หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ตำนานรักอมตะ : ขูลู-นางอั้ว

โพสท์โดย ประเสริฐ ยอดสง่า

“ท้าวขูลู”เป็นโอรสของ “ท้าวพรมสี” และ “พระนางพิมพากาสี” ซึ่งเป็นกษัตริย์และราชินีแห่ง “นครกาสี”

        ส่วน “นางอั้วเคี่ยม” หรือ “นางอั้ว” นั้นเป็นธิดาของ “ท้าวปุตตาลาด” และ “พระนางจันทา” ซึ่งเป็นกษัตริย์และราชินีแห่ง “กายนคร”

        โดยที่กษัตริย์และราชินีของทั้งสองเมืองนี้ เป็นเพื่อนที่สนิทร่วมน้ำสาบานกัน และยังได้ตกลงกันไว้ว่าถ้ามีโอรสเหมือนกัน จะให้เป็นเพื่อนกัน แต่ถ้าต่างเพศกันจะให้แต่งงานกัน ซึ่งทั้งสองเมือง ก็ไปมาหาสู่กันเป็นประจำ ในคราวหนึ่งพระนางจันทา ซึ่งกำลังตั้งครรภ์อ่อนๆ และกำลังแพ้ท้อง ได้ไปเยี่ยมพระนางพิมพากาสีที่นครกาสี

        ซึ่งพระนางพิมพากาสีก็ทรงครรภ์อ่อนๆ เช่นเดียวกัน และทั้งคู่ ได้พากันไปประพาสอุทยาน ครั้นเสด็จผ่านสวนส้มเกลี้ยง (ส้มโอ) พระนางจันทารู้สึกหิว อยากเสวยผลส้มมาก จึงขอจากพระนางพิมพากาสี แต่นางไม่ให้ เพราะส้มนั้นยังไม่สุก ทำให้พระนางจันทาโกรธมาก และผูกใจเจ็บอย่างยิ่ง

        หลังจากนั้นไม่นาน พระนางพิมพากาสี ก็คลอดลูกออกมาเป็นชาย ให้ชื่อว่า “ขูลู” ส่วนพระนางจันทาก็คลอดลูกออกมาเป็นหญิง ให้ชื่อว่า “นางอั้ว” ซึ่งทั้งคู่นั้นเกิดปีเดียวกัน ต่างก็ได้รับการอบรมและเลี้ยงดูอย่างดี เมื่อท้าวขูลูอายุ ๑๕ ปี ก็ได้มาเยิ่ยมชม และมอบเครื่องบรรณาการแก่เมืองกายนคร และได้มีโอกาสพบเจอและรู้จักกับนางอั้ว

        โดยเมื่อแรก พบทั้งคู่ก็รู้สึกรักใคร่ และชอบพอกัน ตั้งแต่แรกพบเลยทีเดียว อันเนื่องด้วยบุพเพสันนิวาสนั้นเอง

        เมื่อท้าวขูลู กลับมาที่เมืองของตน ก็รู้สึกคิดถึงนางอั้วใจจะขาด อยากจะได้นางอั้วมาเป็นมเหสี จึงได้รบเร้าบิดามารดา ให้ไปสู่ขอนางอั้วให้กับตน บิดาและมารดา ก็ได้แต่งให้แม่สื่อ ไปสู่ขอทาบทามนางอั้วให้กับท้าวขูลู แต่พระนางจันทาไม่ยอมยกให้ เมื่อแม่สื่อกลับมาบอกท้าวขูลู ทำให้ท้าวขูลูโศกเศร้าเสียใจมาก

        ฝ่าย “ขุนลาง” กษัตริย์แห่ง “เมืองขอมภูเขาก่ำ” (เขมรป่าดง หรือชาวป่าสักยันต์ขาลายสีดำ) เป็นชนเผ่าที่ยังไม่เจริญ เมื่อได้ยินกิตติศัพท์เล่าลือว่า นางอั้วเคี่ยม มีความงดงามมาก ก็อยากได้ไปเป็นมเหสีเช่นกัน จึงได้ส่งเครื่องบรรณาการต่างๆ มาให้พระนางจันทาอยู่บ่อยๆ

