พญาแร้งฝูงสุดท้าย ที่ถูกพบในป่าธรรมชาติของประเทศไทย
Red-headed vulture (พญาแร้ง)
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sarcogyps calvus เป็นนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่
พบในอนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนของเอเชียใต้
นกแร้งชนิดนี้สามารถจดจำได้ทันทีด้วยหัวที่เปลือยเปล่าและมีสีแดง
จัดเป็นอีแร้งขนาดใหญ่ และเป็นนกเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Sarcogyps
มีความยาวประมาณ 76 ถึง 86 เซนติเมตร (30 ถึง 34 นิ้ว)
มีความยาวปีกได้มากที่สุดประมาณ 210 ถึง 220 เซนติเมตร
พญาแร้งมักอาศัยอยู่ในพื้นที่โล่ง ทุ่งหญ้า และพื้นที่ป่าเป็นหลัก
โดยเลือกพื้นที่ที่ราบลุ่ม อาหารของมันส่วนใหญ่มักซากศพ ถือเป็นสัตว์
ที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ โดยช่วยในการย่อยสลายสัตว์ที่ตายแล้ว
อย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรค
น่าเศร้าที่พญาแร้งต้องเผชิญกับการลดลงของจำนวนประชากร
อย่างรุนแรง ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา สาเหตุหลัก
มาจากภัยคุกคามต่าง ๆ การสูญเสียถิ่นที่อยู่ การเป็นพิษ
จากการกินซากสัตว์ที่ปนเปื้อน และการถูกล่าโดยตรง
สำหรับในประเทศไทยในอดีต พบพญาแร้งอยู่เกือบทุกภาค
ยกเว้นภาคอีสานและภาคตะวันออก แต่ในปัจจุบันพบเห็นได้ยากมากแล้ว
และไม่มีรายงานพบมานานกว่า 2 ทศวรรษ คาดว่าสูญพันธ์ไปจากประเทศไทยแล้ว
หลังจากพญาแร้งฝูงสุดท้ายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ตายจากยาฆ่าแมลงที่พรานล่าสัตว์ป่า ใช้เป็นยาเบื่อใส่ไว้ในซากเก้ง
หวังจะว่าเบื่อเสือโคร่ง ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 เหตุการณ์ครั้งนั้น
ทำให้พญาแร้งในป่าห้วยขาแข้งตายไปนับสิบตัว ทำให้พญาแร้ง
ลดจำนวนลง และไม่พบในป่าห้วยขาแข้งอีกเลยในปัจจุบัน
แต่ประเทศไทยกำลังมีโครงการเพาะขยายพันธ์พญาแร้งในกรงเลี้ยง
เพื่อนำกับสู่ธรรมชาติของไทย ที่สวนสัตว์นครราชสีมา
และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี