หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

นครจำปาศรี (นครจัมปาศรี) นครโบราณแห่งมหาสารคาม

โพสท์โดย ประเสริฐ ยอดสง่า

นครจำปาศรี ชุมชนโบราณขนาดใหญ่ ซึ่งยังปรากฏร่องรอยคูน้ำล้อมรอบ มีซากโบราณสถานใหญ่น้อย กระจายอยู่ทั่วไป กว่า 30 แห่งนี้ ชาวบ้านเรียกชื่อตามนามเมือง ในนิทานพื้นบ้าน เรื่องจำปาสี่ต้นว่า นครจำปาศรี เมืองโบราณนี้ อยู่ในท้องที่ตำบลสันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผลการศึกษา ขุดค้นขุดแต่ง ทางโบราณคดี พบข้อมูลที่สำคัญ เป็นต้นว่า เนินดินขนาดใหญ่ เคยเป็นแหล่งฝังศพของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซากสถูป พระพิมพ์สมัยทวารวดี และศาสนสถาน ก่อด้วยศิลา แลงและหินทราย สันนิษฐานว่า เป็นศาสนสถาน ในวัฒนธรรมขอมที่แพร่เข้ามา เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 16 ได้แก่ ศาลานางขาว กู่น้อย และกู่สันตรัตน์ ที่เป็นโบราณวัตถุได้แก่ รูปเคารพในศาสนาฮินดู เช่น ประติมากรรมรูปพระศิวะ รูปพระนารายณ์จากกู่น้อย ศิลาจารึกจากศาลานางขาว เนื้อความ กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 และพระพุทธรูป ในคติมหายาน จากกู่สันตรัตน์

             เมื่อประมวลเรื่องราวจากหลักฐานเหล่านี้ สันนิษฐานได้ว่า เมืองโบราณนครจำปาศรี เคยเป็นชุมชนที่มีผู้คนอาศัย สร้างบ้านเมืองสืบต่อกันมา ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 18 จึงร้างไป

ตามตำนานเล่าว่า นครจำปาศรี มีประวัติอันยาวนาน นับเป็นพันปี และได้ถูกเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ จะเนื่องจากวิกฤตการณ์ หรือเหตุผลใด ก็ไม่อาจจะทราบได้ จะอย่างไรก็ตาม ก็ยังมีเค้าเงื่อนพอที่จะสอบค้นได้บ้าง จากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยเฉพาะอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นที่ตั้งนครจัมปาศรี มีโบราณสถานหลายแห่ง และมีโบราณวัตถุหลากหลายชนิด สามารถสอบค้น และเปรียบเทียบอายุ สมัยลักษณะเผ่าพันธุ์ ตลอดจนการดำรงชีพ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของบรรพชนในถิ่นแถบนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังเป็นตำราเอกสารอื่นๆ พอที่จะอ้างอิงเทียบเคียงได้ด้วย

จากข้อสันนิษฐาน จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่า วัดนครจัมปาศรี มีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค ด้วยกันคือ

  1. ยุคทวารวดี ระหว่าง พ.ศ.1000-1200
  2. ยุคลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. 1600-1800 นครจัมปาศรีสมัยทวารวดี มีหลักฐานชี้นำให้เห็นเด่นชัดคือ
  3. หลักฐานจากพระพิมพ์ดินเผา ที่ขุดพบจากกรุต่างๆ ในเขตพื้นที่นครจัมปาศรี ทางด้านมนุษยวิทยาทางกายภาพ จะเห็นว่า ลักษณะพระพักต์ และพระวรกายของพระพิมพ์ เป็นชนพื้นเมืองสยามโบราณ ฉะนั้น คนที่เราอาศัยอยู่ในนครจัมปาศรี จึงเป็นเชื้อชาติสยามพื้นเมืองดึกดำบรรพ์ นอกจากนั้น ยังสังเกตุพระพุทธศิลป์ ร่วมสมัยกับพระพิมพ์ แบบพระประถม ทำขึ้นประมาณ พ.ศ. 950-1250 โดยจารึกอักษรคฤนต์ หรืออักษรขอมโบราณไว้ด้วย พระพิมพ์ดินเผานาดูน ปางประทานพร หรือปางทรงแสดงธรรมบางองค์ ที่ขุดพบที่กรุพระธาตุ ก็มีอักษรคฤนถ์ ทั้งขีดและเขียนด้วยสีแดง จารึกไว้บนแผ่นหลังของพระพิมพ์เหมือนกัน
  4. หลักฐานทางสถูปเจดีย์ เจดีย์ส่วนใหญ่ ฐานนั้น จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมจัตุรัสนั้น มาจากฐานอุบลมณฑล ซึ่งเป็นต้นแบบนิยมสร้างกัน ในสมัยคลื่นที่ 3 ของพระพุทธศาสนา ( รุ่งเรืองอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึง 13 ) ที่เข้าสู่ประเทศสยาม และนครจัมปาศรี ก็ได้รับอิทธฺพลศิลปวัฒนธรรมในคลื่นนี้ด้วย นครจัมปาศรี เจริญรุ่งเรืองในสมัยลพบุรี ซึ่งมีหลักฐานยืนยัน ดังนี้
  5. หลักศิลาจารึก 14 บรรทัดที่ขุดพบที่ศาลานางขาว ในเขตนครจัมปาศรี ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ขอนแก่น
  6. ศิลปะวัตถุต่างๆ ทั้งสมบูรณ์และแตกหัก ที่ขุดพบ และแตกกระจายในเขตนครจัมปาศรี เช่น พระวัชรธร พระอิศวร พระนารายณ์ เศียร พระกร และอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก
  7. โบราณสถาน เช่น กู่สันตรัตน์ กู่น้อย และศาลานางขาว

