“Godzilla” ฝันร้ายนิวเคลียร์กับความขื่นขม ของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
"ก็อดซิลลา" (Godzilla) อสูรกายที่โด่งดังไปทั่วโลก และได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มาหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นต้นฉบับจากญี่ปุ่นหรือการซื้อลิขสิทธิ์เพื่อนำไปสร้างในฝั่งฮอลลีวูด กับการต่อสู้กับสัตว์ประหลาดยักษ์ตนนี้ ซึ่งถูกสร้างให้เป็น "ฮีโร่ไอคอน" ที่ได้รับความนิยมสูงมาก แต่เชื่อกันว่าจริงๆ แล้วไอเดียนี้ ช่างตรงกันข้ามกับก็อดซิลลาอย่างทุกวันนี้
1. ก่อนจะมาเป็นก็อดซิลลา
การก่อกำเนิดของก็อดซิลลามันเป็นเหมือนคำเปรียบเทียบ อันทรงพลังของพลังงานนิวเคลียร์ ที่ยังมีอยู่มาจนถึงปัจจุบัน มันเกี่ยวกับการรับมือและการรับผิดชอบต่อโศกนาฏกรรมที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมา โดยเฉพาะจากระเบิดนิวเคลียร์ ด้วยเหตุนี้มันจึงไม่ใช่แค่หนังสัตว์ประหลาดที่เราเข้าใจทั้งหมด แต่มันหมายถึงทัศนคติหลังสงครามต่อพลังงานนิวเคลีย์ที่เรามี จากมุมมองของเหยื่อที่ได้รับผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
Credit by : burning_godzilla_by_conquerorsaint_on deviantart
2. จุดเริ่มต้นจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์
การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ของสหัรัฐอเมริกาที่ฮิโรชิมา (Hiroshima) และนางาซากิ (Nagasaki) ทำให้เกิดบาดแผลขนาดใหญ่แก่ประเทศญี่ปุ่น ระเบิด 2 ลูกนั้นคือสัญลักษณ์แห่งความเลวร้ายของสงคราม แต่ไม่ใช่แรงผลักดันที่สำคัญที่ก่อให้เกิดก็อดซิลลา
Hiroshima and Nagasaki bombings_01
3. เหตุการณ์ "Lucky Dragon"
"Lucky Dragon" เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 1 มีค. 1954 จากเรือจับปลาทูน่า "Daigo Fukuryū Maru" (แปลว่า Lucky Dragon) ล่าปลากลางมหาสมุทรแปรซิฟิก เป็นวันเดียวกับที่กองทัพสหรัฐฯ จะทำการทดสอบการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ แต่เรืออยู่นอกเขตอันตรายที่รัฐบาลสหรัฐฯได้ออกประกาศไว้ก่อนหน้านี้ การทดสอบมีพลังมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 2 เท่า แรงระเบิดส่งผลให้ลูกเรือ 23 คน ที่เห็นแสงไฟแผดเผา
อยู่บนท้องฟ้าราวกับเสียงฟ้าผ่า และเริ่ามีเถ้าถ่านสีขาวตกลงบนดาดฟ้าเรือ จนทำให้พวกเขาได้รับสารกัมตรังสีนานกว่า 3 ชม. โดยไม่รู้ตัว พอกลับเข้าฝั่งก็เริ่มล้มป่วยอย่างหนัก และเสียชีวิตในที่สุด เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวญี่ปุ่นและทั่วโลกตื่นกลัวต่อความรุนแรง และอันตรายของระเบิดนิวเคลียร์ และยังเป็นแรงบันดาลใจต่อการสร้างภาพยนตร์
4. การปรากฏตัวของก็อดซิลลา
ต้นฉบับเวอร์ชั่นนั้นมาจากญี่ปุ่น เป็นการสะท้อนภาพปัญหาทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ที่มาจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์กับเทคโนโลยีที่ทมีจุดประสงค์ในการทำลายล้างมนุษยชาติ ซึ่งสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ทางญี่ปุ่นจะเรียกว่า "ไคจู" (Kaiju) หนึ่งในนั้นก็คือก็อดซิลลา
"Godzilla" ปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง Gojira (ในปี 1954) กำกับโดย "อิชิโร ฮอนดะ" (Ishiro Honda) จากสตูดิโอโตโฮ (Toho Studio) โดยได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์แนวสัตว์ประหลาดเรื่อง "The Beast from 20,000 Fathoms ในปี 1953"
The beast from 20,000 fathoms 1953_01
The beast from 20,000 fathoms 1953_02
หลังจาก Gojira (1954) ออกฉายไม่นานก็ได้รับความนิยมสูงมาก จนทำให้ฮอลลีวูดซื้อลิขสิทธิ์ไปดัดแปลงทำเป็นภาพยนตร์ในเวลาต่อมา อย่าง Godzilla King of the Monsters (ปี 1956) และ Godzilla (ปี 1985)
toho-studios-godzilla_Greg-Lane
Godzilla king of the monsters 1956
5. ที่มาของคำว่า "Gojira"
มาจากคำว่า "ลิงกอริลลา" (Gorira) กับปลาวาฬ (Kujira) แต่ก็มีเรื่องเล่าว่า Gojira อาจจะมาจากชื่อของทีมเทคนิคการผลิตภาพยนตร์
6. ปูพื้นฐานด้วยความน่าสะพรึงกลัว
Gojira (ในปี 1954) ได้สร้างขึ้นมาด้วยพื้นฐานของความน่าสะพรึงกลัว เล่าถึงสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ที่จมเรือประมงกลางมหาสมุทร จนผู้รอดชีวิตนำมาเล่าขานจนเป็นข่าวลือ ว่าเป็นสัตว์โลกยุคไดโนเสาร์ที่จำศีลอยู่ในถ้ำใต้ทะเลลึก แต่พอมีการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ จึงทำให้ถ้ำนั้นถูกทำลายจนเป็นการปลุกสัตว์ร้ายตัวนี้ให้ตื่นขึ้นมา
7. เป็นภาพสะท้อนภัยสงครามและนิวเคลียร์
การระเบิดของปรมาณูนั้นได้ปรากฎในฉากของภาพยนตร์ เป็นการเปิดเรื่องจากเหตุการณ์เรือประมง "Lucky Dragon" ซึ่งล้วนสะท้อนความหวาดกลัวของชาวญี่ปุ่นต่อระเบิดนิวเคลียร์ โดยศาตราจารย์ "โยชิโกะ อิเคดะ" (Yoshiko Ikeda) แห่งมหาวิทยาลัยริทสุเมอิกัน (Ritsumeikan University) อธิบายว่าการบุกถล่มกรุงโตเกียวของก็อดซิลลา ลักษณะส่วนหัวของมันมีลักษณ์คล้ายกับ "ระเบิดดอกเห็ด"
ซึ่งสะท้อนภาพระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิ และทำลายกรุงโตเกียวจนพังพินาศ เป็นภาพสะท้อนให้เห็นของกรุงโตเกียวที่เคยถูกสหรัฐฯ ปูพรมทิ้งระเบิดอย่างหนักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังนั้นก็อดซิลลาจึงได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย สงคราม และระเบิดนิวเคลียร์นั่นเอง
ขอบคุณภาพ : google