หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เกาะแม่หม้าย ตำนานปลาไหลเผือก แห่งโยนกนาคพันสิงหนวัติ

โพสท์โดย ประเสริฐ ยอดสง่า

วัดป่าหมากหน่อ ที่เรียกชื่อนี้ คงเป็นเพราะสมัยก่อน มีผู้พบเห็นต้นหมากเล็กๆ เรียกเป็นคำเมืองว่า หมากหน่อ ขึ้นอยู่บนเกาะนี้จำนวนมาก แต่ต่อมาก็สูญพันธุ์ไปหมด

เดิมที วัดป่าแห่งนี้ เป็นโบราณสถาน ที่เคยเป็นวัดมาแต่อดีตตกาล เพราะพบหลักฐานโบราณวัตถุหลายชิ้น บ่งบอกว่าเป็นวัดมาก่อน เช่น ซากเจดีย์ เนินวิหาร หรืออุโบสถ และบ่อน้ำ สำหรับสรงพระเจดีย์ เศษอิฐโบราณ เศษเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมาก และพบพระพุทธรูปหลายองค์ วัดแห่งนี้เป็นวัดร้าง ตั้งแต่สมัยเชียงแสนหรือโยนก บริเวณของวัดเป็นเกาะ อยู่ติดกับหนองน้ำกว้างใหญ่เรียกกันว่า หนองหลวง หรือ เมืองหนอง บ้างก็เรียกว่า เวียงหนอง หรือ เวียงหนองหล่ม

เวียงหนองหล่ม ตั้งอยู่ระหว่างเขต ต.โยนก อ.เชียงแสน กับ ต.จันจว้า อ.แม่จัน จากตำนาน และพงศาวดารหลายเล่ม กล่าวตรงกันว่า เจ้าชายสิงหนวัติ พาผู้คนมาหาที่ตั้งเมือง พอมาถึงแม่น้ำโขงก็พบนาคจำแลงเป็นชาย มาบอกสถานที่สร้างเมือง จึงตั้งเมือง โดยเอาชื่อองค์ผู้สร้างรวมกับนาค ชื่อว่าเมือง โยนกนาคพันสิงหนวัติ หรือ โยนกนครหลวง

จากนั้น นครโยนกนาคพันธุ์สิงหนวัติ ก็รุ่งเรืองต่อเนื่องมายาวนาน กว่า ๔๕๐ ปี จนกระทั่ง สมัยรัชกาล ของพญามหาไชยชนะ กษัตริย์ องค์ที่ ๔๕ กาลอวสานก็มาถึง เมื่อวันหนึ่ง ชาวบ้านจับปลาไหลเผือก มีขนาดตัวโตเท่าลำตาล ยาวประมาณ ๗ วาเศษ ได้จากแม่น้ำกก และได้นำมาถวายพญามหาไชยชนะ พระองค์รับสั่ง ให้นำเนื้อไปแล่แจกจ่าย ให้กับชาวเมืองทุกคน มีเพียงหญิงชราแม่ม่ายคนหนึ่งเท่านั้น ที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งเนื้อปลา

ซึ่งสมัยก่อนจะถือว่า หญิงม่าย เป็นคนที่อยู่ในระดับต่ำ คล้ายๆ จะเป็นกาลกิณี จึงไม่ให้กิน และเมื่อถึงเวลาค่ำ ก็มีเสียงแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหว แล้วก็เงียบสงบลง พอถึงกลางคืน ก็มีดังมาอีกเป็นครั้งที่สองแล้วก็เงียบไปอีก แล้วพอใกล้รุ่งก็ดังมาอีก คราวนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้ง

เมื่อนั้น เมืองโยนกนครหลวงก็ยุบลง เกิดเป็นนทีหนองน้ำใหญ่ คนทั้งหลายในเวียงนั้น รวมถึงกษัตริย์เจ้า เลยวินาศฉิบหาย จมลงในน้ำทั้งหมด แต่ทว่า ยังคงค้างอยู่แต่เรือนของหญิงชราม่าย หลังเดียวเท่านั้น

