"พืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด" ที่ทนแล้ง ปลูกขายได้ราคาดีมีรายได้ยั่งยืนในอนาคต
ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมของทุกปี หลาย ๆภูมิภาคในประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้ง ฝนก็จะน้อยลงไปและหายไปในที่สุดช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรที่ปลูกพืชไม่ว่าจะเป็นพืชระยะสั้นหรือพืชที่ระยะยาวที่ต้องอาศัยการเป็นหลัก ในการดูแลพืชผลจนกว่าจะได้เก็บผลผลิตรับประทานหรือขาย ซึ่งนอกจากการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกและแหล่งน้ำแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ต้องศึกษาว่าพืชพืชชนิดที่จะปลูกนั้น ต้องปลูกในพื้นที่แบบไหน ชอบน้ำมากน้อยหรือไม่ ต้องดูแลอย่างไร วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำพืชเศรษกิจ 5 ชนิดที่ทนแล้ง ขายได้ราคาดี ปลูกแล้วมีรายได้ยั่งยืนในอนาคต มีอะไรบ้างนั้น ตามอ่านจากบทความนี้ได้เลยครับ
ชนิดที่ 1 "ต้นสะเดา" เป็นพืชหรือไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ที่มีอายุยืนยาว 50-60 ปี เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่แห้งแล้ง ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี สามารถที่จะปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ แต่ส่วนมากจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่แห้งแล้ง ที่ไม่เป็นพื้นที่น้ำขังหรือฝนตกชุก โดยเฉพาะพื้นที่ที่แห้งแล้งนั้นสะเดาจะเจริญเติบโตได้ดีมาก แต่ในปีแรกสำหรับการปลูกสะเดานั้นจะต้องหมั่นดูแลรดน้ำเพื่อให้เขาได้มีชีวิตรอดสำหรับให้รากได้หากินเพื่อการเจริญเติบโตและปลูกติด ส่วนปีต่อ ๆ ไปนั้น แทบจะไม่ต้องดูแล เพียงแต่คอยรดน้ำเป็นช่วง ๆ ก็สามารถรอดเติบโตได้ สำหรับการเก็บผลผลิตสะเดานั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือแบบที่ 1 การเก็บยอดและดอกขาย ซึ่งสามารถเก็บยอดได้ตั้งแต่สะเดาเริ่มเข้าสู่ปีที่ 2-3 เป็นต้นไป ก็สามารถที่จะเก็บยอดหรือสะเดาขายได้ (สะเดาพันธุ์ทวาย ออกดอกปีละ 2 ครั้ง) แบบที่ 2 การตอนกิ่งขาย ซึ่งสามารถตอนกิ่งได้ตั้งปีที่ 3 เป็นต้นไป ช่วงที่เหมาะสำหรับการตอนกิ่งจะเป็นช่วงหน้าฝน ซึ่งรากจะติดได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับการขยายพันธุ์และทำกิ่งตอนขาย
ชนิดที่ 2" ต้นไผ่" จัดว่าเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง ปลูกง่ายตายยาก สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ซึ่งประโยชน์ของไผ่หลัก ๆ ที่ทราบกันดีคือการเก็บหน่อมารับประทานหรือการปลูกไผ่หน่อเชิงพาณิชย์หรือทำหน่อขาย ก็ถือว่ามีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกปลูก ไม่ว่าจะเป็นไผ่กิมซุง ไผ่บงหวาน ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งที่สามารถกินดิบได้ด้วย นอกจากนั้นแล้วประโยชน์นอกจากหน่อแล้ว ก็ยังสามารถมาทำเป็นรั้ว เฟอร์นิเจอร์หรือแม้กระทั่งการนำมาเผาถ่าน ก็ให้พลังงานได้ดีไม่แพ้ไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น ๆ ซึ่งการปลูกไผ่นั้น ปีแรกก็ต้องเอาใจใส่หมั่นรดน้ำ เพื่อให้รอดและรากชอนไชหากินเองได้ หากผ่านปีแรกไปแล้วก็ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มาก แต่สำหรับไผ่กินหน่อ เช่น ไผ่กิมซุงหรือไผ่บงหวานนั้น ต้องหมั่นใส่น้ำเติมความชื้น เพื่อให้มีผลผลิตเก็บหน่อได้ตลอดปีนั่นเอง ปัจจุบันนอกจากการทำหน่อขายแล้ว การตอนกิ่งและการชำกิ่งพันธุ์ ก็ถือเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งให้กับเกษตรกรผู้ปลูกไผ่ขาย
