"Gargoyle" อสุรกายแห่งรูออง จากมังกรที่คุกคาม สู้ผู้คุ้มครอง
ถ้าเราดูหนังภาพยนตร์สยองขวัญของฝรั่ง เราก็คงจะคุ้นๆกับเจ้าอสุรกายที่เกาะอยู่ตรงมุมหลังคาต่างๆหรือผนังด้านนอกอาคาร ที่เก่าแก่ทางศาสนาอยู่บ้าง นั่นก็คือ "การ์กอยล์" นั่นเอง
1. ตำนานที่มาที่ไป
“การ์กอยล์” (Gargoyle) เป็นอสุรกายแห่งรูออง หรือ "ปนาลี" มาจากคำว่า “Gargouille” (กากุยล์) ในภาษาฝรั่งเศสโบราณ แปลว่า “ปาก” ซึ่งเสียงของคำนี้มันคล้ายกับการกลั้วน้ำในปาก และคล้ายคำว่า “Gargle” (บ้วนปาก) ในภาษาอังกฤษ เห็นได้ทั่วไปตามมุมหลังคาหรือผนังด้านนอกอาคาร โดยเฉพาะในโบสถ์คริสต์สไตล์โกธิค รูปร่างของการ์กอยล์จะมีทั้งมังกร, อสุรกาย, ปีศาจ, อมนุษย์ ดูหน้าตาดุร้าย แต่ที่โด่งดังอย่างมากก็คือ การ์กอยล์แห่งมหาวิหารนอเทรอดาม กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีการประดับไว้เต็มไปหมดและจะดูคล้ายมนุษย์ค้างคาวด้วย
2. จุดกำเนิด
การ์กอยล์ของชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ณ "หมู่บ้านรูออง" (Rouen) ตอนเหนือของฝรั่งเศส เกิดมหันตภัยที่คุกคามหมู่บ้านนั่นก็คือ "มังกร" นามว่า "ลา-กากุยล์" (La Gargouille) เป็นมังกรไฟคอยาว มีปีก ตามแบบมังกรตะวันตก ได้พ่นไฟแผดเผาเรือกสวนไร่นากับบ้านเรือน อาละวาดทำร้ายและกินฝูงปศุสัตว์ชาวบ้านด้วย มันยื่นคำขาดให้ชาวบ้านต้องส่งหญิงสาวของหมู่บ้านให้เป็นเหยื่อให้มันประจำทุกปี ชาวบ้านก็ยอมทำตามอย่างจำใจ
Rouen France (Photo Credit_Norfolk Museums)
3. นักบุญมาช่วย
แล้วในที่สุดก็มีฮีโร่มาช่วยเป็นนักบวชคริสต์นามว่า "เซนต์โรมานุส" (St. Romanus) ผู้มีเพียงไม้กางเขนและน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์สำหรับปราบ สุดท้ายมังกรร้ายก็สยบต่อนักบวชผู้นี้ ท่านจึงส่งให้ชาวบ้านจัดการ ชาวบ้านที่โกรธแค้นจึงได้ลงมือสังหารเจ้ามังกรโดยการนำไปเผาไฟ แต่เพลิงไม่สามารถทำลายให้สิ้นซากได้ เพราะส่วนหัวและคอไม่ยอมไหม้ไฟ
4. นำหัวไปประดับกำแพงวิหาร
เมื่อเซนต์โรมานุสเห็นว่าหัวมังกรไม่ไหม้ไฟ จึงให้ชาวบ้านนำหัวมังกรไปประดับที่กำแพงวิหาร ซึ่งเป็นโบสถ์ที่ชาวบ้านสร้างเพื่ออุทิศถวายแด่วีรกรรมของท่านเอง จึงได้กลายเป็นธรรมเนียมการประดับรูปปั้นปีศาล "การ์กอยล์" ตามอาคารโบสถ์หรือศาสนสถานในคริสต์ศาสนานับแต่นั้นมา เพราะเชื่อว่าหัวมังกรมีอนุภาพขับไล่ความชั่วร้ายทั้งหลายได้ แต่บางตำนานก็กล่าวว่า..จริงๆไม่ใช่มังกรแต่เป็นอมนุษย์รูปร่างคล้าย "ค้างคาว"
