คุณผณี วีรสตรีไทยในสงครามโลก
คุณผณี วีรสตรีไทยในสงครามโลกที่คนไทยไม่รู้จัก แต่กับถูกยกย่องจากทั่วโลกเธอโด่งดังมากในต่างแดน ในฐานะที่เธอคอยช่วยเหลือชีวิตเชลยในสมัยสงครามโลกไว้เป็นจำนวนมาก แต่น่าแปลกที่ในเมืองไทย น้อยคนนักที่จะเคยได้ยินเรื่องราวของเธอ
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ด.ญ.ผณี สิริเวชชะพันธ์ อายุได้ 14 ปี กำลังเรียนอยู่ที่ ร.ร. ราชินี ได้ถูกครอบครัวเรียกกลับมาที่บ้านเกิด จ.กาญจนบุรี เพื่อหนีสงคราม แต่การกลับมาครั้งนี้กับเปรียบได้กลับการ หนีเสือปะจระเข้ เพราะเมื่อตอนกลับไปถึงบ้านเกิด เมืองกาญจน์นี่แหละ กับการเป็นหนึ่งในบริบทที่น่าเศร้าที่สุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศไทย
ที่นั่นได้ถูกทหารญี่ปุ่นเข้าควบคุมทุกพื้นที่ มีการตั้งค่ายเชลยตามจุดต่างๆ เพื่อสร้างทางรถไฟ เพื่อที่จะข้ามไปยึดอินเดียผ่านไทยไปทางพม่า ญี่ปุ่นได้กวาดต้อนเชลยหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งเชลยชาวดัชท์ ออสเตรเลีย อังกฤษ อเมริกัน มารวมกันเพื่อการนี้
คนญี่ปุ่นบอกไว้ว่าจะไม่ทำอะไรคนไทยหรอก พวกเราเป็นพันธมิตรกันนี่นา แต่ถ้าคุณเข้ามาขวางเมื่อไหร่ เราก็ไม่ปล่อยไว้เหมือนกัน
เชลย 2 แสนกว่าชีวิตถูกพรากไประหว่างการสร้างทางรถไฟสายนี้ เหตุด้วยการร่นระยะเวลาทำงานของญี่ปุ่น จากเส้นทางที่ต้องใช้เวลาตามปกติถึง 5 ปี พวกเขาทรมาณเชลยให้ทำงานทั้งวันทั้งคืนจนสำเร็จภายในระยะเวลาแค่ 14 เดือน
สภาพของเชลยนี่ไม่ต่างอะไรกับโครงกระดูกเดินได้ บางคนก็เป็น คอตีบ บิด อหิวาห์ บ้างก็ออกไปอึ๊แล้วก็ตายจมหลุมส้วมไม่กลับมาอีกเลยก็มี
ยารักษาโรค ญี่ปุ่นก็แทบไม่นำมาให้แพทย์ประจำค่าย ได้ใช้เพื่อรักษา เชลย ทำงานได้แผลมาก็ค่อยๆ เป็นแผลเปื่อย เนื้อเน่า ตายกันไปตามๆ กัน บางคนป่วยหรือทำงานช้าก็จะถูกยิงทิ้งให้เพื่อนดูเป็นอุทาหรณ์
ณ.เวลานั้น ญี่ปุ่นเกินขอบเขตคำว่า มนุษยธรรม ไปมากแล้วจริงๆ
แต่ในเวลานั้นกับมีอยู่ครอบครัวชาวไทยครอบครัวหนึ่ง ครอบครัวของ คุณบุญผ่อง พ่อของคุณผณี นี่แหละ ครอบครัวนี้เลี้ยงชีพด้วยการทำร้านขายของชำ ซึ่งต้องคอยส่งของเข้าไปที่ค่ายเชลยเป็นประจำ พวกเขาทนเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเชลยเหล่านี้ไม่ได้
คุณบุญผ่อง เลยร่วมมือกับแพทย์เชลยในค่ายชื่อ คุณหมอดันล็อป แอบซ่อนยาเข้าไปในเสบียงต่างๆ อย่างมิดชิด ไม่ว่าจะเป็นการ ปอกก้านส้มโอเพื่อสอดยาเข้าไป ซ่อนยาไว้ที่ตาข่ายเข่งสานบ้าง ใส่ถุงมัดยางไว้ในแก้วแล้วเทโอเลี้ยงใส่ลงไปบ้าง
โดยให้ คุณผณี ลูกสาวตัวน้อยๆ ที่ตอนนั้นมีอายุเพียง 14 ปี เป็นนกต่อ ด้วยความที่ คุณผณี เป็นเด็กน่ารัก ทหารญี่ปุ่นจึงเอ็นดูเธอ ไม่ค่อยจะตรวจตราเธอเท่าไหร่นัก
