หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ลูกฆ่าพ่อแม่ ตำนาน เมืองคันธาธิราช (อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม)

โพสท์โดย ประเสริฐ ยอดสง่า

 

เมืองคันธาธิราช ตั้งขึ้นเมื่อปีมะเส็ง จุลศักราช 147 (ปี พ.ศ. 1328) เมืองนี้ ตั้งอยู่นานเป็นพันปี มีเจ้าผู้ปกครองเมือง ผัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา หลายยุคหลายสมัย จนถึงยุคสมัยของท้าวลินจงครองเมือง จึงเกิดตำนานการสร้างพระพุทธรูปยืนสององค์

หลวงพ่อพระยืนทั้งสององค์ ผินพระพักตร์ไปทางทิศทักษิณ เป็นปูชนียวัตถุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง หลวงพ่อพระยืนทั้งสององค์ อยู่ห่างกันประมาณ 1,250 เมตร ตามตำนาน หรือประวัติ ที่หาหลักฐานยืนยันได้จากใบเสมา ที่ฝังอยู่ใกล้องค์พระ เขียนเป็นภาษาขอม ว่า หลวงพ่อพระยืนทั้งสององค์ สร้างปีฮวดสง่า พุทธศักราช 1399 ปัจจุบัน ยังมีตัวอักษรปรากฏที่ใบเสมา แต่เลอะเลือนมากแล้ว ตามคำบอกเล่าสืบทอดกันมา มีผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่า ได้รับฟังจากบรรพบุรุษเล่าว่า เดิมที่ดินแดนแถบนี้ ขอมได้ครอบครองมาก่อน ต่อมาทางนครเวียงจันทร์มีอำนาจ เข้าครอบครองจากขอม มีเจ้าผู้ครอบครองโดยอิสระ เรียกกันว่า “เมืองกันทาง” หรือ “เมืองคันธาธิราช” ก่อนปีมะเส็งจุลศักราช ( ปี พ.ศ.1328) ผู้ครองเมืองคนสุดท้ายนามว่า “ท้าวลินจง” ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงบริเวณ” มีภรรยาชื่อ บัวคำ ปกครองราษฎร ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข

ท้าวลินจงมีบุตรชายคนเดียวชื่อ ท้าวสิงห์โต หรือ ท้าวลินทอง ซึ่งเป็นผู้ที่มีจิตใจโหดเหี้ยมทารุณมาก ท้าวลินจงชราลง ก็ต้องการหาคนมาปกครองเมืองแทนตน หากให้ท้าวลินทองมาปกครองแทน ก็เป็นการไม่เหมาะสม จะเป็นเหตุให้ราษฎรต้องเดือดร้อน เพราะขาดความเมตตา เมื่อทราบถึงท้าวลินทอง ทำให้เกิดความโกรธแค้นผู้เป็นบิดายิ่งนัก จึงได้ตัดพ้อต่อว่าบิดาต่างๆ นานา แล้วบังคับให้บิดา ตั้งตนเป็นผู้ปกครองเมืองแทน ผู้เป็นบิดาไม่ยินยอม ท้าวลินทอง จึงจับผู้เป็นบิดาขัง ทรมานด้วยการเฆี่ยน ทุบตี ใช้มีดกรีดตามตัว เพื่อบังคับให้บิดายกเมืองให้ตน บิดาก็หาได้ยอมไม่ บิดาได้รับการทรมานต่อไป

โดยการโดนขังในห้องมืด ห้ามข้าว ห้ามน้ำ มิให้ผู้ใดเข้าเยี่ยมโดยเด็ดขาด นอกจากมารดาเพียงผู้เดียว แต่ไม่ให้นำน้ำนำอาหารไปให้บิดา มารดาได้ทัดทาน อ้อนวอนอย่างใด ท้าวลินทองก็หาฟังไม่ ด้วยความรักและความห่วงใยในสามี นางจึงทำอุบายนำข้าว น้ำ ให้เอาผ้าสะไบเฉียง ชุบข้าวบดผสมน้ำ นำไปเยี่ยมสามี ให้สามีดูดกินประทังชีวิตไปวันๆ แต่หาได้พ้นสายตาของท้าวลินทองไม่

