"วิหารทองคำ"(Amrit Sarovar) ซึ่งเชื่อว่ามีน้ำที่สามารถชำระล้างบาปได้ (สกู๊ปพิเศษ)
"วิหารทองคำ"(Amrit Sarovar) ซึ่งเชื่อว่ามีน้ำที่สามารถชำระล้างบาปได้
วิหารทองคำเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและอิสลาม ตัววิหารมีการปิดทองคำเปลวอย่างหรูหรา โดยเฉพาะหลังคาที่ทำจากทองคำบริสุทธิ์ นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักลวดลายและภาพวาดที่งดงามรอบ ๆ วิหาร นอกจากนี้ วิหารทองคำยังตั้งอยู่กลางสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ (Amrit Sarovar) ซึ่งเชื่อว่ามีน้ำที่สามารถชำระล้างบาปได้วิหารทองคำของชาวซิกข์
พระวิหารหริมันทิรสาหิบ หรือ วิหารทองคำ
ถือเป็นศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของศาสนาซิกข์ ตั้งอยู่ที่เมืองอมฤตสระ รัฐปัญจาบ ทางภาคเหนือของประเทศอินเดีย
ตัววิหารสร้างขึ้นกลางสระน้ำ โดยคุรุรามดาส (Guru Ram Das) ในปี 1577 ต่อมาคุรุอาร์จัน (Guru Arjan) ซึ่งทรงเป็นคุรุศาสดาองค์ที่ 5 ตามความเชื่อของซิกข์ได้ทรงรับสั่งให้มีการวางศิลาฤกษ์ในปี 1589
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวซิกข์ จึงถูกทำลายอย่างต่อเนื่องทั้งจากกองทัพมุสลิมของอาณาจักรในอัฟกานิสถานและจากจักรวรรดิโมกุล มหาราชา พระนามว่า รันจิต สิงห์ (Maharaja Ranjit Singh) ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิซิกข์ ได้ทรงบูรณะวิหารใหม่ครั้งใหญ่โดยประดับด้วยหินอ่อนและทองแดงในปี 1809 และประดับภายนอกด้วยทองคำเปลวในปี 1830 ทำให้วิหารแห่งนี้ได้รับชื่อว่าเป็น "วิหารทองคำ" นับแต่นั้นมา