทั้งทิวเขาเพชรบูรณ์อันมีชื่อเสียง ซึ่งก่อให้เกิดทัศนียภาพอันงดงาม
เพชรบูรณ์ยังมีมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเพณีไทย ลาว และจีน
มีวัดผาซ่อนแก้ว วัดบนยอดเขาที่สวยงามที่ประดับประดา
ด้วยกระเบื้องโมเสกหลากสี ตั้งตระหง่านเป็นสัญลักษณ์
ของความสำคัญทางจิตวิญญาณ และความงามทางสถาปัตยกรรมของจังหวัด
เศรษฐกิจท้องถิ่นพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยเพชรบูรณ์
เป็นผู้ผลิตพืชผลรายใหญ่ เช่น ข้าว กาแฟ และผลไม้
ที่ราบอันอุดมสมบูรณ์และภูมิอากาศที่เย็นสบายของภูมิภาคนี้
เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร ทำให้ที่นี่
เป็นศูนย์กลางเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศไทย
นอกจากนี้ เพชรบูรณ์ยังมีเรื่องราวน่าสนใจ
คือการเป็นจังหวัดที่ 'ถูกวางแผนให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่'
ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
เนื่องจากในเวลานั้นพื้นที่ราบลุ่มในเขตพระนครนั้นถูกโจมตีไปมาก
และทำเลที่ตั้งของเพชรบูรณ์นั้นได้เปรียบกว่าในเชิงการทหาร
จึงมีคำสั่งให้มีการพัฒนาและเตรียมวางผังเมือง ตั้งแต่ช่วงปี 2486
ทางรัฐบาลในสมัยนั้นมีการลงทุนอย่างจริงจังเพื่อสร้างเมืองนี้
ตั้งแต่การสร้างสถานที่ราชการ สิ่งอำนวยความสะดวก
และวางระบบโครงสร้างเพื่อการติดต่อสื่อสารพร้อมทั้งประกาศยกฐานะเมืองด้วย
แต่หลังจากเสนอเรื่องต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอนุมัติ ในปี 2487
เรื่องนี้ก็ถูกปัดตกไปด้วยเหตุผลด้านข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และข้อเสียอื่นๆอีกมากมาย
ในสมัยที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของเพชรบูรณ์ยังไม่เหมาะจะตั้งเป็นเมืองหลวง
ทำให้แผนการย้ายเมืองหลวงในครั้งนั้นเป็นอันต้องยกเลิกไป
เพชรบูรณ์เลยกลายเป็นตำนาน
'เมืองที่เกือบจะได้เป็นเมืองหลวง' จนถึงทุกวันนี้