และด้วยความฉลาดหัวไว คุณผณี จึงสามารถเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างไว บางครั้ง คุณผณี ก็หันเหความสนใจของเหล่าทหารด้วยการร้องเพลงญี่ปุ่น เหล่าทหารก็หยุดฟังด้วยเพราะความคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง
เมื่อเหล่าทหารญี่ปุ่นเริ่มคุ้นชินกับคุณผณี เธอจึงสามารถเข้า - ออกค่ายเชลยได้อย่างเป็นว่าเล่น โดยที่รอบตะเข็บผ้าถุงของคุณผณี นี่เต็มไปด้วยยารักษาเชลยทั้งนั้น
พวกเขารู้ดีว่า ถ้าหากถูกทหารญี่ปุ่นจับได้เมื่อไหร่วาระสุดท้ายของพวกเขาก็จะมาถึงเมื่อนั้น แต่พวกเขาก็ยังไม่หยุดที่จะทำการช่วยเหลือเชลยจนถึงงวินาทีสุดท้ายของสงคราม
หนึ่งคำจากบทสัมภาษณ์ของ คุณผณี เธอได้กล่าวว่า ถ้าเธอเดินช้าไปนิดนึง เชลยจะตายไปคนนึงเลย เธอต้องรีบเดิน เพื่อจะเอายาไปให้เค้าให้ไวที่สุด
หลังสงครามจบ คุณบุญผ่อง ได้ถูกลอบยิง 1 ครั้ง แต่ก็รอดมาได้ กองพันธ์จากประเทศต่างๆ รีบส่งคนมาคุ้มกัน ไม่ให้ฮีโร่ของพวกเขาต้องเป็นอะไรไป
เงินมากมายที่ให้เชลยยืมไปใช้ก่อนหลายส่วนก็ไม่ได้คืน ทำเอาบริษัทของ คุณบุญผ่อง เกือบล้มละลาย รัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตรก็เข้าช่วยด้วยการส่งเงินส่งของมาให้ คุณบุญผ่อง เพื่อหนุนกิจการ
เชลยหลายคนกลับมาเยี่ยมครอบครัวของ คุณบุญผ่อง พร้อมครอบครัว ในขณะที่ชาวบ้านยังงงอยู่ว่าทำไมบ้านนี้มีทหารฝรั่งมาเยี่ยมเยียนมากขนาดนี้ คุณผณี เองก็ไม่ได้เล่าเรื่องนี้ให้ใครต่อใครฟัง
คุณอมรศรี ลูกสาวของ คุณผณี เล่าว่า คุณผณี ยังรู้สึกผิดเพราะ คุณผณี เองก็เป็นเพื่อนกับทหารญี่ปุ่นเหล่านั้น ทุกคนดีกับเธอมาก ในขณะเดียวกัน คุณผณี ก็ทนเห็นพวกเขาทำสิ่งที่ผิดต่อมนุษยธรรมขนาดนั้นไม่ได้ คงเป็นเรื่องที่ยังขัดแย้งอยู่ในใจของ คุณผณี อยู่เหมือนกัน
เรื่องราวสิ้นสุดลงที่ คุณบุญผ่อง ถูกขนานนามให้เป็น วีรบุรุษสิงโตเงียบ และเรื่องราวของครอบครัวนี้ก็เงียบจริงๆ ไม่ได้ถูกเล่าขานต่อไปในหมู่คนไทยมากนัก
ในขณะที่เรื่องราวของแพทย์ทหารชาวออสเตรเลียที่ร่วมมือกัน กับถูกประโคมลงในบทเรียนจนคนออสเตรเลียทุกคนรู้จัก
คุณผณี ตำนานที่ยังหายใจอยู่คนนี้ เพิ่งจะสิ้นลมหายใจไปเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง เราคิดว่าสิ่งที่เธอเคยทำไว้มันมากเกินกว่าจะเงียบหายไปพร้อมตัวเธอ การบอกต่อเรื่องราวนี้อาจไม่ได้ทำให้มีคนรู้จัก คุณผณี มากขึ้นมากเท่าไหร่นัก
แต่เราก็ยังอยากจะบอกเล่าเรื่องราวและทำความระลึกถึงครอบครัวของ คุณบุญผ่อง และ คุณผณี สักครั้งด้วยการเขียนถึง เธอและครอบครัว ในห้วงเวลานี้
LOMA 🐬🐬