5. ปีศาจผู้พิทักษ์
การประดับหัวมังกรจึงได้แพร่หลายไปยังพื้นที่อื่นๆ และการสร้างรูปปั้นก็เริ่มกระจัดกระจายเป็นปีศาจนานาพันธุ์ตามท้องถิ่น แต่ไม่ว่ามันจะเป็นตัวอะไรหน้าตาของมันจะต้องดุร้ายน่าเกลียดน่ากลัวไว้ก่อน เพื่อข่มขวัญสิ่งชั่วร้ายที่เข้ามาใกล้ให้ได้มากที่สุด มันจึงกลายมาเป็น "ผู้พิทักษ์วิหาร" เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายภายนอกไม่ให้เข้าใกล้อาคารหรือศาสนสถาน และปกป้องผู้ศรัทธาจากการรังควาญของเหล่าปีศาจนอกศาสนา ซึ่งเล่าว่ามันจะเป็นหินแข็งทื่อในตอนกลางวัน แต่พวกมันจะมีชีวิตในตอนกลางคืน และแม้ว่าตอนเป็นหินมันก็สามารถเฝ้ามองผู้คนผ่านไปผ่านมาได้
6. ช่วยปกป้องน้ำฝน
ในด้านสถาปัตยกรรมรูปปั้นการ์กอยล์ ก็มีหน้าที่ปกป้องอาคารจาก "น้ำฝน" ที่มาจากด้านบนหรือหลังคาอาคาร เพื่อลำเลียงน้ำจากทั่วตัวอาคารส่งออกไปข้างนอก เพื่อไม่ให้น้ำฝนกัดเซาะสร้างความเสียหายแก่ตัวโบสถ์ เนื่องจากคอของการ์กอยล์จะยาวยื่นออกมา เพื่อส่งน้ำออกไปให้ไกล จึงเป็นที่มาของชื่อ "กากุยล์" (ปาก) เพราะท่อน้ำมักจะสิ้นสุดบริเวณปากของรูปปั้นเสมอ
7. ความชั่วกับความดี
แม้ว่าหนึ่งในความพิเศษของการ์กอยล์ คือการเป็นตัวอย่างอันโดดเด่น แต่มันก็แฝงตัวตนไว้ 2 ตัวตนที่แตกต่างกันสุดขั้ว ด้วยความที่มีรูปลักษณ์น่าสะพรึงกลัว เหมือนตัวแทนความเลวทราม แต่มันก็เป็นผู้พิทักษณ์ศาสนสถานและปกป้องผู้ศรัทธาไปด้วย ดังนั้นภาพลักษณ์ของมันจึงทั้ง "ความชั่ว" กับ "ความดี" ไปในตัว
8. เผยแผ่คริสต์ศาสนาในยุโรป
อีกแง่หนึ่งมันก็อาจมีส่วนช่วยเผยแผ่คริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลางด้วย โดยถูกสร้างให้จงใจเหมือนเทพ หรือสัตว์ประหลาดในตำนานท้องถิ่น เพื่อเป็นแรงจูงใจ "คนนอกรีต" ให้หันมารับคริสต์ศาสนาได้ง่ายขึ้นนั่นเอง เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปการสร้างรูปปั้นก็เปลี่ยนไปด้วย จากดูเป็นปีศาจเพื่อตกแต่งประดับตามอาคารตามวิหารแล้ว ก็ถูกตกแต่งไอเดียให้แปลกตาประหลาดออกไปก็มี..และนี่ก็คือที่มาของตำนาน "การ์กอยล์"
ขอบคุณภาพต่างๆจาก : google