ก่อนค่ำ ที่มีเสียงแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหวนั้น ได้มีชายหนุ่มคนหนึ่ง มาที่เรือนของหญิงชราม่าย ชายหนุ่มถามว่า ชาวเมืองที่นี้ เขาเอาอะไรมาทำกิน ถึงได้หอมทั่วทั้งเมือง หญิงชราม่ายตอบว่า เขาได้ปลาไหลเผือกมา และได้แจกจ่ายกินกันทั้งเมือง ชายหนุ่มถามอีกว่า ย่าได้กินกับเขาบ้างไหม หญิงชราม่ายตอบว่า ย่านี้เป็นคนแก่แม่ม่าย ไม่มีใครเอามาให้กินหรอกหลานเอ๋ย แล้วชายหนุ่มก็บอกว่า ไม่ได้กินก็ดีแล้ว แล้วย้ำอีกว่า ถ้ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ถ้าไม่เห็นหน้าหลานนี้ อย่าได้ลงจากเรือนเป็นอันขาด ไม่นานก็เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

ซึ่งหญิงม่ายก็ตกใจกลัว มีหลายครั้ง ที่หญิงม่ายจะเปิดประตูเรือนออกมา แต่นึกได้ถึงคำพูดของชายหนุ่มที่บอกไว้ จนเสียงครั้งสุดท้าย ซึ่งดังมากว่าทุกครั้ง หญิงม่ายก็กลัวยิ่งนัก จึงได้ตัดสินใจ เปิดประตูเรือนออกมา ก็ได้เห็นว่า เมืองนั้นกลายเป็นหนองน้ำไปเสียแล้ว และด้วยเหตุนี้ จึงได้เรียกเกาะแห่งนี้ว่า เกาะแม่ม่าย ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดในเวลาต่อมา และได้ทราบชื่อหญิงชราม่าย ในภายหลังว่า เจ้าแม่บัวเขียว

เกาะแม่ม่าย ได้สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อใด และถูกทอดทิ้งไว้ร้างนานเท่าใด ยังไม่สามารถบอกได้ จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ ได้มีสามเณรรูปหนึ่ง ได้ธุดงค์มาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่บริเวณนี้ และได้นิมิตดี จึงได้ทำการบูรณะ ให้เป็นวัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง สามเณรรูปนี้ เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธภาคเหนือ ในนาม พระหน้อย มีชื่อจริงว่า สามเณรบุญชุ่ม ทาแกง ท่านได้สร้างกุฏิกรรมฐานหลังหนึ่ง โรงครัวหลังหนึ่ง ห้องน้ำหลังหนึ่ง โดยตั้งชื่อวัดว่าวัดหนองตุ่มคำ (โอ่งทอง)

พอถึงปี พ.ศ.๒๕๒๔ ท่านก็ได้ธุดงค์ต่อ ไปยังวัดพระนอนประเทศพม่า และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ประจำอยู่ที่วัดพระธาตุดอนเรือง ประเทศพม่า ในเวลาต่อมา ปัจจุบันเป็นที่รู้จักของชาวพุทธ ในนาม ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร หลังจากนั้น วัดก็ถูกทอดทิ้งให้ร้างอีกครั้งหนึ่ง

ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ มีพระธุดงค์องค์หนึ่ง มาจำพรรษาอยู่วัดนี้อีกครั้ง ท่านมีนามว่า พระอาจารย์สมศักดิ์ กิติธัมโม ท่านได้นำคณะศรัทธา บ้านห้วยน้ำราก และหมู่บ้านใกล้เคียง สร้างพระประธานของวัดขึ้นองค์หนึ่ง ตั้งชื่อว่า พระพุทธทศพลญาณ ในขณะเดียวกัน ก็ได้เปลี่ยนชื่อวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า วัดป่าหมากหน่อ และในปีนั้นเอง ก็ได้นำคณะศรัทธา สร้างทางข้ามหนองน้ำเข้าสู่วัด หลังจากสร้างเสร็จแล้ว ท่านยังได้นำคณะศรัทธาขุดบ่อน้ำ สำหรับอุปโภคบริโภคด้วย จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๘ ท่านได้ธุดงค์ต่อไปยังที่อื่นปล่อยให้วัดร้างอยู่อีก เป็นเวลา ๕ เดือน

ต่อมาในปีเดียวกัน ได้มีสามะณรรูปหนึ่ง ได้ธุดงค์มาประจำอยู่วัดนี้ ท่านมีนามว่า สามเณรพันธ์ธิพย์ แสงคำ เมื่อมาประจำอยู่ได้ ๓ คืน ก็มีญาติโยมขึ้นไปทำบุญที่วัด และนิมนต์ให้อยู่จำพรรษาที่วัดนี้ ท่านก็รับนิมนต์ และตั้งใจว่า จะอยู่เพียงพรรษาเดียวเท่านั้น

แต่เมื่อได้อยู่พรรษาหนึ่งแล้ว ญาติโยมก็นิมนต์ให้อยู่ต่อเรื่อยมา และได้มีพระภิกษุสามเณรจากที่อื่น มาจำพรรษาทุกปี และในขณะเดียวกัน ก็มีญาติโยมมาถือศิลปฏิบัติธรรม อยู่เป็นประจำทุกปีมิได้ขาด พร้อมกันนี้ ก็ได้นำคณะศรัทธา ก่อสร้างศาสนะถาวรวัติถุต่างๆ เช่น กุฏิกรรมฐาน ศาลาปฏิบัติธรรม พระเจดีย์ พระธาตุโยนกนคร และก่อสร้างพระวิหาร เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระประธานของวัด คือ พระพุทธทศพลญาณ และเพื่อใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญบุญ ของญาติโยมชาวพุทธสืบไป

เกาะดอนแท่น หรือเกาะหลวง เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ที่มีความคลุมเครือ ในเรื่องสถานที่ตั้ง แต่มีปรากฏในตำนาน และพงศาวดารหลายเล่ม ต่างกล่าวตรงกันว่า เมื่อพระเจ้าแสนภู สร้างเมืองเชียงแสน ทรงประทับอยู่ในวังบนเกาะดอนแท่น ที่บริเวณหน้าเมืองเชียงแสน จนสวรรคต และตั้งพระบรมศพบนเกาะดอนแท่นระยะหนึ่ง นอกจากนี้ เกาะดอนแท่น ยังมีความสำคัญในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาด้วย กล่าวคือ สมัยพระเจ้ากือนา ครองเมืองเชียงใหม่

ทรงนำพระสีหลปฏิมา ทำพิธีอภิเษกพระบนเกาะดอนแท่น แล้วนำไปประดิษฐานไว้ ณ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงราย ราวพ . ศ . ๑๙๒๖ พระมหาเถรเจ้าศิริวังโน นำเอาพระพุทธรูปสององค์ เรียกว่า พระแก้วและพระคำ มาสร้างเป็นวัดพระแก้ว และวัดพระคำบนเกาะดอนแท่น สมัยพระเจ้าอติโลกราช ทรงให้ร้อยขุนกับสิบอ้าน นิมนต์พระพุทธรูป พระเจ้าทองทิพย์องค์หนึ่งจากจอมทอง เมืองเชียงใหม่ ที่เอามาจากเมืองลังกา มาประดิษฐานไว้ที่เกาะดอนแท่น พร้อมทั้งปลูกต้นโพธิ์ไว้ด้วย และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเชียงแสนต่อมา เกาะดอนแท่น พังทลายลงในแม่น้ำโขงเมื่อใด ไม่มีผู้ใดทราบ