        และด้วยฤทธิ์มนต์คาถาของขุนลาง ที่ติดมากับเครื่องบรรณาการเหล่านั้น ก็ทำให้นางจันทา เกิดความพึงพอใจขุนลาง อยากได้เป็นลูกเขย แต่นางอั้วเคี่ยม เมื่อรู้ข่าวก็เสียใจ และไม่ยอมรับ โดยอ้างว่าขุนลางเป็นคนนอกศาสนา ไม่นับถือพระธรรม

        แต่นางจันทา ได้ส่งแม่สื่อไปยอมรับคำสู่ขอนั้น และรับปากขุนลางว่า จะปลอบประโลมนางอั้วเคี่ยม ในภายหลังให้เอง

ฝ่ายท้าวขูลูนั้น เมื่อรู้ข่าวขุนลางส่งบรรณาการ และมีความประสงค์อยากได้นางอั้วไปเป็นมเหสี ก็กระวนกระวายใจ จึงได้ขอร้องให้บิดามารดา ส่งแม่สื่อไปสู่ขอนางอั้วให้อีกครั้ง และทวงสัญญาที่เคยให้กันไว้ของทั้งสองเมือง แต่ก็ถูกปฏิเสธจากพระนางจันทา และบอกว่า เลิกสัญญานี้ ตั้งแต่นางขอผลส้มไม่ได้ เมื่อคราวเที่ยวอุทยานนครกาสีครั้งโน้นแล้ว

        และเมื่อเรื่องชักจะบานปลาย อาจเกิดศึกสงครามชิงนางขึ้นมาได้ ทางเมืองกายนครก็หาทางออก โดยการที่จะทำการ “เสี่ยงสายแนน” หรือ “รกห่อหุ้มทารก”

        ซึ่งเชื่อกันว่า ทุกคน จะมีสายรกพัวพันกันอยู่บนเมืองแถน หรือสวรรค์ ก่อนมาเกิดบนโลกมนุษย์ และต้องเป็นคู่กัน ตามสายแนนนั้น ถ้าแต่งงานผิดสายแนน จะต้องหย่าร้างกัน และให้คนทรง ทำพิธีเซ่นไหว้ “พระยาแถน” (พระอินทร์) และนำของไปถวายพระยาแถน เพื่อขอดูสายแนน ของท้าวขูลูและนางอั้ว

        ซึ่งก็พบว่า สายแนนของทั้งสองพันกันอยู่ แต่ตอนปลายยอดด้วน และปลายแยกออกจากกัน ซึ่งแสดงว่าเป็นเนื้อคู่กันจริง แต่อยู่กันไม่ยืด ต้องพลัดพรากในที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า สายแนนของท้าวขูลูนั้น มีแท่นทองอยู่ด้วย แสดงว่าเป็น “พระโพธิสัตว์” ลงมาเกิด  เมื่อ “แม่สูน” หรือ “นางทรง” หรือ “นางเทียม” ได้แจ้งความดังนั้น ก็ได้แจ้งให้พระนางจันทาทราบ เมื่อพระนางจันทาทราบดังนั้น ก็เร่งรัดให้มีการอภิเษกสมรส ระหว่างขุนลาง กับนางอั้ว ให้เร็วขึ้น

        ฝ่ายนางอั้ว ซึ่งรักอยู่กับท้าวขูลู ไม่ว่าผลการเสี่ยงทายสายแนน จะออกมาอย่างไรก็ตาม ท้าวขูลูโศกเศร้าเสียใจ และทุกข์ทรมานมาก จนกินไม่ได้นอนไม่หลับ เมื่อทราบข่าวพิธีวิวาห์นั้น ซึ่งนางอั้วก็เช่นกัน นางอั้ว จึงให้คนส่งข่าว ไปหาท้าวขูลู ให้มาหานางก่อนพิธิอภิเษกสมรส

