นางคณิกา หญิงงามเมือง....ศิลปินระดับชาติในคราบนางโลม
รู้หรือไม่ว่า…การจะเป็นคณิกาชั้นสูงนั้น ชีวิตไม่ได้ต่างไปจากศิลปินฝึกหัด พวกนางหาใช่คนไม่มีความรู้ แต่หากต้องเป็นสตรีที่รอบรู้ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน วรรณกรรม วรรณคดี ศิลปะ จิตรกรรม ดนตรี สังคีต หรือแม้แต่การทำอาหารและขนมหวาน… วันนี้จะพามารู้จักยอดคณิกาแห่งเอเชีย เชื่อว่าทุกคนต้องเคยผ่านการดูซีรีย์ย้อนยุคที่มีนางโลม
"กีแซง (기생)" หญิงขายความงามและศิลปะในประวัติศาสตร์เกาหลี สมัยยุคโชซอน กีแซงต่างก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในศิลปะแขนงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเต้นรำ, ขับร้อง, เล่นดนตรี, เขียนอักษร, และแต่งกลอน และกีแซงยังเป็นหญิงที่ขายศิลปะแต่ไม่ได้ขายเรือนร่าง"
(The Rebel 2017 ฮันนี่ ลี รับบท ชางนกซู พระสนมชางซุกยงในพระเจ้ายอนซัน ที่รับมาจากหอนางโลม)
กีแซงมีชนชั้นเป็น "ชอนมิน (천민)" ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างเข้มงวด เพื่อสร้างความบันเทิงให้กับเหล่าชนชั้นสูงหรือขุนนางในสมัย
ราชวงศ์โชซอน พวกเธอมีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านวรรณคดี (กวี, นิพนธ์, ร้อยแก้ว) และดนตรี (ร้องเพลง, เต้นรำ) ส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงที่เข้ารับการฝึกเพื่อเป็นกีแซงจะมาจากครอบครัวยากจน และแม้จะอยู่ในชนชั้นทางสังคมที่ต่ำ แต่กีแซงที่มีความเชี่ยวชาญและได้รับการศึกษามาเป็นอย่างดีในด้านของศิลปะแขนงต่าง ๆ ก็จะได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่า อย่างไรก็ตามกีแซงไม่ใช่โสเภณีแต่อย่างใด เป็นเพียงผู้ที่ให้ความบันเทิงทางด้านศิลปะเท่านั้น
(Love, Lies 2016 ฮันฮโยจู แสดงเป็นกีแซง)
คณิกาของประเทศญี่ปุ่น เกอิชา แปลว่า บุคคลแห่งศิลปะ หรือ ศิลปิน ที่มาจากตัวอักษรคันจิ 2 ตัว คือ “เก” (芸) หมายถึงศิลปะ หรือ ความบันเทิง และ “ชา” (者) หมายถึงบุคคล เกอิชาเป็นศิลปินหญิงแห่งการแสดง โดยตามประเพณีแล้วจ้างมาเพื่อรับรองแขกที่โรงน้ำชา งานเลี้ยง และโอกาสอื่น ๆ เกอิชาจะร้องเพลง เต้นรำ แสดงดนตรีเช่นซามิเซ็น จัดพิธีชงชา คอยปรนนิบัติ รินเหล้าให้ด้วยความยกย่องนับถืออย่างนอบน้อม พร้อมชวนคุยให้เพลิดเพลินและมีความรู้
(น้ำผึ้ง ณัฐริกา ละครกลกิโมโน)
การเป็นเกอิชานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ต้องเข้าเรียนในโรงเรียนเกอิชา เรียนรู้และ ฝึกฝนเป็นระยะเวลาหลายปี ผ่านการทดสอบความรู้ทางอาชีพ จึงจะได้รับสิทธิ์เป็นเกอิชา ซึ่งเกอิชามีหน้าที่สร้างสีสันในงานเลี้ยง ปัจจุบันก็เปรียบได้กับ “เด็กเอ็นเตอร์เทน”
(จางซิยี่ มิเชลโหย่ว กงลี่ ภาพยนตร์ Memoirs Of A Geisha)
โออิรัน คือชื่อเรียกของโสเภณีชั้นสูงของญี่ปุ่น ซึ่งมีที่มาจากคำว่า ‘โออิระ โนะ โทโคโระ โนะ เนซัง’ (Oira no Tokoro no Nesan)’ ที่มีความหมายว่า ‘พี่สาวของฉัน’ ถือกำเนิดขึ้นในช่วงยุคเอโดะหรือประมาณปี 1603-1868 ซึ่ง โออิรัน คือผู้ที่อยู่ในลำดับสูงสุดของอาชีพโสเภณี มีสิทธิ์เลือกหรือปฏิเสธการรับแขก/การร่วมเตียง เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นโสเภณีชั้นสูง การจะเป็นโออิรันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้ที่จะขึ้นเป็นโออิรันได้จะต้องถูกฝึกฝนให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถรอบด้านตั้งแต่เด็กๆ พวกเธอจึงมีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านวรรณคดี (กวี, นิพนธ์, ร้อยแก้ว) และดนตรี (ร้องเพลง, เต้นรำ)
(นาคาทานิ มิกิ ซีรีย์ญี่ปุ่น จิน หมอทะลุศตวรรษ)