เนื่องจากเมืองเชียงแสน ร้างไปตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถึงรัชกาลที่ ๕ จึงฟื้นฟูขึ้นมาเป็นบ้านเมืองอีกครั้ง ส่วนพระแก้วพระคำนั้น มีผู้สันนิษฐานว่า พระแก้วนั้น อาจจะไปอยู่กับผู้อพยพชาวไทยยวน เมืองเชียงแสน ไปอยู่ที่เมืองลำปาง สำหรับพระคำ ไม่มีปรากฏว่าไปอยู่ที่ใด เคยมีการสำรวจหาที่ตั้งของเกาะดอนแท่นหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากกระแสน้ำเชี่ยวกราก น้ำเย็นจัด ประกอบทัศนวิสัยใต้น้ำของแม่น้ำโขง เท่ากับศูนย์ ไม่สามารถมองเห็นใต้น้ำด้วยตาเปล่า จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการสำรวจหาที่ตั้ง ของเกาะดอนแท่นอย่างเป็นทางการ เนื่องจากแม่น้ำโขง เป็นเส้นทางแบ่งพรมแดนธรรมชาติ ระหว่างไทย – ลาว เมื่อมิได้มีการขออนุญาตอย่างเป็นทางการ การสำรวจไม่สามารถกระทำได้ เพราะจะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: ประเสริฐ ยอดสง่า, momon
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สาลี่ เดอะสตาร์ โพสต์คลิปสวีตอวยพรวันเกิด ตงตง กฤษกร หวานจนแฟนคลับแซวสนั่นปิดตำนาน นักร้องอกลูกมะพร้าว ผู้สร้างตำนานเพลงจุดเทียนเวียนวน และเพลงจดหมายรักจากเมียเช่า อันลือลั่นเข้าใจคนผ่านกฎ 18 ข้ออ้าว จัดอันดับประเทศในเอเชียมีอิทธิพลต่อโลก ไทยติดโผ แต่เกาหลีอยู่ตรงไหนกันแน่หัวเราะวันละนิด จิตแจ่มใส ประโยชน์ของการหัวเราะ ต่อร่างกายและจิตใจเราควรซักผ้าปูที่นอนและหมอนบ่อยแค่ไหน?เกาหลีใต้เจอศึกหนัก ธุรกิจทรุดหลายเดือน แถมไทยก็แบนไม่หยุด ต้องหันหน้าหาญี่ปุ่นอดีตศัตรูโตโยต้าเตรียมเรียกคืนรถยนต์กว่า 42,000 คันในสหรัฐฯลุงต๋องแฉแม่ตั๊ก ให้เงินในคลิป 3,000 บาท ถ่ายเสร็จขอคืน 2,000 หวังช่วยรักษาเท้าแต่เป็นแค่ลมปากโมสาร์ทปล่อยเพลงใหม่ ในรอบ 200 ปีฮือฮา! ภาพวาดบ้านไม้โบราณสุดสมจริง ผลงานสีน้ำมันของนักศึกษาสาว ม.ราชภัฏบุรีรัมย์กฟภ. ประกาศฟรีค่าไฟเดือน ก.ย. และลด 30% ในเดือน ต.ค. สำหรับพื้นที่น้ำท่วม
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สาลี่ เดอะสตาร์ โพสต์คลิปสวีตอวยพรวันเกิด ตงตง กฤษกร หวานจนแฟนคลับแซวสนั่นเข้าใจคนผ่านกฎ 18 ข้อเกาหลีใต้เจอศึกหนัก ธุรกิจทรุดหลายเดือน แถมไทยก็แบนไม่หยุด ต้องหันหน้าหาญี่ปุ่นอดีตศัตรู
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
ประสบการณ์เจอผี ไม่น่าเชื่อจะมีจริงๆ น่ากลัวมาก จิตอ่อนอย่าอ่านตำนานพระนางจามเทวีปริศนาคลื่นความทรงจำ (2) #อักษราลัยเผลอปักใจรัก (ยังเป็นแค่เพื่อน)
ตั้งกระทู้ใหม่