หลักศิลาจารึก ศิลปวัตถุ และโบราณสถานเหล่านี้ ล้วนเป็นศิลปกรรมของขอมสมัยลพบุรีทั้งสิ้น เช่น กู่สันตรัตน์ กู่น้อย ซึ่งเป็นศิลปะแบบบายน (ศิลปแบบบายน พ.ศ. 1724-ราว พ.ศ. 1780) ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของขอม ข้อมูลและหลักฐานเหล่านี้ ชี้ได้ชัดเจนว่า นครจัมปาศรี ได้เจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค ดังที่กล่าวแล้ว

นครจัมปาศรี อยู่ในสมัยมที่ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ กำลังเจริญรุ่งเรืองในประเทศนี้ บรรดาหัวเมืองน้อยใหญ่ในสมัยนั้น พร้อมกันมานพน้อมเป็นบริวาร และต่างก็พร้อมใจกัน มาทำค่ายคูเมือง เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรู และเพื่อป้องกันบ้านเมือง ให้ได้รับความผาสุข ในการใช้ตะพัง บึง หนอง ได้สะดวกและใช้เป็นตะพังชุบศร เมื่อเกิดศึกสงคราม

พระยศวรราช เจ้าผู้ครองนครจัมปาศรี อันมีพระนางยศรัศมี เป็นพระราชเทวี มีวงศ์ตระกูล มาจากกษัตริย์เจ้าจิตเสราชา บ้านเมืองขณะนั้น มีความสงบสุข และศาสนาพุทธ เจริญรุ่งเรืองในช่วงนั้น มีศัตรูอยู่ทางทิศใต้ คือกษัตริย์วงศ์จะนาศะ แต่ก็ไม่สามารถเข้าทำลายได้เท่าใดนัก

พระราชาผู้ครองนครจัมปาศรี ตั้งแต่พระเจ้ายศวราชมาโดยลำดับ ได้สร้างเทวาลัย ปางค์กู่ มีกู่สันตรัตน์ กุ่น้อย และศาลานางขาว เพื่อเป็นสถานที่ศักการบูชา ในพิธีกรรมตามธรรมเนียม ในศาสนาพรามณ์และศาสนาพุทธตามลำดับ

นครจัมปาศรี อยู่ในยุคร่วมสมัยเดียว กับเมืองศรีโคตรบูร เมืองหนองหานหลวง เมืองหนองหานน้อย เมืองสาเกตุหรือร้อยเอ็ดประตู เมืองกุรุนทะนครหรืออโยธยา เมืองอินทปัฐนคร และเมืองจุลมณี ในพุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับราชกาล ของพระเจ้าสุมินทราช หรือสุมิตตธรรมวงศาธิราช แห่งอาณาจักรโคตระบอง (ศรีโคตรบูล) ได้ขยายอาณาเขต ครอบคลุมหัวเมืองน้อยใหญ่ จากหนังสือพระธาตุเจดีย์วัดสำคัญและพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ด พิมพ์ไดยกระทรวงธรรมการ ของประเทศลาว เมื่อ พ.ศ. 2517 เรื่องประวัติพระธาตุสีโคตะบอง

