1 ปีแสง เท่ากับกี่กิโลเมตร
เมื่อไม่นานมานี้ องค์การนาซาได้ค้นพบดาวเคราะห์ที่คล้ายโลก ซึ่งอาจมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับมนุษย์อาศัยอยู่ นักวิทยาศาสตร์ของนาซาตื่นเต้นมากที่ได้ค้นพบดาวเคราะห์เพิ่มอีกหนึ่งดวง และเอื้อต่อการอยู่อาศัยของมนุษย์
ดาวเคราะห์ดวงนี้ชื่อว่า “กลีเซอ 12บี” แต่การเดินทางไปดาวเคราะห์ดวงนี้จะต้องใช้ระยะทาง 40 ปีแสง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะเดินทางด้วยความเร็วแสง
ระยะทาง 1 ปีแสง ในทางดาราศาสตร์ คือระยะทางกี่กิโลเมตร? ความเร็วแสงคืออะไร? แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์เดินทางเร็วกว่าแสง? หากเราต้องเดินทางไปดาวดวงนี้ ซึ่งใช้ระยะทาง 40 ปีแสง เราจะมีโอกาสเดินทางไปถึงที่นั่นหรือไม่?
1.ปีแสง คือหน่วยวัดระยะทาง ไม่ใช่หน่วยวัดเวลา
หลายคนเข้าใจผิดว่า "ปีแสง" เป็นหน่วยวัดเวลา แต่ความจริงก็คือ "ปีแสง" เป็นหน่วยวัดระยะทาง ดังนั้น 1 ปีแสง จึงเท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางไปถึง โดยใช้เวลาเดินทาง 1 ปี
2.อัตราเร็วแสง/1วินาที
เพียง 1 วินาที แสงจะเดินทางด้วยอัตราเร็วความเร็วอยู่ที่ 299,792,458 เมตร ระยะทาง 1 ปีแสง จึงมีค่าประมาณ 9.4607×1012 กิโลเมตร = 63,241.077 หน่วยดาราศาสตร์ = 0.30660 พาร์เซก
3.เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์เดินทางเร็วกว่าแสง
จักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล ใช้เวลาหลายปีกว่าแสงจากวัตถุบนท้องฟ้า ซึ่งอยู่ห่างจากโลกออกไปหลายปีแสง จึงจะมาถึงเรา ดังนั้นแสงที่เราเห็นบนท้องฟ้าจึงเป็นแสงจากอดีตของวัตถุนั้น หากมนุษย์เดินทางเร็วกว่าแสง จะเกิดอะไรขึ้น "ยกตัวอย่างจากการสมมุติในวันที่อากาศปลอดโปร่ง คุณกำลังนั่งดื่มกาแฟในที่โล่งแจ้ง ที่ที่แสงแดดกระทบตัวคุณ อนุภาคของแสงที่กระทบคุณจะสะท้อนขึ้นไปบนอวกาศ และถ้าคุณเคลื่อนตัวไปตามลำแสงนี้ พร้อมกับนำกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากไปด้วย หากคุณเคลื่อนที่เร็วกว่าแสงและแซงลำแสงนี้ไป แล้วคุณตั้งกล้องโทรทรรศน์ส่องลำแสงที่กำลังจะมาถึง สิ่งที่คุณเห็นคือคุณเห็นตัวเองกำลังนั่งดื่มกาแฟ นั่นหมายความว่าถ้าคุณเคลื่อนที่เร็วกว่าความเร็วแสง คุณจะสามารถมองเห็นอดีตได้"
4.สิ่งที่ทำให้เกิดแสง
แสงเกิดจากอนุภาคอะตอม ที่เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องและขณะเคลื่อนที่ อะตอมเหล่านั้นชนกันและกลายเป็นพลังงาน พลังงานบางส่วนถูกกระจายออกมาทางอะตอม อยู่ในรูปรังสีที่ประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (แสง คลื่นวิทยุ รังสีเอกซเรย์ รังสีแกมม่า)
5.อะไรเร็วกว่าแสง
ในทางทฤษฎีแล้วไม่มีสิ่งใดที่สามารถเคลื่อนที่เร็วกว่าแสงได้ แต่อาจไม่ใช่เสมอไป หลักการทางวิทยาศาสตร์ได้กล่าวไว้ว่า จักรวาลขยายตัวเร็วกว่าความเร็วแสงอยู่ตลอดเวลา และไม่มีอนุภาคใดในจักรวาลสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าความเร็วแสง เมื่อบิกแบงเกิดขึ้นในจักรวาลเป็นครั้งแรก ถือเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งในจักรวาล มีการขยายตัวของจักรวาลและเอกภพ พลังงานเกิดขึ้นทุกทิศทุกทาง ความเร็วแสงก็เกิดขึ้นในทุกทิศทาง ตามการขยายตัวของจักรวาล แต่ไม่สามารถแซงการขยายตัวของจักรวาลหรือเอกภพได้ สรุปได้ว่าความเร็วแสงไม่สามารถเร็วไปกว่าการขยายตัวของจักรวาลได้
แม้ว่าการเดินทางไปยังดาวเคราะห์ “กลีเซอ 12บี” ภายใน 40 ปีแสง อาจไม่สามารถทำได้ในปัจจุบัน แต่มนุษย์ก็ยังคงสำรวจอวกาศ พัฒนาเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์และอาจนำไปสู่การเดินทางไปยังดวงดาวได้ในอนาคต