ในประวัติศาสตร์จีน นางคณิกา (อี้จี้ 艺妓 ) ขายศิลป์ไม่ขายตัวอี้จี้ส่วนใหญ่เป็นงานในการแสดงศิลปะให้ความสำราญ เช่น งานร่ายวรรณกรรมและศิลปะและให้ความบันเทิงคล้ายๆดาราในสมัยนี้
(จางอวี่ซี ซีรีย์จีน หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์)
นางคณิกาชั้นสูงหรืออี้จีเป็นสิ่งที่อยู่คู่วัฒนธรรมจีนมานาน โดยซ่องโสเภณีแบบผับบาร์ หญิงตระกูลดีที่โชคร้ายต้องตกต่ำ หรือสาวชาวบ้านสวยๆ ที่พ่อแม่ขาย มาฝึกปรือศิลปะมารยาท และมารยาการมัดใจชาย อี้จีจะขายดนตรี ขายศิลปะ ขายการเป็นเพื่อนคุย ดังที่จะเห้นได้จากหนังจีน บรรดาคุณชายผู้ดี หรือเหล่าจอมยุทธจะมเพื่อนคุยเป็นนางคณิกา
(108 ผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซาน อันอวี่เซียน รับบท หลี่ซือซือ นางคณิกาในดวงใจของฮ่องเต้ซ่งฮุ่ยจง)
“โสเภณี” นั้นปรากฏขึ้นบนแผ่นดินสยามนานเกือบ 600 ปีแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ดังระบุไว้ในกฎหมายตราสามดวง ได้กล่าวถึง “หญิงนครโสเภณี” ระบุว่า หญิงนครโสเภณีนั้นถือเอาเป็นพยานเวลาขึ้นศาลมิได้ มีค่าเทียบได้กับคนหูหนวก คนตาบอด เป็นโจร คนเป็นนักเลงบ่อนเบี้ย สถานะทางสังคมของหญิงขายบริการนั้นถูกกดขี่เหยียดหยามให้กลายเป็นพลเมืองชั้นล่างสุด
(ชาร์เลท วาศิตา รับบท เทียนหยด, อิงฟ้า วราหะ รับบท กุหลาบ, ก้อย อรัชพร รับบท โบตั๋น ละครบางกอกคณิกา)
ในจดหมายเหตุของราชทูต เดอ ลาลูแบร์ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงอยุธยาตอนปลาย พรรณนาถึงที่ตั้งโรงหญิงนครโสเภณีว่ามีหลักแหล่งอยู่นอกเขตพระนคร คือที่ท้ายตลาดบ้านจีนปากคลองขุนละครไชย มีโรงหญิงนครโสเภณีตั้งอยู่ถึง 4 โรง ประกาศชื่อหน้าโรงว่า “รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ” โรงเหล่านี้ต้องจ่าย “อากรโสเภณี” ส่งคลังหลวงทุกปี- แสดงว่ามีลูกค้าและรายได้ดีมาก ข้อสำคัญเป็นกิจการที่ถูกต้องตามกฎหมาย
(หญิง จุฬาลักษณ์ อิสมาโลน รับบท ยี่สุ่น จากละครหนึ่งด้าวฟ้าเดียว)
มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากเก็บกิน “อากรโสเภณี” สืบเนื่องต่อจากสมัยอยุธยากันจนเป็นล่ำเป็นสันแล้ว นโยบายเกี่ยวกับการค้าประเวณีของไทยก็เพิ่งจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามรูปแบบที่รับอิทธิพลมาจากสังคมตะวันตก มีกฎหมายกำกับดูแลอาชีพโสเภณี คือ “พระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทร์ศก 127” มีสาระสำคัญอยู่ 5 ข้อหลัก ๆ คือ
1) หญิงนครโสเภณีให้เป็นได้แต่โดยใจสมัคร ใครจะบังคับหรือล่อลวงมามิได้
2) ต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตราคาสิบสองบาท มีอายุสามเดือนต่อใบ (ถือว่าแพงลิบลิ่วมากในสมัยนั้น)
3) นายโรงหญิงนครโสเภณี (ที่ต่อมานิยมเรียกว่า “แม่เล้า”) ต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้น เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการดูแลกันเอง
4) หญิงนครโสเภณีต้องไม่สร้างความรำคาญวุ่นวายแก่บุคคลภายนอก เช่น ฉุดลาก ยื้อแย่ง ล้อเลียน เป็นต้น
5) เจ้าพนักงานมีอำนาจเข้าไป เพื่อนำสมาชิกมาตรวจ ถ้าพบโรคก็ให้ส่งไปรักษาจนกว่าจะหาย แลอาจเพิกถอนหรือสั่งพักใช้ใบอนุญาต
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้ประกาศให้อาชีพโสเภณีผิดกฎหมาย ห้ามจัดตั้งสำนักโสเภณีอย่างเด็ดขาด ตามแนวคิด “คืนคนดีศรีสังคม” เดินตามรอยองค์การสหประชาชาติ ซึ่งไทยก็เป็นรัฐภาคีแห่งอนุสัญญานี้
(นุ่น วรนุช ละครแม่อายสะอื้น)
* ปัจจุบันประเทศไทยกำลังมีกระแสต้องการให้ฟื้นฟูอาชีพโสเภณีถูกกฎหมาย เรียกว่า “Sex Worker” *
รูปภาพ : เครดิตบนภาพ