“เมืองโบราณนครจำปาศรี” มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน กว้างประมาณ 1,500 เมตร ยาวประมาณ 2,700 เมตร ประกอบด้วยเชิงเทิน หรือคันดิน 2 ชั้น มีคูนํ้าขั้นกลาง กว้างประมาณ 20 เมตร เนินดินสูงประมาณ 3 เมตร และกว้างประมาณ 6 เมตร เมืองโบราณแห่งนี้ มีการพัฒนาการของเมือง ที่สืบต่อมาหลายสมัย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-16 นครจำปาศรี เริ่มมีการพัฒนาการของเมืองที่ชัดเจนขึ้น โดยมีการขุดคูเมือง-กำแพงเมืองล้อมรอบ เพื่อไว้ใช้เป็นพื้นที่เก็บนํ้าภายในเมือง เพื่อการเกษตรกรรม และมีการรับศาสนาพุทธ จากพื้นที่ลุ่มนํ้าภาคกลางเข้ามา จึงมีการสร้างศาสนสถานขึ้นภายในเมืองหลายแห่ง

การพัฒนาของเมือง มีสืบเนื่องมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16–18 จากการขุดตรวจชั้นดินทางโบราณคดี พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของเมือง โดยมีการขุดขยายแนวคูเมืองออกไปทั้งสองด้าน ทางด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออก มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขอบมน ซึ่งเป็นลักษณะการสร้างเมือง ในวัฒนธรรมแบบขอม ซ้อนทับลงไปในเมืองโบราณ สมัยทวารวดีอีกชั้นหนึ่ง แต่ยังคงรูปแบบการวางผังเมืองเดิมไว้ โดยไม่ได้แก้ไข รวมถึงมีการสร้างศาสนสถานกู่น้อยขึ้น เพื่อเป็นเทวลัย และสร้างบารายทางด้านทิศตะวันออก ไว้เพื่อการเก็บกักนํ้าไว้ใช้ ภายในชุมชน ด้านทิศตะวันออกของเมือง พบร่องรอยของสระนํ้า ที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “หนองอีไล” วางตัวทอดยาวขนานไปกับแนวตัวเมือง เพื่อกักเก็บนํ้า เพื่อใช้ในการเกษตรกรรม ที่รองรับการขยายตัวของชุมชนเช่นกัน

ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรขอม พระองค์ทรงให้สร้างอโรคยาศาล จำนวน 102 แห่ง ทั่วราชอาณาจักรของพระองค์ ซึ่งพบอยู่ในนครจำปาศรีหนึ่งแห่ง คือ “กู่สันตรัตน์” การสร้างอโรคยาศาล สร้างขึ้นในพื้นที่ชุมชน ที่ผู้คนอาศัยเป็นจำนวนมาก และเป็นเมืองที่สำคัญ วัฒนธรรมขอม ที่แพร่เข้ามานั้น ก็มิได้ทำลายวัฒนธรรมทวารวดี ที่เจริญอยู่ก่อนหน้านี้ให้หมดไป แต่มีการผสมผสานและนับถือควบคู่กันมา ดังปรากฏหลักฐานการจารึก ที่หลังพระพิมพ์นาดูน บางแผ่น มีจารึกที่ใช้ภาษามอญ และภาษาขอม หลังพุทธศตวรรษที่ 18 ลงมา เป็นระยะสุดท้าย ที่อำนาจทางการเมืองของขอมได้เสื่อมลง และส่งผลให้บ้านเมือง ที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาแต่ก่อน ค่อยๆ เสื่อมลง ทำให้จำนวนประชากรน้อยลง จนกระทั่งเมือง ถูกทิ้งร้างไปในที่สุด

กู่สันตรัตน์ เป็นโบราณสถาน ที่มีลักษณะแบบขอม เป็นสถานที่ที่เรียกว่า อโรคยาศาล หรือโรงพยาบาล กู่สันตรัตน์ มีลักษณะเป็นปราสาทแบบย่อมๆ ตั้งอยู่บนฐานชั้นเดียว สร้างด้วยศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงล้อมลอบในกรอบ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทางด้านหน้าปราสาท ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมี สระสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 12 เมตร ซึ่งน่าจะหมายถึงบาราย ซึ่งเป็นไปตามคติของขอม(เขมร) ที่ว่า เมื่อมีการสร้างปราสาทหิน ก็มีการขุดสระ หรือบารายกักน้ำไว้ ในที่ใกล้เคียงนั้นด้วย

ทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นด้านหน้าปราสาท มีซุมประตูทางเข้า หรือโคปุระ ก่อด้วยศิลาแลง ส่วนประตูทางเข้านั้น ปรากฏให้เห็นว่า มีแผ่นทับหลังอยู่เหนือประตู กับมีเสาประดับที่กรอบประตูทั้งสองด้าน แผ่นทับหลังและเสาประดับกรอบประตู ทำด้วยหินทราย แต่ไม่มีการสลักลายใดๆ ทั้งสิ้น จึงดูคล้ายกับว่าทำยังไม่เสร็จ องค์ปราสาท มีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีประตูทางเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก ส่วนทางทิศเหนือทิศใต้และทิศตะวันตก เป็นประตูหลอก เมื่อพิจารณาเฉพาะองค์ปราสาทแล้ว สันนิษฐานได้ว่า กู่สันตรัตน์ ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะทางด้านหน้าตอนบนนั้น มีช่องว่างเว้นไว้ เป็นช่องสามเหลี่ยม ซึ่งส่วนนี้เมื่อเสร็จสมบูรณ์ก็คือหน้าบัน ที่จะทำด้วยหินทราย ซึ่งคงต้องสลักลวดลายประกอบด้วย สิ่งสำคัญต่อมาคือแผ่นทับหลัง ที่ตั้งอยู่เหนือกรอบประตูนั้น มีแผ่นหินทรายวางไว้ แต่ยังไม่มีการสักลวดลายใดๆ ทั้งสิ้น

โดยทั่วไป แผ่นทับหลัง ต้องมีการสลักลาย หรือภาพประกอบไว้เสมอ แม้เสาประดับกรอบประตูทั้ง 2 ด้าน ก็มักสลักลายประดับเช่นกัน แต่เสาที่อยู่ติดกรอบประตูทางด้านซ้ายนั้น ยังเป็นแท่งหินทรายเรียบๆ อยู่ไม่มีลวดลายใดๆ ทั้งสิ้น คงมีเฉพาะเสาประดับกรอบประตูทางด้านขวา ของปราสาทเท่านั้น ที่ได้สลักลายไว้อย่างคร่าวๆ จากลักษณะดังกล่าว จึงเป็นหลักฐาน สันนิษฐานได้ว่า ปราสาทองค์นี้ ยังสร้างไม่เสร็จ แต่ช่างได้สร้างไปตามแบบ ที่เป็นลักษณะเฉพาะของขอม คือแม้องค์ปราสาทจะก่อด้วยหินทราย หรือศิลาแลง แต่ส่วนสำคัญทั้ง 3 คือ หน้าบัน ทับหลัง และเสาประดับกรอบประตูต้อง ทำด้วยหินทรายเสมอ ทั้งนี้เพราะหินทราย มีคุณสมบัติเหมาะกับการแกะสลัก ในสถาปัตยกรรมหินทรายโดยเฉพาะ

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่:
https://youtu.be/gek8FG0J5Vk?si=SXIzuXniq1afWn9N
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: momon, อ้ายเติ่ง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ช็อก! เสือดาวโอบอุ้มลูกอิมพาลาเหมือนลูกตัวเอง แต่สุดท้าย...เลขเด็ดแม่จำเนียร งวด 1 กรกฎาคม 2567สภาพบ้านเรือน ดินโคลนเต็มถนน หลังน้ำท่วมขังที่ภูเก็ตภาพปริศนากุมารสร้างบุญ1ก.ค.67
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ศาล" ตัดสินจำคุกหญิงขับรถที่ไม่มีประกันป่วยด้วยโรครักษาไม่หาย ทำให้สองตายายตัดสินใจเข้ารับการทำ การุณยฆาต พร้อมกันเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือ ติดเข็มกลัดหน้าผู้นำคิม5 ประเทศที่มีค่าแรงสูงที่สุดในโลก 2024ภาพปริศนากุมารสร้างบุญ1ก.ค.67
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
แฉโฉมหน้าครอบครัวปลายราชวงศ์ชิงจากภาพถ่ายโบราณเพราะเหตุใด ทหารรักษาพระองค์ของอังกฤษ ถึงเป็นลมท่าเดียวกันหมดทำไมพวงมาลัยรถยนต์ถึงถูกออกแบบให้เป็นวงกลมกันนะ ?how to เกรดปังตามที่คาดหวังไว้
ตั้งกระทู้ใหม่