ดังนั้น จึงห้ามให้เข้าเยี่ยมต่อไป ท้าวลินจง อดข้าว อดน้ำ ได้รับความทรมานแสนสาหัส และได้ถึงแก่ความตายในที่สุด แต่ก่อนจะสิ้นใจ ท้าวลินจงได้ตั้งอธิษฐาน ฝากเทพยดาผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ผู้สถิตย์อยู่ ณ พื้นธรณีนั้นว่า

 “ด้วยจิตใจบริสุทธิ์ของข้าพเจ้า เพื่อหวังความสงบสุขของบ้านเมือง อันเป็นที่ตั้งอยู่อาศัยของข้าพเจ้า แต่เหตุการณ์ในชีวิต กลับมีการเป็นไป ได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส ขอให้เทพยดาฟ้าดิน ผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ขอให้ข้าพเจ้าไปเกิดในที่สุขเถิด และขอให้มนุษย์มีจิตใจโหดร้าย ทารุณ ขาดคุณธรรม ไม่มีสัจจะ พูดโกหก หลอกลวง ไม่สัตย์ซื่อ นับแต่นี้ไปข้างหน้า จะเป็นผู้ใดก็ตาม หากมาเป็นเจ้าเมืองนี้แล้วขอให้มีความเดือดร้อนหายนะ ต่างๆ นานา เถิด”

เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้ว ก็สิ้นลมหายใจ นางบัวคำผู้เป็นมารดา ได้ทราบว่า สามีเสียชีวิต จึงได้ต่อว่าท้าวลินทองผู้เป็นบุตร ว่าทรมานบิดาของตนถึงแก่ความตาย ท้วลินทองไม่พอใจ จึงฆ่ามารดาของตนอีกคน จากนั้นท้าวลินทองก็ขึ้นครองเมืองคันธาธิราชสืบมา นับแต่ที่ท้าวลินทองครองเมือง ทำให้บ้านเมือง มีแต่ความระส่ำระสาย ประชาราษฎร์ได้รับความเดือดร้อน ทำให้ท้าวลินทองไม่สบายใจ จึงหาโหรมาทำนาย  ซึ่งเป็นโหรจากเมืองพิมาย โหรทำนายว่า ท้าวลินทอง ได้ทำบาปกรรมไว้มาก และผลจากการอธิษฐานของบิดา และยังได้ฆ่ามารดาของตน ทั้งจะล้างบาปได้ ให้สร้างพระพุทธรูป เพื่ออุทิศบุญกุศลทดแทนคุณบิดามารดา ท้าวลินทองจึงสร้างพระพุทธรูปขึ้น 2 องค์ เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา พระพุทธรูปองค์หนึ่ง สร้างทดแทนคุณมารดา สร้างที่นอกเขตกำแพงเมืองทางทิศอุดร คือพระพุทธรูปมิ่งเมือง มีหน้าตาคล้ายมารดา ประดิษฐานอยู่ที่วัดสุวรรณาวาส และสร้างพระพุทธรูปองค์ที่สอง เพื่อทดแทนคุณบิดา สร้างขึ้นในกำแพงเมือง มีลักษณะหน้าตาคล้ายบิดา ประดิษฐานที่วัดบ้านสระ (หรือวัดพุทธมงคล) ซึ่งทั้งสององค์ ผินพักตร์ไปเบื้องทักษิณทิศ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ความกระวนกระวายใจก็มิได้เบาบางลง

