ทำไมเด็กถึงเป็นโรคสมาธิสั้น?
โรคสมาธิสั้น หรือ ภาวะสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder; ADHD) ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจนในขณะนี้ การศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากพบว่าปัจจัยเสี่ยงของโรคสมาธิสั้นอาจมีดังต่อไปนี้
ปัจจัยทางพันธุกรรม
หากคู่สมรสมีประวัติครอบครัวเป็นโรคสมาธิสั้น เด็กก็อาจสืบทอดโรคนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรให้ความสนใจมากขึ้นหลังคลอด
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในระหว่างตั้งครรภ์
การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การติดเชื้อไวรัสระหว่างตั้งครรภ์ มารดาตั้งครรภ์อยู่ในสถานที่ซึ่งอาจมีสภาวะแวดล้อมที่เป็นพิษเป็นเวลานาน เช่น บริเวณรอบๆมีการพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืช หรืออยู่ใกล้โรงงานที่ต้องใช้สารเคมีในการผลิต รวมทั้งพิษตะกั่วจากท่อไอเสีย ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อเด็กที่เกิดมาได้
ทารกคลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักแรกเกิดต่ำ
ทารกคลอดก่อนกำหนดคือทารกที่เกิดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์หรือมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2 กิโลกรัม ทารกเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น
ความผิดปกติของระบบประสาทและสมองถูกทำลายในทารก
มีหลายประเภท รวมถึงความผิดปกติของสารสื่อประสาทและความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาทอื่นๆ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่กล่าวข้างต้นในระหว่างตั้งครรภ์ ยาที่รับประทานระหว่างตั้งครรภ์ และความเสียหายของสมองที่เกิดจากโรคในทารกและเด็กเล็ก (การติดเชื้อ ไข้สูง โรคไข้สมองอักเสบ การบาดเจ็บ) เป็นต้น
ปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม
ส่วนใหญ่เกิดจากการที่เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูที่ไม่ดีมาเป็นเวลานาน และ/หรือ ได้รับวิธีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง โรคสมาธิสั้นประเภทนี้ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเชิงลบที่เกี่ยวข้องกับการหย่าร้างของพ่อแม่ บรรยากาศในครอบครัวที่ตึงเครียด มีการทะเลาะวิวาท ฯลฯ วิธีการดูแลที่ไม่เหมาะสมที่เกิดจากผู้ดูแลมีระดับการศึกษาไม่สูง เป็นต้น อาการ ADHD โดยทั่วไปมักแสดงออกมาทางพฤติกรรม แต่ไม่แสดงออกทางสรีรวิทยา ดังนั้น ADHD จึงสามารถบรรลุผลการรักษาที่ดีได้โดยการรักษาทางจิตใจ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดู เป็นต้น