เกาะขนาดใหญ่ที่สุดของไทย ที่ไม่แหล่งชุมชนตั้งอยู่อย่างถาวร
เกาะตะรุเตา (Ko Tarutao island)
เป็นเกาะหลัก และเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา
ซึ่งประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน
บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา
ห่างจากเกาะลังกาวี ของมาเลเซีย 4.8 กิโลเมตร
รวมทั้งพื้นที่บนเกาะและทะเล ประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร
โดยคำว่า "ตะรุเตา" เป็นภาษามลายู เพี้ยนมาจากคำว่า เตอลุกตาวาร์
(Teluk Tawar) แปลว่า "อ่าวจืด" หรือ "อ่าวน้ำจืด"
เพราะบนเกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่เดียวที่มีธารน้ำจืดอยู่ด้วย
เกาะตะรุเตา มีขนาดพื้นที่ 150.84 ตารางกิโลเมตร
ถือเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย
รองจากเกาะภูเก็ต (514.67 ตารางกิโลเมตร) เกาะสมุย
(236.07 ตารางกิโลเมตร) และเกาะช้าง (212.4 ตารางกิโลเมตร)
และถือเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดของไทย
ที่ไม่มีการตั้งรกรากแบบถาวร หรือไม่มีชุมชนตั้งอยู่บนเกาะ
(ไม่นับรวมเขตที่พัก หรือสำนักงานของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา)
ในอดีต ช่วงปี พ.ศ. 2482 เกาะตะรุเตาเคยถูกใช้เป็นสถานที่จองจำ
นักโทษการเมือง จากคดีกบฏบวรเดช (พ.ศ. 2476) และกบฏนายสิบ
(พ.ศ. 2478) จำนวน 70 นาย ซึ่งถูกกักบริเวณไว้ที่อ่าวตะโละอุดัง
โดยจำนวนนักโทษทั้งหมดในยุคนั้น มีประมาณ 4,000 คน