จากนั้นท้าวลินทองก็ล้มป่วยลงอย่างกะทันหัน พอดีโหรจากเมืองพิมายเดินทางผ่านมา และขอเข้าทำนายดวงชะตาชีวิต ของท้าวลินทอง ได้ทำนายว่า ท้าวลินทองจะตายภายใน 7 วัน ท้าวลินทองได้ยินถึงกับบันดาลโทสะ สั่งประหารชีวิตโหรทันที แต่พวกข้าราชการได้ปรึกษาขอไว้ชีวิตโหร จึงได้ทำนายต่อไปว่า หากท้าวลินทองสร้างพระพุทธรูปปางพุทธไสยาสน์ ด้วยทองคำหนักเท่าตัว ขึ้นอีกองค์หนึ่ง ความทุกข์ร้อนที่มีอยู่ก็จะบรรเทาลง ท้าวลินทอง จึงได้สร้างพระพุทธไสยาสน์ด้วยทองคำ ตามคำทำนายของโหรขึ้น แล้วสร้างพระอุโบสถ ขึ้นเพื่อครอบองค์พระไว้ แต่ด้วยบาปกรรมมีมาก จึงสร้างไม่สำเร็จ

ท้าวลินทองก็ได้ถึงแก่ความตาย แต่ก่อนสิ้นใจ ท้าวลินทองได้อธิษฐานว่า “ขอพระพุทธรูปทองคำอย่าให้คนพบเห็นเป็นอันขาด หากผู้ใดมีเคราะห์กรรมได้พบเห็น ขอให้ผู้นั้นล้มป่วย พินาศฉิบหาย และถึงแก่ความตาย” ตั้งแต่นั้นมา ก็ไม่มีผู้ใด ได้พบเห็นพระอุโบสถ(พระพุทธรูปทองคำ) นั้นเลย กาลล่วงเลยมานานจนเกิดเป็นป่าร้าง ต้นไม้ปกคลุมหนาทึบ พระพุทธรูปทองคำ ถ้าผู้ใดชะตาถึงฆาต พบเห็น ก็เกิดอาเพทป่วยไข้ถึงตายทุกราย ความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เล่าลือ ตราบเท่าทุกวันนี้

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองคันธาธิราช ก็ถึงกาลอวสาน กลายเป็นเมืองร้างมาอีกช้านาน นับแต่สร้างเมือง มาจนถึงเมืองร้าง เป็นระยะเวลา 1,089 ปี สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 จึงทรงกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ให้ชื่อว่า “เมืองคันธาวิชัย” หรือ เมืองกันทะวิชัย

เมืองคันธะวิชัย หรือเมืองกันทะวิชัย มีฐานะเป็นเมือง มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง ขึ้นตรงต่อเมืองกาฬสินธุ์ จากพงศาวดารเล่าว่า ครั้งจุลศักราช 1236 ปีจอ (พ.ศ. 2417) ฝ่ายเมืองกาฬสินธุ์ พระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง มีใบบอก ขอตั้งเมืองกันทางร้าง เป็นเมืองท้าวคำมูล คนเมืองมหาสารคามซึ่งอพยพ ท้าวเพี้ย จำนวนตัวเลขที่สมัครรวม 2,700 คนเศษ มาตั้งอยู่เป็นเจ้าเมือง และตั้งเพี้ยเวียงแก เพี้ยเวียงทอ เพี้ยไชยสุริยา และเพี้ยนามวิเศษ รับตำแหน่งอุปฮาด ราชวงษา ราชบุตร ผู้ช่วยเต็มอัตรา จึงขอทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งบ้านคันทางร้าง เป็นเมือง “กันทะวิชัย” ตั้งให้เพี้ยคำมูลเป็น พระปทุมวิเศษ เจ้าเมือง ให้เพี้ยเวียงทอ เป็นราชวงษ์ เพี้ยไชยสุริยาเป็นราชบุตร ให้เพี้ยนามวิเศษ เป็นที่หลวงจำนงภักดี ผู้ช่วยทำราชการขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ แต่เพี้ยเมืองแก ไม่ได้ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพ ฯ จึงหาได้มีราชสีห์ตั้งไม่ เป็น แต่ได้รับตำแหน่งอุปฮาต ตามใบบอกของพระยาไชยสุนทร เท่านั้น