ชนิดที่ 3 "ต้นมะขาม" ก็จัดว่าเป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก ๆ และมีอายุยืนยาวเป็นร้อย ๆ ปี โดยในการปลุกมะขามนั้น จะต้องหมั่นดูแลรดน้ำในปีแรกเหมือนกับพืชทนแล้งชนิดอื่น ซึ่งมะขามนั้นเจริญเติบโตได้ดีทุกภูมิภาค แต่ภูมิภาคที่ให้ผลผลิตได้ดีคือพื้นที่ที่ปลูกในภาคเหนือและภาคกลาง โดยมะขามนั้น สามารถเก็บผลผลิตฝักได้ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป และสามารถให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นมะขามเจริญเติบเต็มที่ผลผลิตจึงออกมาได้มาก ซึ่งมะขามนั้นนอกจากการเก็บผลผลิตจากฝักแล้ว ก็สามารถทำพันธุ์ขายโดยการตอนกิ่งขายหรือหากต้นมะขามมีอายุมากเกินไปแล้ว ก็สามารถนำต้นมาแปรรูปเป็นไม้แผ่นทำฝาบ้านหรือแม้กระทั่งทำเขียงขาย ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางให้กับเกษตรกรผู้ปลูกต้นมะขามนั่นเอง
ชนิดที่ 4 "ต้นมะเม่าหรือหมากเม่า" ซึ่งจัดเป็นพืชทนแล้งอีกชนิดหนึ่งที่มีอายุยืนยาว เหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่แห้งแล้งจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำขังและฝนตกชุก เช่น พื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคกลาง โดยในช่วงปีแรก ๆ ต้องหมั่นดูแลให้สามารถรอดพ้นผ่านช่วงแล้ง แต่พอเข้าสู่ฤดูฝนก็จะทำให้เจริญเติบได้ดี สำหรับมะเม่านั้น สามารถเก็บผลผลิตได้ตั้งแต่ต้นเริ่มเข้าสู่ปีที่2-3 เป็นต้นไป โดยในปัจจุบันนอกจากเก็บผลมารับประทานแล้ว ผลมะเม่ายังสามารถหมักเป็นไวน์รสชาติดีและทำเป็นน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ และต้นมะเม่านอกจากเก็บผลขายแล้ว ยังสามารถตอนกิ่งหรือเพาะเมล็ด เพื่อขยายพันธุ์ขายได้อีกทางด้วยเช่นกัน
ชนิดที่ 5 "ต้นมะม่วง" ถือเป็นไม้ผลที่ทนแล้งมาก ๆ สามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่แห้งแล้ง ปัจจุบันต้นมะม่วงนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ให้เกษตรกรได้เลือกปลูก ฉะนั้นต้องเลือกให้เหมาะกับพื้นที่และความต้องการบริโภคของคนในพื้นที่ ทั้งนี้เมื่อปลูกไปแล้วนอกจากจะทำให้มีต้นไม้ปลูกในพื้นที่แห้งแล้งเราแล้ว เรายังสามารถเก็บผลิตจำหน่ายเป็นรายได้ของเราได้ด้วย โดยมะม่วงก็เหมือนพืชทนแล้งชนิดอื่นที่ต้องหมั่นดูแลในช่วงปีแรกๆ แต่พอเริ่มเข้าสู่ปีที่ 3-4 ก็จะรอดและให้ผลผลิต ต่อจากนั้นแทบไม่ต้องได้ดูแลอะไรมาก เพียงแต่คอยรดน้ำเติมปุ๋ยให้เป็นบางครั้ง ก็จะสามารถเก็บกินยาวๆ 30-50 ปีเลยทีเดียว
นี่เป็นพืชเศรษกิจ 5 ชนิดที่ทนแล้ง ขายได้ราคาดี ปลูกแล้วมีรายได้ยั่งยืนในอนาคต ที่นำมาให้ทุกท่านได้ตัดสินใจ หากอยากจะปลูกต้นไม้ทนแล้งในพื้นที่ของตนเอง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่าน อ่านแล้ว อย่าลืม!!! กดไลท์ กดแชร์ บอกต่อให้กับท่านอื่น ๆ ได้ทราบด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
เนื้อหาโดย:loylom:อ่านแล้ว อย่าลืม!!! กดไลท์ กดแชร์ ให้กำลังใจ ด้วยนะครับ