        โดยให้รอพบกันที่อุทยาน ที่ทั้งคู่ได้พบกัน และบอกรักกันในคราวก่อนโน้น เมื่อท้าวขูลูทราบเช่นนั้น ก็รีบเดินทางมาหานางในทันที ทั้งคู่ได้แอบพบกัน ก่อนที่จะเริ่มงานอภิเษกสมรสหนึ่งวัน ทั้งคู่ต่างคร่ำครวญร่ำไรรำพัน ปริ่มว่าจะขาดใจ และทั้งคู่ก็ได้เสียเป็นของกันและกัน

        เมื่อพระนางจันทาทราบว่า นางอั้วแอบมาพบกับท้าวขูลูที่อุทยาน ก็ตามมาพรากตัวนางไป และดุด่าว่ากล่าวนางอั้วต่างๆ นานา นางอั้วเสียใจและทุกข์ทรมาน ในรักที่ไม่สมหวังมากยิ่งนัก ซึ่งในวันรุ่งขึ้นก็จะเข้าพิธีอภิเษกกับขุนลางแล้ว

        นางจึงตัดสินพระทัย ผูกคอตายในห้องบรรทมของนาง ในคืนนั้นเอง พอรุ่งเช้าจะทำพิธีแล้ว แต่นางอั้วยังไม่เสด็จออกมา ก็เลยต้องให้คนไปตาม อนิจจา ฝ่ายท้าวขูลู เมื่อทราบข่าวว่านางอั้วผูกคอตายแล้ว ก็โศกเศร้าเสียใจ ทุกข์ทรมานและอาลัยรักนางมาก จึงถอดพระขรรค์ออกจากฝัก แล้วก็แทงพระศอ (คอ) ตัวเอง ตายตามนางไป ที่เมืองกายนครนั้นเอง

        ฝ่ายขุนลาง เมื่อทราบข่าวร้ายนั้นก็ตกใจมาก และเมื่อลงจากหลังช้างทรง ในขบวนขันหมาก ทันทีที่พระบาทแตะพื้นดิน แผ่นดินก็ได้แยกออก สูบเอาขุนลางลงสู่นรกในบัดดล

“ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์”

“กฎแห่งกรรม” คือในสมัยอดีตชาตินั้น เนื่องจากท้าวขูลูและนางอั้วเคี่ยม ได้ก่อเวรไว้ จึงต้องมาใช้เวรกรรมในชาตินี้ คือไม่สมหวังในความรักนั้นเอง เพราะเมื่อชาติก่อน ท้าวขูลู เป็น “เจ้าเมืองเบ็งชอน” (บัญชร) นางอั้วเคี่ยมเกิดเป็นมเหสี ชื่อว่า “นางดอกซ้อน”

        ในคราวหนึ่งนั้น มีผัวเมียคู่หนึ่ง ไม่ยำเกรงนางดอกซ้อน นางโกรธมาก จึงฟ้องเจ้าเมือง ให้ลงโทษคนคู่นี้ เจ้าเมืองได้สั่งไม่ให้เป็นผัวเมียกัน หากพี่น้องคนใด ชักนำให้มาอยู่กิน เป็นผัวเมียกันอีก จะถูกประหาร ทำให้ทั้งคู่เสียใจมาก ฝ่ายเมียได้ผูกคอตาย ส่วนผัวนั้นใช้มีดแทงคอตนเองตายตาม ซึ่งเวรกรรมนี้ จึงตามสนองท้าวขูลูและนางอั้วเคี่ยม ในชาตินี้นั้นเอง

        ท้าวขูลูและนางอั้วเคี่ยม ได้ไปเกิดบนสวรรค์ทั้งสองคน และได้พบกัน เป็นสามีภรรยากันบนสวรรค์  ส่วนเมืองกาสีและกายนคร บนโลกมนุษย์นั้น ก็ได้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพให้กับทั้งสอง โดยเผาศพคนทั้งสองพร้อมกัน และได้สร้างพระธาตุบรรจุอัฐิทั้งสองไว้ ณ ที่เดียวกัน

