ความรู้ทั่วไปในการอ่าน
สวัสดีเพื่อน ๆ นักอ่านทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้ หลายๆท่านก็ก็ชอบการอ่านอยู่แล้ว ผมเองก็อ่านหนังสือครับ ก็เพราะแค่ที่ชอบหรือสนใจก็จะอ่านได้เยอะมากเลยที่เดียวแหละ หรือไม่ก็ต้องอ่านเพราะเป็นตำราเรียนอ่ะน่ะ วันนี้ผมอย่างจะมาแบ่งปันความรู้ทั่วไปในการอ่าน ที่เป็นพื้นบานการอ่านทั้งในระดัยต้นและรับดับสูงบทความนี้เป็นการสรุปเนื้อหารายวิชาการอ่านในรับปริญาตรีที่ผมสรุปขึ้นเองเพื่อใช้อ่านสอบก็อยากจะนำมาแบ่งปันให้เพื่อน ๆ นักอ่าน และเป็นข้อมูลให้ผู้ที่สนใจทั่วไปด้วย โดยก็มีเนื้อหาดั้งสรุปต่อไปนี้
ความหมายของการอ่าน
การอ่านหมายถึงความสามารถในการสื่อสารของมนุษย์ในการรับรู้ความหมายจากสัญลักษณ์ที่ผู้เขียนได้สื่อความหมายไว้ ซึ่งผู้อ่านจะต้องเข้าใจความหมายและสื่อสารได้อย่างถูกต้อง
การอ่าน คือ การเข้าใจหนังสือด้วยการสังเกตุ พิจารณา และถ่ายทอดความรู้ความคิดของผู้เขียนไปยังผู้อ่าน
การตีความจากการอ่านเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ มีความจำเป็นสำหรัับมนุษย์อย่างมาก เพราะการอ่านทำให้เรารับรู้ข้อมูลข่าวสาร ทำให้เรามีความคิดที่กว้างขึ้น และยังก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจด้วย
จุดประสงค์ของการอ่าน
- อ่านเพื่อความรู้
- อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน
- อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
องค์ประกอบของการอ่าน
ผู้อ่าน สาร ความหมาย การเลือกความหมาย การนำไปใช้
ประเภทของการอ่าน
- อ่านในใจ
- อ่านออกเสียง
กระบวนการอ่าน
- การรวบรวมความคิด
- การมีปฏิกิริยาต่อสาร
- การเข้าใจความหมายของสาร
- การรู้จักคำ
ปัญหาที่เกี่ยวกับการอ่าน
- ไม่มีความรู้มากพอ
- กังวลเรื่องศัพท์
- อ่านผิดวิธี
- ขาดคำแนะนำที่ดี
- สติปัญญาไม่ดี
- มีปัญหาด้านสุขภาพจิต กายไม่มีสมาธิ
- มีความสามารถในการอ่าน
-
- มีความพร้อมทางด้านร่างกายภายนอก
- มีความพร้อมของอวัยวะในการออกเสียงภายใน
- ความพร้อมทางด้านอารมณ์
- ความพร้อมทางภาษา
- ความพร้อมด้านสภาพแวดล้อมทั้งที่บ้านและสถานศึกษา
- ความพร้อมด้านเวลาในการอ่าน
-
- มีประสบการณ์
- มีความสนใจหรือความสามารถพิเศษ
- มีพื้นความรู้
- แรงจูงใจในการอ่าน
- หนังสือที่อ่าน
ทักษะการอ่านที่สามารถฝึกได้
- อ่านออก อ่านคล่อง
- การเข้าใจเนื้อหาจับใจความสำคัญได้
- อ่านแล้วสามารถวิเคราะห์
- ตีความประเมินค่าได้
ความจำเป็นในการอ่านเร็ว
- ฝึกอ่านทุกวัน
- อ่านหนังสือหรือบทความง่ายๆ ก่อน
- ฝึกการเคลื่อนไหวสายตา
- พยามหลีกเลี่ยงและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ดีทั้งหลายที่ทำให้อ่านช้า
- ฝึกใช้ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือที่ช่วยในการอ่านเร็ว
- ฝึกค้นหาศัพท์จากพจนานุกรมทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
- ฝึกอ่านในใจให้เร็วกว่าการออกเสียง
การอ่านจับใจความ
ความหมายของการอ่านจับใจความ
การมุ่งค้นหาสาระสำคัญของเรื่องของหนังสือแต่ล่ะเล่มว่าคืออะไร เพื่อเก็บสาระสำคัญที่สุดของเรื่อง