ในปีนี้ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) เป็นข้าหลวง ไปจัดรักษาการอยู่ ณ เมืองอุบล เดือน 4 แรม 14 ค่ำ ปีนี้ เวลาบ่ายโมงเศษ ได้มีสุริยปราคา จับมืดอยู่ครู่หนึ่ง ก็แจ้งสว่าง ตามความในพงศาวดาร ปรากฏเพียงเท่านี้

ฉะนั้น ตามประวัติมหาดไทยเขียนไว้ว่า พระปทุมวิเศษ (ทองคำ) เป็นเจ้าเมืองคนแรกนั้น หาได้ตรงตามหลักฐาน ที่ปรากฏในพงศาวดารไม่ แต่เป็นพระปทุมวิเศษคนต่อมา พระปทุมวิเศษคำมูล เป็นหลานของพระยาขัติยวงษ์ (สีสัง) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด เป็นน้องเขยของพระเจริญราชเดช (ฮึง) เจ้าเมืองมหาสารคามคนที่สอง เวลานั้น เขตท้องที่ของเมืองกันทรวิชัย จะมีอาณาเขตเท่าใดไม่ปรากฏ คงถือเอาตามถิ่นที่อยู่ของพลเมือง (จำนวนของพลเมือง) ที่ขอแต่งตั้งเป็นเมือง เพราะปรากฏว่า บ้านท่าขอนยางนั้น ก็เป็นอีกเมืองหนึ่งต่างหาก ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองกันทรวิชัย ไปทางทิศใต้เพียง 11 กม. เท่านั้น เป็นเมืองที่ขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ เมืองท่าขอนยาง ตั้งขึ้นมาก่อนเมืองกันทรวิชัย ประมาณ 29 ปี ดังปรากฏในพงศาวดารว่า

จุลศักราช 1207 (พ.ศ. 2388) โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้พระคำดวน (ฤคำกอน) เมืองคำเกิด ซึ่งอยู่บ้านท่าขอนยาง เป็น (พระสุวรรณภักดี) เจ้าเมือง ให้อุปฮาตเมืองคำเกิดเป็น อุปราช ราชวงษ์เมืองคำเกิดเป็นราชวงษ์ ราชบุตรเมืองคำเกิดเป็นราชบุตร ยกบ้านท่าขอนยางเป็นเมืองท่าขอนยาง ผูกส่วยผลเร่วสีสอบ หาบคิดหาบละ 5 ตำลึง รวมเป็นเงินส่งแทนผลเร่วปีละ 10 ชั่ง และพระราชทานพระสุพรรณภักดี (คำดวน ฤ คำกอน) เงินตราชั่ง 5 ตำลึง ถาดหมาก คณโฑเงิน 1 สัปทน แพรคัน 1 เสื้อเข็มขาบก้านแหย่ง 1 ผ้าโพกแพรขลิบ 1 ผ้าปักทองมีซับ 1 แพรขาวห่ม 1 ผ้าปูม 1

พระราชทานอุปฮาดราชวงษ์ ราชบุตร เมืองท่าขอนยาง อย่างเดียวกับเมืองภูแล่นช้าง พระคำดวนผู้นี้ เคยเป็นเจ้าเมืองคำเกิด แขวงเมืองนครพนม พาครอบครัวและกรมการเมือง อพยพหนีภัยจากเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ซึ่งยกกองทัพมาตีหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคอีสาน แล้วกวาดต้อนเข้าเป็นไพร่พล สมทบยกกำลังมาตีกรุงเทพ ฯ

ครั้นจุลศักราช 1198 ปีวอก อัฐศก (พ.ศ. 2396) พระมหาอำมาตย์ (ป้อม) และพระมหาสงคราม ซึ่งได้รับพระราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้เกณฑ์กำลังพลเมืองฝ่ายเหนือเฉียงตะวันออก ได้จัดการให้ครบครัวของพระลำดวน ซึ่งมีจำนวนคน 1,875 คน ตั้งอยู่บ้านท่าขอนยาง พร้อมกับพระยาคำแดง ซึ่งเป็นอุปฮาดเมืองคำดวน พร้อมด้วยกรมการเมือง และไพร่พลจำนวน 933 คน ตั้งอยู่ตำบลแซงกระดาน แขวงเมืองกาฬสินธุ์ ทั้ง 2 ตำบล อยู่ต่อมาจึงยกฐานะเป็นเมืองดังกล่าวแล้ว ในสมัยพระยาไชยสุนทร (เลื่อน) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์