        แล้วทั้งสองเมือง ก็กลับมาสมัครสมานสามัคคีกันดังเดิม ซึ่งวิญญาณของท้าวขูลูและนางอั้วเคี่ยม ได้แสดงอภินิหาริย์ ให้ผู้คนชาวเมือง ได้เห็นกันอยู่บ่อยๆ

คนโบราณบอกลูกหลานว่า “ดักแด้ขูลู” ที่ใบตอง (ใบกล้วย) ก็คือท้าวขูลู ส่วนนางอั้ว ได้เกิดเป็นต้นดอกไม้งาม และมีกลิ่นหอมคือ “ต้นดอกนางอั้ว” ซึ่งชาวพื้นบ้านอีสาน และชาวลาวเรียกว่า “ดอกสะเลเต” ในภาคกลางของไทยเรียก “ดอกมหาหงษ์” ส่วนทางภาคเหนือเรียก “ดอกสะบันงา” นั้นเอง

        ดังที่ปรากฏให้เห็นกันมาจนถึงทุกวันนี้ เพื่อสอนลูกหลาน ให้ทราบตำนานอมตะนี้ อันเป็นเทพนิมิตหรือพรหมบัญญัติ ไปจนชั่วกาลปวสาน

มีเรื่องเล่าว่า

        ท้าวขูลู ก็คือ ท้าวผาแดง

        นางอั๊วเคี่ยม ก็คือ นางไอ่คำ

        ขุนลาง ก็คือ พญาศรีสุทโธนาคราช" นั้นเอง

โพสท์โดย: ประเสริฐ ยอดสง่า
อ้างอิงจาก: แหล่งที่มาของข้อมูล
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
1 ใน 8 ของนักเรียนร.ร.รัฐในนิวยอร์ก'ไร้บ้าน'!ตำรวจ ตามรวบจนครบ 3 โจ๋เหิมเกริม ใช้มีดฟันคู่อริ กลางสถานี BTS5 เทคนิคเพิ่ม Productivity ที่ช่วยให้คุณทำงานสำเร็จเร็วขึ้นอันตราย! คนจีนจ้างแพ็คอาหารเสริมปลอม ขายผ่านออนไลน์ในไทยล่าแม่มดทริบูร์: ความกลัวที่ทำให้ชีวิตกลายเป็นเพียงเงาในประวัติศาสตร์"
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ลิลลี่ เหงียน" สวนกลับ "ปู มัณฑนา"..อย่าลืมเอาเงินมาคืนกะxsี่ผู้มีพระคุณด้วยเงินดิจิทัลเฟส 3 คนทั่วไป เงินเข้าเมื่อไหร่ ได้เงินสดไหม วิธีเช็กสถานะทางรัฐอีกมุมของ "ยายสา" ตำนานแม่มดแห่งสมิหลา กับความลึกลับที่ไม่มีใครกล้าท้าทาย"หวังเซียนเฉา นักการทูตผู้ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ถัง‘ขนม ศศิกานต์’ เลิก ‘ครูเต้ย อภิวัฒน์’ ทั้งที่เพิ่งคลอดลูก คนที่ 2 จากกันด้วยดี ไม่มีมือที่ 3
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
ล่าแม่มดทริบูร์: ความกลัวที่ทำให้ชีวิตกลายเป็นเพียงเงาในประวัติศาสตร์"นิยายวาย : เดิมพันรักนักพนันแจ็คเดอะริปเปอร์: ฆาตกรที่โหดที่สุดในประวัติศาสตร์อีกมุมของ "ยายสา" ตำนานแม่มดแห่งสมิหลา กับความลึกลับที่ไม่มีใครกล้าท้าทาย"
ตั้งกระทู้ใหม่