วัตถุประสงค์ของการอ่านจับใจความ
- เพื่อให้สามารถจับใจความสำคัญของแต่ล่ะย่อหน้า หรือ หลาย ๆ ย่อหน้าได้อย่างเร็วและแม่นยำ
- เพื่อค้นหาความคิดสำคัญของเรื่อง หรือทราบความตามที่ผู้เขียนนำเสนอว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
ประสบการณ์ทางภาษาที่ส่งผลต่อการอ่านจับใจความ
ผลที่เกิดกับผู้อ่าน
- ความรู้ของรอบตัว -ระดับความยากง่ายของหนังสือ -ความตื่นตัวในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม
- คุณภาพของอารมณ์และจิตใจ -พัฒนาการความคิด
หลักการอ่านจับใจความ
การจับใจความสำคัญคือ ผู้อ่านสามารถรับสารที่ผู้เขียนสื่อออกมาได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องตรงประเด็น รู้จักกับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน แยกแยะได้ว่าข้อความใดเป็นข้อความสำคัญที่เป็นหลักของสารนั้น ข้อความใดเป็นประเด็นรอง
แนวทางการอ่านจับใจความสำคัญ
- เริ่มอ่านตั้งแต่ชื่อเรื่อง
- พิจราณาในความสำคัญจากแต่ล่ะย่อหน้า
- นำใจความสำคัญของเรื่องที่ได้ทั้งหมดมาเรียบเรียง
-
- นำใจความสำคัญของเรื่องมาเรียบเรียง
- หากใจความซ้ำให้ตัดออก
- เรียบเรียงให้เหมาะสมสอดคล้อง
- ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
-
- เรียบเรียงเสร็จแล้วอ่านทบทวบอีกรอบ
การอ่านวิเคราะห์
การอ่านวิเคราะห์ขอบเขตของปัญหาและตีความเนื้อหาของข้อความ
1. การวิเคราะห์ขอบเขตปัญหา
1.1 จัดประเภทหนังสือตามชนิดและเนื้อหา
1.2 สรุปให้สั้นที่สุดว่าหนังสือนั้นกล่าวถึงอะไร
1.3 สังเกตส่วนประกอบ
1.4 กำหนดปัญหาที่ผู้เขียนต้องการแก้
2.การตีความเนื้อหาของหนังสือ
2.1ตีความหมายของคำสำคัญ
2.2สรุปความคิดสำคัญของผู้เขียน
2.3 ตัดสินว่าอะไรคือการแก้ปัญหาของผู้เขียน
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลักการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
- พิจารณาความถูกต้องของภาษา
- พิจารณาความต่อเนื่องของประโยคว่าสอดคล้องกันหรือไม่
- พิจารณาความต่อเนื่องของเรื่องราวระหว่างเรื่องที่เป็นใจความหลักและใจความรองว่ากลมกลืนกันหรือไม่
- รู้จักแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากการแสดงความรู้สึกและข้อคิดเห็นของผู้แต่ง
- พิจารณาเนื้อหาว่ามีความสัมพันธ์กันเหมาะสมหรือไม่
- ประเมินผลว่าผลจากการอ่านทำให้เกิดความรู้ความคิดความรู้สึกอย่างไร
การอ่านที่จะได้ผลต้องพิจราณาพฤติกรรมพื้นฐาน 3 ด้าน
- การแปลความ คือ การเข้าใจเรื่องราวอย่างตรงไปตรงมา
- การตีความ คือ การเข้าใจเรื่องราวอย่างลึกซึ่ง และอาจแยกแยะไปได้อีกหลายแง่มุม
- การขยายความ คือ การนำเสนอความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในรูปแบบการอธิบายเพิ่มเติม
บทความนี้เนื้อหาค่อนข้างเยอะหน่อย เนื่องจากเป็นการสรุปของผม ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ นักอ่านได้ไม่มาก็น้อย และขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านครับ
สรุปและเรียบเรียงโดยผู้เขียน ภาพทั้งหมดโดยผู้เขียน ออกแบบด้วย canva