ครั้นถึงจุลศักราช 1245 (ปี พ.ศ. 2426) พระสุวรรณภักดี (คำดวน) เจ้าเมืองท่าขอนยาง ไม่พอใจจะทำราชการ ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ จึงขออพยพครอบครัวจากเมืองท่าขอนยาง ไปทำราชการ ขึ้นกับเมืองท่าอุเทน ส่วนเมืองท่าขอนยาง มีแต่อุปฮาด ราชวงษ์ และกรรมการรักษาบ้านเมืองเท่านั้น

ส่วนเหตุการณ์เกี่ยวกับเมืองกันทรวิชัย นับตั้งแต่ได้ตั้งเป็นเมือง มาเป็นเวลา 8 ปี คือ จุลศักราช 1244 (ปี พ.ศ. 2425) พระปทุมวิเศษ คำมูล ได้เกิดคดีความกับเพี้ยเมืองกลาง (เมืองมหาสารคาม) จึงมีพระบรมราชโองการ ฯ ให้พระปทุมวิเศษ (คำมูล) เจ้าเมือง พระราชวงษ์เมืองทอ เมืองกันทรวิชัย กับเพี้ยเมืองกลาง (เมืองมหาสารคาม) ลงไปชำระความที่กรุงเทพ ฯ แต่ความยังไม่สำเร็จ คนทั้งสองก็ถึงแก่กรรมเสียก่อน ที่กรุงเทพ ฯ เมืองกันทะวิชัย คงมีแต่เพี้ยเวียงแก ผู้รับตำแหน่งอุปฮาด กับราชบุตร (ไชยสุริยา) อยู่รักษาบ้านเมือง แต่เพี้ยเวียงแก กับราชบุตร (ไชยสุริยา) เห็นว่าตนเป็นคนชรา จึงพร้อมด้วยกรมการเมือง บอกขอท้าวทองคำ (หลานพระขัติยวงษาจันทร์) เมืองร้อยเอ็ด มารับราชการตำแหน่งเจ้าเมือง และขอหลวงศรีสงคราม ว่าที่ราชวงษ์ ท้าวสีทะ ว่าที่หลวงภักดีผู้ช่วย มีตราโปรดเกล้า ฯ อนุญาตให้บุคคลทั้งสาม รับราชการตามหน้าที่ขอไป รับราชการบ้านเมืองสืบไป

ลุถึงจุลศักราช 1251 (ร.ศ. 108) ตรงกับปีฉลู พ.ศ. 2432 เดือน มีนาคม ผู้รักษาการเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ (ราชวงษ์เชียงโต) และกรมการเมืองกาฬสินธุ์ มีใบบอกขอท้าวทองคำ เป็น “พระปทุม”วิเศษ” ผู้ว่าการเมืองกันทะวิชัย ขอราชวงษ์หลวงศรีสงคราม เป็นอุปฮาต ขอท้าวแฮดเป็นราชวงษ์ ขอท้าวสีทะเป็นราชบุตร เมืองกันทะวิชัย ท้าวทองคำได้นำใบบอก ไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพ ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตร ให้ท้าวทองคำเป็น (พระปทุมพิเศษ) ผู้ว่าราชการเมืองกันทะวิชัย ส่วนตำแหน่งอุปฮาต ราชวงษ์ ราชบุตร นั้น ก็ได้มีตราตั้งตราพระราชสีห์ ให้ตามที่เมืองกาฬสินธุ์ขอไป

เป็นอันว่าพระปทุมวิเศษ (ทองคำ) ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการเมืองกันทะวิชัย เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2443 เมืองกันทะวิชัยถูกยุบลง เป็นอำเภอ ชื่อว่า “อำเภอกันทรวิชัย” ต่อมาปี พ.ศ. 2456 ได้โอนอำเภอกันทรวิชัย มาขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม จนถึงปัจจุบัน

