กวางป่าเขาสวยในตำนาน ที่พบในประเทศไทยเป็นแห่งสุดท้ายในโลก
สมัน (Schomburgk's deer)
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์
ว่า Rucervus schomburgki สมันเป็นกวางสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ได้รับการอธิบายครั้งแรกในทศวรรษที่ 1860
โดยนักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน แฮร์มันน์ ชอมเบิร์ก
และตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา กวางเป็นที่รู้จักจากรูปลักษณ์ที่โดดเด่น
โดยมีเขากวางขนาดใหญ่ที่แตกกิ่งก้านและมีขนสีน้ำตาลแดง
การสูญเสียถิ่นที่อยู่เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า
การล่าเพื่อเอาเขากวาง และการขยายตัวทางการเกษตร
ทำให้ประชากรสมันลดลงอย่างต่อเนื่อง ก่อนจะสูญพันธุ์ไปในที่สุด
สมันมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 100 -120 กิโลกรัม มีความยาวลำตัว
ประมาณ180 เซนติเมตร ความสูงหัวไหล่ 104 เซนติเมตร
หางยาว 10 เซนติเมตร ขนหยาบสีน้ำตาลเข้ม ด้านล่างลำตัว
และบริเวณแก้มจางกว่า บริเวณจมูกสีเข้มหรือสีดำ สีบริเวณขาและหน้าผาก
ค่อนข้างอมแดง ใต้หางสีขาว ขนแผงคอยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
สมันถือเป็นสัตว์สัญชาติไทยโดยแท้จริง เพราะพบได้ในประเทศไทย
เพียงแห่งเดียวเท่านั้น กระจายพันธุ์อยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ตั้งแต่สมุทรปราการขึ้นไปจนถึงสุโขทัย ตะวันออกสุดถึงจังหวัดนครนายก
และฉะเชิงเทรา ทางตะวันตกพบถึงสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี
ประชากรสมันลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนกระทั่งสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ
ในปี พ.ศ. 2475 เนื่องจากถูกล่าเอาเขา โดยมีบันทึกว่าสมันตัวสุดท้าย
ในธรรมชาติอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ถูกยิงตายโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
หลังจากนั้นจึงเหลือเพียงสมันในกรงเลี้ยงเท่านั้น แต่น่าเศร้า
ที่การเพาะพันธุ์ในกรงเลี้ยงทำไม่สำเร็จ จึงไม่อาจเพิ่มจำนวนขึ้นได้อีก
ปัจจุบัน สมันยังมีชื่อเป็นสัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติสงวน
และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เนื่องจากการคุ้มครองมีผลไปถึงซากด้วย