ขบวนการ "ล่าแม่มด" ปริศนาแม่มดคนสุดท้ายแห่งศตวรรษ...ที่ยังไม่มีวันจบ
คำว่า ล่าแม่มด ถูกเรียกใช้ เยอะมาก โดยเฉพาะในโลกของโซเซียลมีเดีย
การล่าแม่มด (Witch - hunt) "แม่มด" เป็นคำนิยามถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเวทมนต์ดำ คำสาป ไสยศาสตร์ ซึ่งขัดหลักความเชื่อทางศาสนา ดังนั้น คริสตจักรจึงถือว่าพวกแม่มดเป็นพวกคนนอกรีตและเป็นบุคคลอันตรายที่ขายวิญญาณให้กับปีศาจ ถือเป็นภัยทางความมั่นคงของศาสนจักร
เนื่องจากในสมัยอดีตกาลจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ศาสนจักรมีอำนาจเหนือการเมือง ศาล และ กษัตริย์ จึงได้มีกฎหมายอนุญาตการล่าแม่มด นำมาสู่การกล่าวหา จับกุมและประหารชีวิต ผู้ที่มีความคิด ความเชื่อและความศรัทธาแตกต่างออกไปจากคริสตจักร จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ประกาศให้แม่มดไม่เป็นการกระทำที่มีโทษตามกฎหมายพระราชบัญญัติ ค.ศ. 1735 ส่งผลให้โลกสากลยกเลิกกฎหมายการล่าแม่มดเช่นกัน
ถึงแม้ในอดีตการล่าแม่มดจะถูกบัญญัติไม่ให้เป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว แต่ในปัจจุบันโดยเฉพาะสังคมไทยการล่าแม่มดไม่ได้ยุติลงเลย ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมือง ศาสนา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ความบันเทิง บรรทัดฐานทางสังคม การศึกษา วิทยาศาตร์ การแพทย์ ธุรกิจ และการบริการ เป็นต้น
การแสดงความเห็นจะปรากฎออกมาในรูปแบบทัศนคติ ความเหมาะสม ความเหลื่อมล้ำ ปกป้องบุคคลที่ชื่นชอบ จรรยาบรรณวิชาชีพ และความเห็นไม่ตรงกัน เป็นต้น ซึ่งก็ยังมีความขัดแย้งให้เห็นออกมาเรื่อย ๆ แสดงออกผ่านทางการใช้ถ้อยคำรุนแรงในโซเชียลมีเดีย การแชร์ภาพ หรือคลิปประจานพฤติกรรมที่เห็นว่าไม่เหมาะสม แล้วมักจะตามมาด้วยเสียงสนับสนุนที่สะท้อนถึงความสะใจ โดยที่ไม่นึกถึงใจเขาใจเรา
และดูเหมือนว่าจะยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องลุกลามไปเรื่อยๆ จนนำไปสู่ความผิดทางอาญาเกิดเป็นคดีความ คู่กรณีต้องขึ้นโรงขึ้นศาล ขัดแย้งกันต่อไปอีกระยะเวลานาน "อบอุ่นบนโลกออนไลน์ เดียวดายอยู่หน้าบัลลังก์" วลีนี้ยังปรากฎเป็นจริงอยู่เรื่อย ๆ ชาวเน็ตพึงระลึกเสมอ อย่าทะนงตนเป็นพลเมืองดีมาชี้เป้าผู้อื่น ปล่อยให้เป็นการบริหารจัดการกันเองของคู่กรณี มิฉะนั่นจะตกเป็นคู่ความเสียเอง
***เสรีภาพในการวิจารณ์มีได้ แต่ถ้าใช้ไม่เหมาะสม ผู้เสียหายก็มีสิทธิปกป้องตนเองเหมือนกัน ***
รูปภาพ : เครดิตบนภาพ