เดิมทีเดียว ที่ว่าการอำเภอกันทรวิชัย ได้ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนบ้านคันธาร์ ฯ ตรงริมฝั่งหนองบัว ด้านทิศใต้ (ที่ตั้งโรงเรียนบ้านคันธาร์ ฯ ในปัจจุบัน) จนถึงปี พ.ศ. 2458 สมัยหลวงชาญรัฐกิจ (เชย) เป็นนายอำเภอ ได้รับเงินงบประมาณ สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากที่เดิม มาสร้างขึ้นที่บ้านโคกพระ บริเวณที่ดินฝั่งหนองบัว ด้านทิศเหนือ คือสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน

ถึงปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอกันทรวิชัย เป็นอำเภอ “โคกพระ” โดยอาศัยมงคลนาม จากพระพุทธรูปยืน วัดบ้านโคกพระ (หรือวัดสุวรรณาวาส) ชื่ออำเภอโคกพระนี้ เป็นที่รู้จักกันดี จนถึงปี พ.ศ. 2482 ทางราชการ นิยมเปลี่ยนชื่อสถานที่ราชการ อำเภอโคกพระ จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาใช้ “กันทรวิชัย” อย่างเดิมตราบเท่าทุกวันนี้

 

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: แหล่งที่มาของข้อมูล
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
15 VOTES (5/5 จาก 3 คน)
VOTED: ลิลลี่ ไมโครนอส, ประเสริฐ ยอดสง่า, แสร์
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
โค้งสุดท้ายก่อนหวยออก เปิดเลขเด็ดเลขดัง "หลวงปู่ศิลา" ชูนิ้ว ทำแผงแทบแตกดาวรุ่งดับ! นักแบดมินตันจีนวัย 17 เสียชีวิตกะทันหันระหว่างแข่งขันต้มยำกุ้ง - เคบายา ลุ้น UNESCO จดทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเปิดทฤษฎีสมคบคิด เพราะอะไร "Rock star" ของ "ลิซ่า" ต้องมีท่อนสอนภาษาญี่ปุ่น ?ไก่ เจ้าพายุ 1 กรกฎาคม 2567สาวสองพูดไทยอาละวาดร้านหรูที่ไต้หวัน แหล่งข่าวเผย ไม่ใช่คนไทยโค้งสุดท้าย!! เลขเด็ดเลขปฏิทินงวดนี้ หวยรัฐบาลไทย 01/07/67เด็กเกือบตๅย หลังเกิดหลุมยุบข้างสระระทึกเกิดไฟไหม้เผาวอด 30 ร้านค้าถุงลมหนังแพะ เป็นหนึ่งตัวช่วยของทหารอัสซีเรียในการรบคน 12 ราศี ทำแบบนี้แล้วการงานจะก้าวหน้าผลการศึกษาพบว่า ในอนาคตอาจไม่มีช็อคโกแลตให้เรากินอีกต่อไป
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เปิดทฤษฎีสมคบคิด เพราะอะไร "Rock star" ของ "ลิซ่า" ต้องมีท่อนสอนภาษาญี่ปุ่น ?เคล็ดลับการทำบะจ่าง ให้อร่อยกลมกล่อมต้มยำกุ้ง - เคบายา ลุ้น UNESCO จดทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมสะพานลอยน้ำสำหรับรถวิ่ง ในประเทศจีนดีไซเนอร์แดนมังกร กล่าวหา "ลิซ่า" เลียนแบบเสื้อดาวที่ตนออกแบบระทึกเกิดไฟไหม้เผาวอด 30 ร้านค้า
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
ชาวเน็ตแห่แซว "ลิซ่า" พอว่างจาก RockStar..ก็จะมาขายไก่ทอด 🤣ตำนานเจ้าพ่อล้านช้าง (อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา)Diablo immortal The Land of Sanctuary -Ivgorod-มนตราวายสะ ตอนที่ 9 ครอบครอง (1)
ตั้งกระทู้ใหม่