ชื่อจังหวัดของประเทศไทย ที่ถูกใช้เพื่อตั้งเป็นชื่อสถานที่บนผิวดาวอังคาร
ดาวอังคาร (Mars)
เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุด
อันดับที่สองในระบบสุริยะ รองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษ
ได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง"
เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิว ทำให้มีสีออกแดงเรื่อ
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง
มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์
และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพืดน้ำแข็ง
คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคาร มีความคล้ายคลึง
กับโลก ซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่างๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของ
โอลิมปัสมอนส์ ซึ่งเป็นภูเขาไฟใหญ่ที่สูงที่สุดในระบบสุริยะ เท่าที่มีการค้นพบ
และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ
ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอส และดีมอส
ซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว บนพื้นผิวดาวอังคารมีร่องรอย
การถูกชนจนเกิดเป็นหลุมอุกกาบาตมากมาย โดยหลุมจำนวนมาก
ถูกสำรวจผ่านกล้องโทรทัศน์และได้มีการตั้งชื่อไว้ให้ด้วย
หลายคนอาจจะไม่รู้ ว่าในบรรดาชื่อมากมายที่ถูกตั้งให้กับหลุมอุกกบาตเหล่านี้
มีชื่อ 'จังหวัดของประเทศไทย' ปรากฏอยู่ด้วยถึง 3 ชื่อ
หลุมแรก
คือหลุมที่ถูกตั้งชื่อว่า Nan crater
หรือหลุมอุกกาบาตน่าน ตั้งชื่อตามชื่อจังหวัดน่าน ชื่อนี้ถูกอนุมติ
ให้เป็นชื่อหลุมอุกกาบาต เมื่อปี 1976 เป็นหลุมอุกกาบาต
ที่มีความกว้าง 1.9 กิโลเมตร อยู่ที่พิกัด 26.9°S 20.0°W บนดาวอังคาร
หลุมที่สอง
คือ Tak crater
ตั้งตามชื่อจังหวัดตาก หลุมอุกกาบาตนี้มีความกว้าง 5.1 กิโลเมตร
ถูกตั้งเมื่อปี 1976 ตั้งอยู่ที่พิกัด 26.3°S 28.7°W บนดาวอังคาร
และหลุมที่สาม
คือ Yala crater
ตั้งตามชื่อจังหวัดยะลา ถูกตั้งชื่อในปี 1976 เช่นกัน
ถือเป็นหลุมอุกกาบาตชื่อจังหวัดไทย ที่มีความกว้างมากที่สุด
คือ 19.8 กิโลเมตร อยู่ที่พิกัด 17.6°N 38.7°W